พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต [๑๕๓]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34948
อ่าน  574

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 340

๖. เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต [๑๕๓]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 340

๖. เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต. [๑๕๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา (เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน) ประทับนั่งบนกอง ทราย ทรงปรารภปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ชื่ออัคคิทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "พหุํ เว สรณํ ยนฺติ" เป็นต้น.

อัคคิทัตได้เป็นปุโรหิตถึง ๒ รัชกาล

ดังได้สดับมา อัคคิทัตนั้น ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้ามหาโกศล. ครั้นเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศล ทรงดำริว่า "ผู้นี้เป็นปุโรหิตแห่งพระชนกของเรา" จึงตั้งเขาไว้ในตำแหน่งนั้นนั่นแล ด้วยความเคารพ ในเวลาเขามาสู่ที่บำรุงของพระองค์ ทรงทำการเสด็จลุกรับ. รับสั่งให้พระราชทานอาสนะเสมอกัน ด้วยพระดำรัสว่า "อาจารย์ เชิญนั่งบนอาสนะนี้."

อัคคิทัตออกบวชนอกพระพุทธศาสนา

อัคคิทัตนั้น คิดว่า "พระราชานี้ทรงทำความเคารพในเราอย่างเหลือเกิน, แต่เราก็ไม่อาจเอาใจของพระราชาทั้งหลายได้ตลอดกาลเป็นนิตย์เทียว; อนึ่ง พระราชาก็เยาว์วัย ยังหนุ่มน้อย, ชื่อว่าความเป็นพระราชากับด้วยคนผู้มีวัยเสมอกันนั่นแล เป็นเหตุให้เกิดสุข; ส่วนเราเป็นคนแก่, เราควรบวช" เขากราบทูลให้พระราชาพระราชทานพระบรมราชานุญาตการบรรพชาแล้ว ให้คนตีกลองเที่ยวไปในพระนครแล้ว สละทรัพย์ของตนทั้งหมดในเพราะการให้ทานเป็นใหญ่ตลอด ๗ วันแล้ว บวชเป็นนักบวชภายนอก. บุรุษหมื่นหนึ่งอาศัยอัคคิทัตนั้น บวชตามแล้ว. อัคคิทัต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 341

นั้นพร้อมด้วยนักบวชเหล่านั้น สำเร็จการอยู่ในระหว่างแคว้นอังคะ แคว้น มคธะและแคว้นกุรุ (ต่อกัน) ให้โอวาทนี้ว่า "พ่อทั้งหลาย บรรดาเธอทั้งหลาย ผู้ใดมีกามวิตกเป็นต้น เกิดขึ้น, ผู้นั้นจงขนหม้อทรายหม้อหนึ่งๆ จากแม่น้ำ (มา) เกลี่ยลง ณ ที่นี้." พวกนักบวชเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" ในเวลากามวิตกเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว ก็ทำอย่างนั้น. โดยสมัยอื่นอีก ได้มีกองทรายใหญ่แล้ว. นาคราชชื่อ อหิฉัตตะ หวงแหนกองทรายใหญ่นั้น. ชาวอังคะ มคธะ และชาวแคว้นกุรุ นำเครื่องสักการะเป็นอันมากไป ถวายทานแก่พวกนักบวชเหล่านั้นทุกๆ เดือน.

อัคคิทัตสอนประชาชนให้ถึงสรณะ

ครั้งนั้น อัคคิทัตได้ให้โอวาทแก่ชนเหล่านั้น ดังนี้ว่า "พวกท่าน จงถึงภูเขาเป็นสรณะ, จงถึงป่าเป็นสรณะ, จงถึงอารามเป็นสรณะ, จงถึงต้นไม้เป็นสรณะ; พวกท่านจักพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นได้ด้วยอาการอย่างนี้" กล่าวสอนแม้ซึ่งอันเตวาสิกของตน ด้วยโอวาทนี้เหมือนกัน.

