พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี [๑๕๒]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34947
อ่าน  477

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 335

๕. เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี [๑๕๒]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 335

๕. เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี [๑๒๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ไม่ยินดี (ในพรหมจรรย์) รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น กหาปณวสฺเสน" เป็นต้น.

ภิกษุหนุ่มกระสันอยากสึก

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นบรรพชาแล้วในศาสนา ได้อุปสมบทแล้ว อัน พระอุปัชฌาย์ส่งไป ด้วยคำว่า "เธอจงไปที่ชื่อโน้นแล้ว เรียนอุทเทส" ได้ไปในที่นั้นแล้ว. ครั้งนั้นโรคเกิดขึ้นแก่บิดาของท่าน เขาเป็นผู้ใคร่จะได้เห็นบุตร (แต่) ไม่ได้ใครๆ ที่สามารถจะเรียกบุตรนั้นมาได้ จึงบ่นเพ้ออยู่ เพราะความโศกถึงบุตรนั่นแล เป็นผู้มีความตายอันใกล้เข้ามาแล้ว จึงสั่งน้องชายว่า "เจ้าพึงทำทรัพย์นี้ให้เป็นค่าบาตรและจีวรแก่บุตรของเรา" แล้วให้ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะไว้ในมือของน้องชาย ได้ทำกาละแล้ว.

ในกาลที่ภิกษุหนุ่มมาแล้ว น้องชายนั้น จึงหมอบลงแทบเท้าร้องไห้ กลิ้งเกลือกไปมา พลางกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ บิดาของท่านทั้งหลาย บ่นถึงอยู่เทียว ทำกาละแล้ว, ก็บิดานั้นได้มอบกหาปณะไว้ ๑๐๐ ในมือของผม. ผมจักทำอะไร? ด้วยทรัพย์นั้น." ภิกษุหนุ่มจึงห้ามว่า "เราไม่มีความต้องการด้วยกหาปณะ" ในกาลต่อมาจึงคิดว่า " ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยการเที่ยวไปบิณฑบาตในตระกูลอื่นเลี้ยงชีพ, เราอาจเพื่อจะ อาศัยกหาปณะ ๑๐๐ นั้นเลี้ยงชีพได้, เราจักสึกละ. "เธอถูกความไม่ยินดี บีบคั้นแล้ว จึงสละการสาธยายและพระกัมมัฏฐาน ได้เป็นเหมือนผู้มีโรค

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 336

ผอมเหลือง, ครั้งนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรถามเธอว่า "นี่อะไรกัน?" เมื่อเธอตอบว่า "ผมเป็นผู้กระสัน" จึงพากันเรียนแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์. ทีนั้นอาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้น จึงนำเธอไปยังสำนักของ พระศาสดา แสดงแด่พระศาสดาแล้ว.

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุ ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ?" เมื่อเธอกราบทูลรับว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "เพราะเหตุไร? เธอจึงได้ทำอย่างนั้น, ก็อะไรๆ ที่เป็นปัจจัยแห่งการเลี้ยงชีพของเธอมีอยู่หรือ?"

ภิกษุ. มี พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อะไร? ของเธอมีอยู่.

ภิกษุ. กหาปณะ ๑๐๐ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ถ้ากระนั้น เธอจงนำก้อนกรวดมา แม้เพียงเล็กน้อยก่อน, เธอลองนับดูก็จักรู้ได้ว่า เธออาจเลี้ยงชีวิตได้ด้วยกหาปณะจำนวน เท่านั้นหรือ. หรือไม่อาจเลี้ยงชีวิตได้.

ภิกษุหนุ่มนั้น จึงนำก้อนกรวดมา.

