พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ [๑๕๐]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34945
อ่าน  513

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 323

๓. เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ [๑๕๐]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 323

๓. เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ [๑๕๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา ทรงอาศัยนครพาราณสี ประทับอยู่ที่โคนไม้ซึก ๗ ต้น ทรงปรารภพระยานาคชื่อเอรกปัตตะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ" เป็นต้น.

อาบัติเล็กน้อยไม่แสดงเสียก่อนให้โทษ

ทราบว่า ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลก่อน พระยานาคนั้นเป็นภิกษุหนุ่ม ขึ้นเรือไปในแม่น้ำคงคา ยึดใบตะไคร้น้ำกอหนึ่ง เมื่อเรือแม้แล่นไปโดยเร็ว, ก็ไม่ปล่อย. ใบตะไคร้น้ำขาดไปแล้ว. ภิกษุหนุ่มนั้นไม่แสดงอาบัติ ด้วยคิดเสียว่า "นี้เป็นโทษเพียงเล็กน้อย" แม้ทำสมณธรรมในป่าสิ้น ๒ หมื่นปี ในกาลมรณภาพ เป็นประดุจใบตะไคร้น้ำผูกคอ แม้อยากจะแสดงอาบัติ เมื่อไม่เห็นภิกษุอื่น ก็เกิดความเดือดร้อนขึ้นว่า "เรามีศีลไม่บริสุทธิ์" จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิด เป็นพระยานาค มีร่างกายประมาณเท่าเรือโกลน. เขาได้มีชื่อว่า "เอรก ปัตตะ" นั่นแล. ในขณะที่เกิดแล้วนั่นเอง พระยานาคนั้นแลดูอัตภาพ แล้ว ได้มีความเดือดร้อนว่า "เราทำสมณธรรมตลอดกาลชื่อมีประมาณ เท่านี้ เป็นผู้บังเกิดในที่มีกบเป็นอาหาร ในกำเนิดแห่งอเหตุกสัตว์."

ในกาลต่อมาเขาได้ธิดาคนหนึ่ง แผ่พังพานใหญ่บนหลังน้ำในแม่น้ำคงคา วางธิดาไว้บนพังพานนั้น ให้ฟ้อนรำขับร้องแล้ว.

พระยานาคออกอุบายเพื่อทราบการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า

ทราบว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 324

เราจักได้ยินความที่พระพุทธเจ้านั้นบังเกิดขึ้น ด้วยอุบายนี้แน่ละ; ผู้ใดนำเพลงขับ แก้เพลงขับของเราได้, เราจักให้ธิดากับด้วยนาคพิภพอันใหญ่แก่ผู้นั้น," วางธิดานั้นไว้บนพังพาน ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน. ธิดานั้นยืนฟ้อนอยู่บนพังพานนั้น ขับเพลงขับนี้ว่า :-

"ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า ชื่อว่าพระราชา?

อย่างไรเล่า พระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?

อย่างไรเล่า ชื่อว่าปราศจากธุลี, อย่างไร?

ท่านจึงเรียกว่า คนพาล."

ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น พากันมาด้วยหวังว่า "เราจักพาเอานางนาคมาณวิกา" แล้วทำเพลงขับแก้ ขับไปโดยกำลังปัญญาของตนๆ. นางย่อมห้ามเพลงขับตอบนั้น. เมื่อนางยืนอยู่บนพังพานทุกกึ่งเดือน ขับเพลงอยู่อย่างนี้เท่านั้น พุทธันดรหนึ่งล่วงไปแล้ว.

พระศาสดาทรงผูกเพลงขับแก้

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูโลก ทำเอรกปัตตนาราชให้เป็นต้น ทรงเห็นมาณพชื่อ อุตตระ ผู้เข้าไปภายในข่ายคือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญดูว่า "จักมีเหตุอะไร?" ได้ทรงเห็นแล้วว่า "วันนี้เป็นวันที่เอรกปัตตนาคราช ทำธิดาไว้บนพังพานแล้วให้ฟ้อน อุตตรมาณพนี้เรียนเอาเพลงขับแก้ที่เราให้แล้วจักเป็นโสดาบัน เรียนเอาเพลงขับนั้นไปสู่สำนักของนาคราชนั้น, นาคราชนั้นฟังเพลงขับแก้นั้นแล้ว จักทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ขึ้นแล้ว จักมาสู่สำนักของเรา, เมื่อนาคราชนั้นมาแล้ว, เราจักกล่าว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 325

คาถาในสมาคมอันใหญ่, ในกาลจบคาถา สัตว์ประมาณ ๘ หมื่น ๔ พัน จักตรัสรู้ธรรม."

พระศาสดาเสด็จไปในที่นั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ โคนต้นซึกต้นหนึ่ง บรรดาต้นซึก ๗ ต้นที่มีอยู่ในที่ไม่ไกลแต่เมืองพาราณสี. ชาวชมพูทวีปพาเอาเพลงขับแก้เพลงขับไปประชุมกันแล้ว. พระศาสดาทอดพระเนตร เห็นอุตตรมาณพกำลังไปในที่ไม่ไกล จึงตรัสว่า "อุตตระ."