พระมหาโมคคัลลนะไปทรมานอัคคิทัต

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิแล้ว ในสมัยนั้น ทรงอาศัยกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวัน. ในเวลาจวนรุ่งทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นอัคคิทัตพราหมณ์พร้อมด้วย อันเตวาสิก ผู้เข้าไปภายในข่ายคือพระญาณของพระองค์แล้ว ทรงทราบ ว่า "ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัต" ในตอนเย็น ตรัสกะพระมหาโมคคัลลานเถระว่า "โมคคัลลานะ เธอเห็นอัคคิทัตพราหมณ์ผู้ยังมหาชนให้แล่นไปโดยทางไม่ใช่ท่าไหม? เธอจงไป, ให้โอวาทแก่มหาชนเหล่านั้น. "

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 342

พระเถระ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่านั้นเป็นอันมาก ข้าพระองค์ผู้เดียวพึงข่มขี่ไม่ได้, ถ้าแม้พระองค์จักเสด็จมาไซร้, ชนเหล่านั้นจักเป็นอันพึงข่มขี่ได้.

พระศาสดา. โมคคัลลานะ แม้เราก็จักมา, เธอจงล่วงหน้าไปก่อน.

พระเถระ กำลังเดินไปเทียว พลางคิดว่า "ชนเหล่านั้น ทั้งมีกำลัง ทั้งมีมาก, ถ้าเราจักพูดอะไรๆ ในที่ประชุมของชนทั้งปวงไซร้; ชนแม้ทั้งหมดพึงลุกขึ้น โดยความเป็นพวกๆ กัน" ยังฝนมีเม็ดหยาบให้ตกลงแล้ว ด้วยอานุภาพของตน. ชนเหล่านั้น เมื่อฝนมีเม็ดหยาบตกอยู่, ต่าง ก็ลุกขึ้นแล้วๆ เข้าไปยังบรรณศาลาของตนๆ. พระเถระยืนอยู่ที่ประตูบรรณาศาลาของอัคคิทัตกล่าวว่า อัคคิทัต. เขาได้ยินเสียงของพระเถระแล้ว กล่าวว่า "นั่นเป็นใคร?" เพราะความเป็นผู้กระด้างเพราะมานะว่า "ในโลกนี้ใครๆ ชื่อว่าผู้สามารถเรียกเราโดย (ออก) ชื่อ ไม่มี, ใครหนอแล? เรียกเราโดย (ออก) ชื่อ."

พระเถระ. ข้าพเจ้า พราหมณ์.

อัคคิทัต. ท่านพูดอะไร?

พระเถระ. ขอท่านจงบอกสถานที่พักอยู่ในที่นี้แก่ข้าพเจ้าสิ้นคืนหนึ่ง ในวันนี้.

อัคคิทัต. สถานที่พักอยู่ในที่นี้ ไม่มี, บรรณาศาลาหลังหนึ่งก็สำหรับคนหนึ่งเท่านั้น.

พระเถระ. อัคคิทัต ธรรมดาพวกมนุษย์ ย่อมไปสู่สำนักของพวก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 343

มนุษย์. พวกโคก็ไปสู่สำนักของโค พวกบรรพชิตก็ไปสู่สำนักของพวกบรรพชิต, ท่านอย่าทำอย่างนั้น, ขอจงให้ที่พักอยู่แก่ข้าพเจ้า.

อัคคิทัต. ก็ท่านเป็นบรรพชิตหรือ?

พระเถระ. เออ ข้าพเจ้าเป็นบรรพชิต.

อัคคิทัต. ถ้าท่านเป็นบรรพชิตไซร้, สิ่งของคือสาแหรกบริขารแห่งบรรพชิต ของท่านอยู่ไหน?

พระเถระ. บริขารของข้าพเจ้ามีอยู่, ข้าพเจ้าคิดเห็นว่า ก็การถือ บริขารนั้นเป็นแผนก เที่ยวไป ลำบาก ดังนี้แล้ว จึงถือบริขารนั้นไว้ โดยภายในนั้นแลเที่ยวไป พราหมณ์."

