พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

พุทธวรรค ที่ ๑๔ ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34942
อ่าน  515

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 275

พุทธวรรค ที่ ๑๔

ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 275

คาถาธรรมบท

พุทธวรรค (๑) ที่ ๑๔

ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า

[๒๔] ๑. กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ใดชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้ กิเลสหน่อยหนึ่งในโลกย่อมไปหากิเลสชาต ที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นชนะแล้วไม่ได้ พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร ตัณหามีข่ายซ่านไปตาม อารมณ์ต่างๆ ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหนๆ พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร.

๒. พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเป็นปราชญ์ ขวนขวายในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบ ด้วยสามารถแห่งการออก แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสติเหล่านั้น.

๓. ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรม


๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๙ เรื่อง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 276

เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก.

๔. ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึงพร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความอดทนต่อความอดกลั้น เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ ความไม่กล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นั่งที่นอนอันสงัด ๑ ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต ๑ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

๕. ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝน คือกหาปณะ กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้แล้ว ย่อมไม่ถึงควานยินดีในกามทั้งหลาย แม้ที่เป็นทิพย์ พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่งตัณหา.

๖. มนุษย์เป็นอันมากถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ ว่าเป็นที่พึ่ง สรณะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 277

นั่นแลไม่เกษม สรณะนั่นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัย สรณะนั่นย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม สรณะนั่นอุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

๗. บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก (เพราะว่า) บุรุษอาชาไนยนั้น ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไป บุรุษอาชาไนย นั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมเกิดในตระกูลใด ตระกูลนั้น ย่อมถึงความสุข.

๘. ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งทลาย เป็นเหตุนำสุขมา การแสดงธรรมของสัตบุรุษเป็นเหตุนำสุขมา ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุนำสุขมา ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุนำสุขมา.

๙. ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือพระพุทธเจ้า หรือว่าพระสาวกทั้งหลายด้วย ผู้ก้าวล่วงปัญจธรรม เครื่องเนิ่นช้า ได้แล้ว ผู้มีความเศร้าโศกและความคร่ำครวญ อัน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 278

ข้ามพ้นแล้ว (หรือว่า) ของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชาเช่นนั้นเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ด้วยการนับแม้วิธีไรๆ ก็ตาม ว่าบุญนี้ มีประมาณเท่านี้.

จบพุทธวรรคที่ ๑๔