๙. เรื่องนางจิญจมาณวิกา [๑๔๕]
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 255
๙. เรื่องนางจิญจมาณวิกา [๑๔๕]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 255
๙. เรื่องนางจิญจมาณวิกา [๑๔๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางจิญจมาณวิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เอกธมฺมมตีตสฺส (๑) " เป็นต้น.
พวกเดียรถีย์ริษยาพระพุทธศาสนา
ความพิสดารว่า ในปฐมโพธิกาล เมื่อสาวกของพระทศพลมีมาก หาประมาณมิได้, เมื่อพวกเทวดาและมนุษย์หยั่งลงสู่อริยภูมิ, เมื่อการเกิดขึ้นแห่งพระคุณของพระศาสดาแผ่ไปแล้ว, ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นแล้ว. พวกเดียรถีย์ เป็นผู้เช่นกับแสงหิ่งห้อยในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะ. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น ยืนในระหว่างถนน แม้ประกาศให้พวกมนุษย์รู้แจ้งอยู่อย่างนี้ว่า "พระสมณโคดมเท่านั้นหรือ เป็นพระพุทธเจ้า," แม้พวกเราก็เป็นพระพุทธเจ้า; ทานที่เขาให้แล้วแก่พระสมณโคดมนั้นเท่านั้นหรือ มีผลมาก, ทานที่เขาให้แล้วแม้แก่เราทั้งหลายก็มีผลมากเหมือนกัน; ท่านทั้งหลาย จงให้ จงทำ แก่เราทั้งหลายบ้าง" ดังนี้แล้ว ไม่ได้ลาภสักการะแล้ว ประชุมคิดกันในที่ลับว่า "พวกเรา พึงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม ในระหว่างมนุษย์ทั้งหลาย พึงยังลาภสักการะให้ฉิบหาย โดยอุบายอะไรหนอแล?" กาลนั้น ในกรุงสาวัตถี มีนางปริพาชิกาคนหนึ่ง ชื่อว่าจิญจมาณวิกา เป็นผู้ทรงรูปอันเลอโฉม ถึงความเลิศด้วยความงาม เหมือนนางเทพอัปสรฉะนั้น, รัศมีย่อมเปล่งออกจากสรีระของนางนั้น.
๑. พระไตรปิฎก เป็น เอกํ ธมฺมํ อตีตสฺส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 256
นางจิญจมาณวิการับอาสาพวกเดียรถีย์
ลำดับนั้น เดียรถีย์ผู้มีความรู้เฉียบแหลมคนหนึ่ง กล่าวอย่างนั้นว่า "เราทั้งหลายอาศัยนางจิญจมาณวิกา พึงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม ยังลาภสักการะ (ของเธอ) ให้ฉิบหายได้," เดียรถีย์เหล่านั้น รับรองว่า "อุบายนี้ มีอยู่." ต่อมา นางจิญจมาณวิกานั้นไปสู่อารามของเดียรถีย์ ไหว้แล้วได้ยืนอยู่. พวกเดียรถีย์ไม่พูดกับนาง. นางจึงคิดว่า "เรามีโทษ อะไรหนอแล?" แม้พูดครั้งที่ ๓ ว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ดิฉันไหว้" ดังนี้แล้วจึงพูดว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ดิฉันมีโทษอะไรหนอแล? เพราะเหตุอะไร ท่านทั้งหลาย จึงไม่พูดกับดิฉัน?"
เดียรถีย์. น้องหญิง เจ้าย่อมไม่ทราบซึ่งพระสมณโคดมผู้เบียดเบียน เราทั้งหลาย เที่ยวทำเราทั้งหลายให้เสื่อมลาภสักการะหรือ?
นางจิญจมาณวิกา. ดิฉันยังไม่ทราบ เจ้าข้า. ก็ในเรื่องนี้ดิฉัน ควรทำอย่างไรเล่า?