พราหมณ์นั้นโกรธพระเถระว่า "ท่านจักถือบริขารนั้นเที่ยวไป หรือ?" ลำดับนั้น พระเถระจึงพูดกะเขาว่า " (จงหลีกไป) อัคคิทัต ท่านอย่าโกรธ (ข้าพเจ้า), จงบอกสถานที่พักอยู่แก่ข้าพเจ้า."

อัคคิทัต. สถานที่พักอยู่ที่นี้ไม่มี.

พระเถระ. ก็ใคร? อยู่บนกองทรายนั่น.

อัคคิทัต. นาคราชตัวหนึ่ง.

พระเถระ. ท่านจงให้ที่นั่นแก่ข้าพเจ้า.

อัคคิทัต. ข้าพเจ้าไม่อาจให้ได้, กรรมของนาคราชนั่นร้ายกาจ.

พระเถระ. ช่างเถอะ, ขอท่านจงให้แก่เราเถิด.

อัคคิทัต. ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรู้เองเถิด.

พระเถระผจญกับนาคราช

พระเถระ ผินหน้าตรงกองทรายไปแล้ว. นาคราชเห็นพระเถระนั้นมา จึงดำริว่า "พระสมณะนี้มาข้างนี้, เห็นจะไม่ทราบความที่เรามีอยู่;

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 344

เราจะบังหวนควัน ให้สมณะนั้นตาย" บังหวนควันแล้ว.

พระเถระคิดว่า "นาคราชนี้เห็นจะเข้าใจว่า" เราเท่านั้นอาจบังหวนควันได้. พวกอื่นย่อมไม่อาจ" ดังนี้แล้ว บังหวนควันแม้เอง. ควันทั้งหลายพุ่งออกจากสรีระแห่งนาคราชและพระเถระ แม้ทั้งสองฝ่าย ตั้งขึ้นจนถึงพรหมโลก. ควันทั้งสองฝ่ายไม่เบียดเบียนพระเถระ เบียดเบียนแต่นาคราชฝ่ายเดียว. นาคราชไม่อาจอดทนกำลังแห่งควันได้ จึงให้ลุกโพลง (เป็นไฟ). ฝ่ายพระเถระเข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์แล้ว ให้ลุกโพลง (เป็นไฟ) พร้อมกับนาคราชนั้นเหมือนกัน. เปลวไฟพุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก. เปลวไฟแม้ทั้งสองฝ่ายไม่เบียดเบียนพระเถระ เบียดเบียนแต่ นาคราชฝ่ายเดียว.

นาคราชแพ้พระเถระ

ลำดับนั้น สรีระทั้งสิ้นของนาคราชนั้น ได้เป็นราวกะว่าถูกคบเพลิง ทั้งหลายลนทั่วแล้ว. หมู่ฤษีแลดูแล้วคิดว่า "นาคราชเผาสมณะ, สมณะ คนดีหนอ ไม่เชื่อฟังคำของพวกเรา จึงฉิบหายแล้ว."

พระเถระ ทรมานนาคราชทำให้หมดพยศแล้ว นั่งบนกองทราย. นาคราชเอาขนดรวบกองทราย แผ่พังพานประมาณเท่าห้องโถงแห่งเรือนยอด กั้นอยู่แล้วเบื้องบนแห่งพระเถระ. หมู่ฤษีไปยังสำนักของพระเถระ แต่เช้าตรู่ ด้วยคิดว่า "พวกเราจักรู้ความที่สมณะตายแล้วหรือยังไม่ตาย" เห็นท่านนั่งอยู่บนยอดกองทรายแล้ว ประคองอัญชลีชมเชยอยู่ กล่าวว่า "สมณะ นาคราชไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ?"

พระเถระ. ท่านทั้งหลายไม่เห็นนาคราชแผ่พังพานดำรงอยู่เบื้องบน แห่งเราหรือ?

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 345

ฤษีเหล่านั้น พูดกันว่า "น่าอัศจรรย์หนอ! ท่านผู้เจริญ, อานุภาพแห่งสมณะ ชื่อเห็นปานนี้, พระสมณะนี้ทรมานนาคราชได้แล้ว "ได้ยืนล้อมพระเถระอยู่แล้ว.