อุตตระ. อะไร? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจงมานี่ก่อน.

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะอุตตรมาณพนั้น ผู้มาถวายบังคมนั่งลงแล้ว ถามว่า "เธอจะไปไหน?"

อุตตรมาณพ. จักไปยังที่ที่ธิดาของเอรกปัตตนาคราช ขับเพลง.

พระศาสดา. ก็เธอรู้เพลงขับแก้เพลงขับหรือ?

อุตตรมาณพ. ข้าพระองค์ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจงกล่าวเพลงเหล่านั้นดูก่อน.

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะอุตตรมาณพผู้กล่าวตามธรรมดาความรู้ของตนเท่านั้นว่า "แน่ะอุตตระ นั่น ไม่ใช่เพลงขับแก้, เราจักให้เพลงขับ แก้แก่เธอ, เธอต้องเรียนเพลงขับแก้นั้นให้ได้ "

อุตตมาณพ. ดีละ พระเจ้าข้า.

อุตตรมาณพเรียนเพลงแก้จากพระศาสดา

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า "อุตตระ ในกาลที่นางนาคมาณวิกาขับเพลง เธอพึงขับเพลงแก้นี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 326

"ผู้เป็นใหญ่ในทวาร ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา,

พระราชาผู้กำหนัดอยู่ ชื่อว่าธุลีบนพระเศียร,

ผู้ไม่กำหนัดอยู่ ชื่อว่าปราศจากธุลี, ผู้กำหนัดอยู่

ท่านเรียกว่า คนพาล."

ก็เพลงขับของนางนาคมาณวิกา มีอธิบายว่า:

บาทคาถาว่า กึสุ อธิปตี ราชา ความว่า ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า จึงชื่อว่าพระราชา?

บาทคาถาว่า กึสุ ราชา รชสฺสิโร ความว่า อย่างไรพระราชา ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร?

บทว่า กถํ สุ ความว่า อย่างไรกันเอ่ย พระราชานั้นเป็นผู้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?

ส่วนเพลงขับแก้ มีอธิบายว่า :

บาทคาถาว่า ฉทฺวาราธิปตี ราชา ความว่า ผู้ใดเป็นผู้ใหญ่แห่ง ทวาร ๖ อันอารมณ์ทั้ง ๖ มีรูปเป็นต้นครอบงำไม่ได้ แม้ในทวารหนึ่ง ผู้นี้ชื่อว่าเป็นพระราชา.

บาทคาถาว่า รชมาโน รชสฺสิโร ความว่า ก็พระราชาใดกำหนัด อยู่ในอารมณ์เหล่านั้น, พระราชาผู้กำหนัดอยู่นั้น ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร.

บทว่า อรชํ ความว่า ส่วนพระราชาผู้ไม่กำหนัดอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากธุลี.

บทว่า รชํ ความว่า พระราชาผู้กำหนัดอยู่ ท่านเรียกว่า "เป็นคนพาล."

พระศาสดาครั้นประทานเพลงขับแก้ แก่อุตตรมาณพนั้นอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 327

แล้ว ตรัสว่า "อุตตระ" เมื่อเธอขับเพลงขับนี้ (นาง) จักขับเพลงขับแก้ เพลงขับของเธออย่างนี้ว่า:-

'คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัด ไป, บัณฑิต

ย่อมบรรเทาอย่างไร, อย่างไร จึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ,

ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา'

ทีนั้น ท่านพึงขับเพลงขับแก้นี้แก่นางว่า :-

'คนพาลอันห้วงน้ำ (คือกามโอฆะเป็นต้น) ย่อมพัดไป,

บัณฑิตย่อมบรรเทา (โอฆะนั้น) เสียด้วยความเพียร,

บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง

ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ'

เพลงขับแก้นั้น มีเนื้อความว่า :-

'คนพาลอันโอฆะ (กิเลสดุจห้วงน้ำ) ๔ อย่าง

มีโอฆะคือกามเป็นต้น ย่อมพัดไป, บัณฑิตย่อม

บรรเทาโอฆะนั้น ด้วยความเพียร กล่าวคือสัมมัปปธาน

(ความเพียรอันตั้งไว้ชอบ), บัณฑิตนั้นไม่ประกอบด้วย

โยคะทั้งปวง มีโยคะคือกามเป็นต้น

ท่านเรียกชื่อว่า 'ผู้มีความเกษมจากโยคะ."