ความอยากให้เต็มได้ยาก

ทีนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะเธอว่า "เธอจงตั้งไว้ ๕๐ เพื่อประโยชน์ แก่เครื่องบริโภคก่อน, ตั้งไว้ ๒๘ เพื่อประโยชน์แก่โค ๒ ตัว, ตั้งไว้ชื่อมีประมาณเท่านี้ เพื่อประโยชน์แก่พืช, เพื่อประโยชน์แก่แอกและไถ, เพื่อประโยชน์แก่จอบ, เพื่อประโยชน์แก่พร้าและขวาน. " เมื่อเธอนับอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ กหาปณะ ๑๐๐ นั้น ย่อมไม่เพียงพอ. ครั้งนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 337

พระศาสดาจึงตรัสกะเธอว่า "ภิกษุ กหาปณะของเธอมีน้อยนัก, เธออาศัย กหาปณะเหล่านั้น จักให้ความทะยานอยากเต็มขึ้นได้อย่างไร? ได้ยินว่าในอดีตกาล บัณฑิตทั้งหลายครองจักรพรรดิราชสมบัติ สามารถจะยังฝนคือรัตนะ ๗ ประการให้ตกลงมาเพียงสะเอวในที่ประมาณ ๑๒ โยชน์ ด้วยอาการสักว่าปรบมือ, แม้ครองราชสมบัติในเทวโลก ตลอดกาลที่ท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์จุติไปในเวลาตาย (ก็) ไม่ยังความอยากให้เต็มได้เลย ได้ทำกาละแล้ว" อันภิกษุนั้นทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา ยังมันธาตุราชชาดก (๑) ให้พิสดารแล้ว ในลำดับแห่งพระคาถานี้ว่า :-

"พระจันทร์และพระอาทิตย์ (ย่อมหมุนเวียนไป)

ส่องทิศให้สว่างไสวอยู่กำหนดเพียงใด, สัตว์ทั้งหลาย

ผู้อาศัยแผ่นดินทั้งหมดเทียว ย่อมเป็นทาสของ

พระเจ้ามันธาตุราชกำหนดเพียงนั้น."

ได้ทรงภาษิต ๒ พระคาถานี้ว่า :-

๕. น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ

อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา อิติ วิญฺาย ปณฺฑิโต

อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ

ตณฺหกฺขยรโต โหติ สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก.

"ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝน

คือกหาปณะ, กามทั้งหลาย มีรสอร่อยน้อย ทุกข์มาก

บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้แล้ว ย่อมไม่ถึงความยินดีใน


๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๐๐. อรรถกถา. ๒/๔๗.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 338

กามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์, พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่งตัณหา."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กหาปณวสฺเสน ความว่า บัณฑิตนั้น ปรบมือแล้ว ยังฝนคือรัตนะ ๗ ประการให้ตกลงได้, ฝนคือรัตนะ ๗ ประการนั้น ตรัสให้ชื่อว่า กหาปณวสฺสํ ในพระคาถานี้, ก็ขึ้นชื่อว่าความอิ่มในวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมไม่มี แม้เพราะฝนคือรัตนะทั้ง ๗ ประการนั้น; ความทะยานอยากนั่น เต็มได้ยากด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า อปฺปสฺสาทา คือ ชื่อว่ามีสุขนิดหน่อย เพราะค่าที่กามมี อุปมาเหมือนความฝันเป็นต้น.

บทว่า ทุกฺขา คือ ชื่อว่ามีทุกข์มากแท้ ด้วยสามารถแห่งทุกข์อันมาในทุกขักขันธสูตร (๑) เป็นต้น.

บทว่า อิติ วิฺาย คือ รู้กามทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยอาการ อย่างนี้.

บทว่า อปิ ทิพฺเพสุ ความว่า ก็ถ้าใครๆ พึงเธอเชิญด้วยกามอันเข้าไปสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย. ถึงอย่างนั้นท่านย่อมไม่ประสบความยินดี ในกามเหล่านั้นเลย เหมือนท่านพระสมิทธิ ที่ถูกเทวดาเธอเชื้อเชิญฉะนั้น.

บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ความว่า เป็นผู้ยินดียิ่ง ในพระอรหัตและ ในพระนิพพาน คือปรารถนาพระอรหัตและพระนิพพานอยู่.


๑. ม. มู. มหาทุกขักขันธสูตร ๑๒/๑๖๖. จูฬทุกขักขันธสูตร ๑๒/๑๗๙.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 339

ภิกษุโยคาวจรผู้เกิดในที่สุดแห่งการฟังธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ชื่อว่าพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี จบ.