เดียรถีย์. น้องหญิง ถ้าเจ้าปรารถนาความสุขแก่เราทั้งหลายไซร้, จงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดมแล้ว ยังลาภสักการะให้ฉิบหาย เพราะอาศัยตน.
นางกล่าวว่า "ดีละ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย, ข้อนี้จงเป็นภาระของดิฉันเอง, ท่านทั้งหลายอย่าคิดแล้ว" ดังนี้แล้ว หลีกไป ห่มผ้ามีสีดุจแมลงค่อมทอง มีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นในมือ มุ่งหน้าตรงพระเชตวัน ไปอยู่ในสมัยเป็นที่ฟังธรรมกถาแห่งชนชาวเมืองสาวัตถี แล้วออกไปจากพระเชตวัน ตั้งแต่กาลนั้น เพราะความที่นางเป็นผู้ฉลาด ในมารยาทของหญิง, เมื่อผู้อื่นถามว่า "นางจะไปไหนในเวลานี้?" จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 257
กล่าวว่า "ประโยชน์อะไรของท่านทั้งหลายด้วยที่ที่เราไป" พักอยู่ในวัดของเดียรถีย์ในที่ใกล้พระเชตวัน เมื่อคนผู้เป็นอุบาสกออกจากพระนครแต่เช้าตรู่ ด้วยหวังว่า "จักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า" (นาง) ทำทีเหมือนอยู่ในพระเชตวันเข้าไปสู่พระนคร, เมื่อคนผู้เป็นอุบาสก ถามว่า "ท่านอยู่ ณ ที่ไหน?" แล้วจึงกล่าวว่า "ประโยชน์อะไรของท่านทั้งหลายด้วยที่ที่เราอยู่" โดยกาลล่วงไป ๑ - ๒ เดือน เมื่อถูกถาม จึงกล่าวว่า "เราอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม ในพระเชตวัน" ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่ปุถุชนทั้งหลายว่า "ข้อนั้นจริง หรือไม่หนอ?" โดยกาลล่วงไป ๓ - ๔ เดือน เอาท่อนผ้าพันท้อง แสดงเพศของหญิงมีครรภ์ ให้เหล่าชนอันธพาลถือเอาว่า "ครรภ์บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยพระสมณโคดม" โดยกาลล่วงไป ๘ - ๙ เดือน ผูกไม้กลมไว้ ที่ท้องห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค แสดงอาการบวมขึ้น มีอินทรีย์บอบช้ำ เมื่อพระตถาคตประทับนั่งแสดงธรรมบน ธรรมาสน์ที่ประดับแล้วในเวลาเย็น, ไปสู่ธรรมสภา ยืนตรงพระพักตร์ ของพระตถาคตแล้ว กล่าวว่า "มหาสมณะ พระองค์ (ดีแต่) แสดงธรรมแก่มหาชนเท่านั้น, เสียงของพระองค์ไพเราะ, พระโอษฐ์ของพระองค์สนิท; ส่วนหม่อมฉัน อาศัยพระองค์ได้เกิดมีครรภ์ครบกำหนดแล้ว, พระองค์ไม่ทรงทราบเรือนเป็นที่คลอดของหม่อมฉัน, ไม่ทรงทราบเครื่อง ครรภ์บริหารมีเนยใสและน้ำมันเป็นต้น, เมื่อไม่ทรงทำเอง ก็ไม่ตรัสบอกพระเจ้าโกศล หรืออนาถบิณฑิกะ หรือนางวิสาขามหาอุบาสิกา คนใดคนหนึ่ง แม้บรรดาอุปัฏฐากทั้งหลายว่า ท่านจงทำกิจที่ควรทำแก่นางจิญจมาณวิกานี้, พระองค์ทรงรู้แต่จะอภิรมย์เท่านั้น, ไม่ทรงรู้ครรภ์บริหาร "
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 258
เหมือนพยายามจับก้อนคูถ ปามณฑลพระจันทร์ฉะนั้น ด่าพระตถาคต ในท่ามกลางบริษัทแล้ว.