อุตตรมาณพ เมื่อกำลังเรียนเพลงขับแก้นี้เทียว ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. เขาเป็นโสดาบัน เรียนเอาคาถานั้นไปแล้ว กล่าวว่า "ผู้เจริญ ฉันนำเพลงขับแก้เพลงขับมาแล้ว, พวกท่านจงให้โอกาสแก่ฉัน" ได้คุกเข่าไปในท่ามกลางมหาชนที่ยืนยัดเยียดกันอยู่แล้ว. นางนาคมาณวิกา ยืนฟ้อนอยู่บนพังพานของพระบิดา แล้วขับเพลงขับว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 328

"ผู้เป็นใหญ่ อย่างไรเล่า ชื่อว่าเป็นพระราชา?" เป็นต้น. อุตตรมาณพ ขับเพลงแก้ว่า

"ผู้เป็นใหญ่ในทวาร ๖ ชื่อว่าเป็พระราชา" เป็นอาทิ.

นางนาคมาณวิกา ขับเพลงโต้แก่อุตตรมาณพนั้นอีกว่า

"คนพาล อันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป? " เป็นต้น.

ทีนั้น อุตตรมาณพเมื่อจะขับเพลงแก้แก่นาง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ดังนี้เป็นต้น.

นาคราชทราบว่าพระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว

นาคราชพอฟังคาถานั้น ทราบความที่พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ดีใจว่า "เราไม่เคยฟังชื่อบทเห็นปานนี้ ตลอดพุทธันดรหนึ่ง, "ผู้เจริญ พระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในโลกแล้วหนอ" จึงเอาหางฟาดน้ำ. คลื่นใหญ่ เกิดขึ้นแล้ว. ฝั่งทั้งสองพังลงแล้ว. พวกมนุษย์ในที่ประมาณอุสภะหนึ่ง แต่ฝั่งข้างนี้และฝั่งข้างโน้น จมลงไปในน้ำ. นาคราชนั้น ยกมหาชนมีประมาณเท่านั้นวางไว้บนพังพาน แล้วตั้งไว้บนบก. นาคราชนั้นเข้าไปหาอุตตรมาณพ แล้วถามว่า "แน่ะนาย พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหน?"

อุตตระ. ประทับนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง มหาราช.

นาคราชนั้นกล่าวว่า "มาเถิดนาย พวกเราจะพากันไป" แล้ว ได้ไปกับอุตตรมาณพ. ฝ่ายมหาชนก็ได้ไปกับเขาเหมือนกัน. นาคราชนั้นไปถึง เข้าไปสู่ระหว่างพระรัศมีมีพรรณะ ๖ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้ยืนร้องไห้อยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนาคราชนั้นว่า "นี่อะไรกัน? มหาบพิตร."

นาคราช. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 329

เช่นกับด้วยพระองค์ ได้ทำสมณธรรมสิ้น ๒ หมื่นปี แม้สมณธรรมนั้น ก็ไม่อาจเพื่อจะช่วยข้าพระองค์ได้. ข้าพระองค์อาศัยเหตุสักว่าให้ใบตะไคร้น้ำขาดไปมีประมาณเล็กน้อย ถือปฏิสนธิในอเหตุกสัตว์ เกิดในที่ที่ต้องเลื้อยไปด้วยอก, ย่อมไม่ได้ความเป็นมนุษย์เลย. ไม่ได้ฟังพระธรรม, ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เช่นกับด้วยพระองค์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง.

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของนาคราชนั้นแล้ว ตรัสว่า "มหาบพิตร ชื่อว่าความเป็นมนุษย์หาได้ยากนัก, การฟังพระสัทธรรม ก็อย่างนั้น, การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน; เพราะว่าทั้งสามอย่างนี้ บุคคลย่อมได้โดยลำบากยากเย็น" เมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ

กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.

"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก,

ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรม

เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก."

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ว่า "ก็ขึ้นชื่อว่า ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็นการยาก คือหาได้ยากเพราะความเป็นมนุษย์ บุคคลต้องได้ด้วยความพยายามมาก ด้วยกุศลมาก, ถึงชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ยาก เพราะทำกรรมมีกสิกรรมเป็นต้นเนืองๆ แล้วสืบต่อความเป็นไปแห่งชีวิตบ้าง เพราะชีวิตเป็นของน้อยบ้าง, แม้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 330

การฟังพระสัทธรรม ก็เป็นการยาก เพราะค่าที่บุคคลผู้แสดงธรรมหาได้ยาก ในกัปแม้มิใช่น้อย, อนึ่ง ถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นการยากเหมือนกัน คือได้ยากยิ่งนัก เพราะอภินิหารสำเร็จ ด้วยความพยายามมาก และเพราะการอุบัติขึ้นแห่งท่านผู้มีอภินิหารอันสำเร็จแล้ว เป็นการได้โดยยาก ด้วยพันแห่งโกฏิกัปป์ แม้มิใช่น้อย."

นาคราชไม่บรรลุโสดาบัน

ในกาลจบเทศนา เหล่าสัตว์ ๘ หมื่น ๔ พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว. ฝ่ายนาคราชควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน. นาคราชนั้นถึงภาวะคือความไม่ลำบากในฐานะทั้ง ๕ กล่าวคือการถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ การเสพเมถุนกับด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่งนาคนั่นแหละ แล้วลำบากอยู่ ย่อมได้เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่งมาณพนั่นแล ดังนี้แล.

เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ จบ.