พระตถาคต ทรงงดธรรมกถาแล้ว เมื่อจะทรงบันลือเยี่ยงอย่างสีหะ จึงตรัสว่า "น้องหญิง ความที่คำอันเจ้ากล่าวแล้ว จะจริงหรือไม่ เราและเจ้าเท่านั้น ย่อมรู้."
นางจิญจมาณวิกา. อย่างนั้น มหาสมณะ ข้อนั้น เกิดแล้วโดยความ ที่ท่านและหม่อมฉันทราบแล้ว.
เทพบุตรทำลายกลอุบายของนางจิญจมาณวิกา
ขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรงใคร่ครวญอยู่ ก็ทราบว่า "นางจิญจมาณวิกา ย่อมด่าพระตถาคตด้วยคำไม่เป็นจริง" แล้วทรงดำริว่า "เราจักชำระเรื่องนี้ให้หมดจด" จึงเสด็จมากับเทพบุตร ๔ องค์. เทพบุตรทั้งหลายแปลงเป็นลูกหนูกัดเชือกที่ผูกท่อนไม้กลม ด้วยอันแทะทีเดียวเท่านั้น. ลมพัดเวิกผ้าห่มขึ้น. ไม้กลมพลัดตกลงบนหลังเท้าของนางจิญจมาณวิกานั้น. ปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างแตกแล้ว. มนุษย์ทั้งหลายพูดว่า "แน่ะนางกาลกรรณี เจ้าด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ถ่มเขฬะลงบนศีรษะ มีมือถือก้อนดินและท่อนไม้ ฉุดลากออกจากพระเชตวัน.
นางจิญจมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบ
ครั้นในเวลานางล่วงคลองพระเนตรของพระตถาคตไป แผ่นดินใหญ่แตกแยกช่องให้แล้ว. เปลวไฟตั้งขึ้นจากอเวจี. นางจิญจมาณวิกานั้นไปเกิดในอเวจี เป็นเหมือนห่มผ้ากัมพลที่ตระกูลให้. ลาภสักการะของพวกเดียรถีย์เสื่อมแล้ว (แต่กลับ) เจริญแก่พระทศพลโดยประมาณยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 259
ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุสนทนากันในธรรมสภาว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย นางจิญจมาณวิกาด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ควรทักษิณาอันเลิศ ผู้มีคุณอันยิ่งอย่างนี้ ด้วยคำไม่จริง จึงถึงความพินาศใหญ่แล้ว." พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้," แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เท่านั้นหามิได้, ถึงในกาลก่อน นางจิญจมาณวิกานั้น ก็ด่าเราด้วยคำไม่จริง ถึงความพินาศแล้วเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว จึงตรัสมหาปทุมชาดก (๑) ในทวาทสกนิบาตนี้ให้พิสดารว่า :-
" ผู้เป็นใหญ่ไม่เห็นโทษน้อยใหญ่ ของผู้อื่น
โดยประการทั้งปวงแล้ว ไม่ทันพิจารณาเห็นเอง
ไม่พึง ลงอาญา."
พระโพธิสัตว์ถูกทิ้งลงเหวแต่ไม่ตาย
(พระองค์ตรัสว่า) "ได้ยินว่า ในกาลนั้น นางจิญจมาณวิกานั้น เป็นผู้ร่วมสามีของพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทรงนามว่ามหาปทุมกุมาร เป็นอัครมเหสีของพระราชา เชิญชวนพระมหาสัตว์ด้วยอสัทธรรม ไม่ได้ความยินยอมของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ทำประการแปลกในตนด้วยตนเอง แสดงอาการลวงว่าเป็นไข้ จึงกราบทูลแด่พระราชาว่า "พระราชโอรสของพระองค์ ยังหม่อมฉันผู้ไม่ปรารถนาอยู่ ให้ถึงประการแปลกนี้." พระราชากริ้ว ทิ้งพระมหาสัตว์ไปในเหวเป็นที่ทิ้งโจร.
๑. ขุ. ชา. ทวาทสก. ๒๗/๓๓๘. อรรถกถา. ๖/๑๓๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 260
ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ท้องแห่งภูเขา (หุบเขา) รับพระมหาสัตว์นั้นแล้ว ให้ประดิษฐานอยู่ในห้องพังพานของพระยานาค. พระยานาคนำพระมหาสัตว์นั้นไปสู่ภพนาค ทรงรับรองด้วยราชสมบัติกึ่งหนึ่ง. พระมหาสัตว์นั้นอยู่ในภพนาคนั้นสิ้นปีหนึ่ง ใคร่จะบวช จึงมาสู่หิมวันตประเทศ บวชแล้ว ให้ฌานและอภิญญาบังเกิดแล้ว.
พระโพธิสัตว์ถวายพระโอวาทแก่พระราชา
ต่อมา พรานไพรผู้หนึ่งเห็นพระมหาสัตว์นั้น จึงกราบทูลแด่ พระราชา. พระราชาเสด็จไปสู่สำนักของพระมหาสัตว์นั้นแล้ว มีปฏิสันถาร อันพระมหาสัตว์ทำแล้ว ทรงทราบประพฤติเหตุนั้นทั้งหมด ทรงเชื้อเชิญพระมหาสัตว์ด้วยราชสมบัติ อันพระมหาสัตว์นั้นถวายโอวาทว่า "กิจด้วยราชสมบัติของหม่อมฉันไม่มี, ก็พระองค์จงอย่าให้ราชธรรม ๑๐ ประการกำเริบ ทรงละการถึงอคติเสียแล้ว เสวยราชสมบัติโดยธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ทรงกันแสง เสด็จไปสู่พระนคร จึงตรัสถาม อำมาตย์ทั้งหลายในระหว่างหนทางว่า "เราถึงความพลัดพรากจากบุตร ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอาจาระอย่างนั้นเพราะอาศัยใคร?"
อำมาตย์. เพราะอาศัยพระอัครมเหสี พระเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งให้จับพระอัครมเหสีนั้น ให้มีเท้าขึ้นแล้ว ทิ้งไปในเหวที่ทิ้งโจร เสด็จเข้าไปสู่พระนคร เสวยราชสมบัติโดยธรรม มหาปทุมกุมารในกาลนั้น ได้เป็นพระมหาสัตว์, หญิงร่วมสามีของพระมารดา ได้เป็นนางจิญจมาณวิกา.
พระศาสดาครั้นทรงประกาศเนื้อความนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม อันบุคคลผู้ละคำสัตย์ ซึ่งเป็นธรรมอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 261
เอกแล้ว ตั้งอยู่ในมุสาวาท ผู้มีปรโลกอันสละแล้ว ไม่พึงทำย่อมไม่มี ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๙. เอกํ ธมฺมํ อตีตสฺส มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส นตฺถิ ปาปํ อการิยํ.
"บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอย่างเอกเสีย
ผู้มักพูดเท็จ ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว ไม่พึงทำ ย่อมไม่มี."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกํ ธมฺมํ คือ ซึ่งคำสัตย์. บทว่า มุสาวาทิสฺส ความว่า บรรดาคำพูด ๑๐ คำ คำสัตย์แม้สักคำหนึ่งย่อมไม่มีแก่ผู้ใด, อันผู้เห็นปานนี้ ชื่อว่าผู้มักพูดเท็จ. บาทพระคาถาว่า วิติณฺณปรโลกสฺส ได้แก่ ผู้มีปรโลกอันปล่อยเสียแล้ว, ก็บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมไม่พบสมบัติ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ มนุษยสมบัติ เทพสมบัติ นิพพานสมบัติ ในอวสาน. สองบทว่า นตฺถิ ปาปํ ความว่า ความสงสัยว่า บาปชื่อนี้ อันบุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนั้น ไม่พึงทำดังนี้ย่อมไม่มี.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องนางจิญจมาณวิกา จบ.