ในขณะนั้น พระศาสดาเสด็จมาแล้ว. พระเถระเห็นพระศาสดาแล้ว ลุกขึ้นถวายบังคม. ลำดับนั้น ฤษีทั้งหลาย พูดกะพระเถระนั้นว่า "สมณะนี้ เป็นใหญ่แม้กว่าท่านหรือ?"

พระเถระ. พระผู้มีพระภาคเจ้านั่น เป็นพระศาสดา, ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.

พวกฤษีชมเชยพระศาสดา

พระศาสดาประทับนั่งบนยอดกองทรายแล้ว. หมู่ฤษีประคองอัญชลี ชมเชยพระศาสดาว่า "อานุภาพของสาวกยังถึงเพียงนี้, ส่วนอานุภาพของพระศาสดานี้ จักเป็นเช่นไร?"

พระศาสดาตรัสเรียกอัคคิทัตมาแล้ว ตรัสว่า "อัคติทัต ท่านเมื่อ ให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากทั้งหลายของท่าน ย่อมกล่าวว่า อย่างไร? ให้."

อัคคิทัต. ข้าพระองค์ให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงถึงภูเขานั่นว่าเป็นที่พึ่ง, จงถึงป่า อาราม, จงถึง ต้นไม้ ว่าเป็นที่พึ่ง; ด้วยว่าบุคคลถึงวัตถุทั้งหลาย มีภูเขาเป็นต้นนั้นว่า เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

สรณะที่เกษมและไม่เกษม

พระศาสดาตรัสว่า "อัคคิทัต บุคคลถึงวัตถุทั้งหลายมีภูเขาเป็นต้น นั่นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย, ส่วนบุคคลถึงพระพุทธ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 346

พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๖. พหุํ เว สรณํ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ

อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา

เนตํ โข สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ

เนตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.

โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต

จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ

ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ

อริยญฺจฏฺงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ

เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ

เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.

"มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา

ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง; สรณะนั่นแลไม่เกษม,

สรณะนั่นไม่อุดม, เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น

ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ

พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ)

ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรค

มีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์

ด้วยปัญญาชอบ; สรณะนั่นแลของ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 347

บุคคลนั้นเกษม, สรณะนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัย

สรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุํ ได้แก่ พหู แปลว่ามาก. บทว่า ปพฺพตานิ เป็นต้น ความว่า มนุษย์เหล่านั้นๆ อันภัยนั้นๆ คุกคามแล้ว อยากพ้นจากภัย หรือปรารถนาลาภทั้งหลาย มีการได้บุตรเป็นต้น ย่อมถึงภูเขา มีภูเขาชื่ออิสิคิลิ เวปุลละและเวภาระเป็นต้น ป่าทั้งหลาย มีป่ามหาวัน ป่าโคสิงคสาลวันเป็นต้น อารามทั้งหลาย มีเวฬุวันและชีวกัมพวัน เป็นต้น และรุกขเจดีย์ทั้งหลาย มีอุเทนเจดีย์และโคตมเจดีย์เป็นต้นในที่นั้นๆ ว่าเป็นที่พึ่ง.

สองบทว่า เนตํ สรณํ ความว่า ก็สรณะแม้ทั้งหมดนั่นไม่เกษม ไม่อุดม, ด้วยว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นต้น เป็นธรรมดาแม้ผู้หนึ่ง อาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีชาติเป็นต้นได้.

คำว่า โย จ เป็นต้นนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสรณะอันไม่เกษม ไม่อุดมแล้ว ปรารภไว้เพื่อจะทรงแสดงสรณะอันเกษม อันอุดม.

เนื้อความแห่งคำว่า โย จ เป็นต้นนั้น (ดังต่อไปนี้) :-

ส่วนบุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม อาศัยกัมมัฎฐาน คือการตามระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้นว่า "แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วยสามารถแห่งความเป็นวัตถุอันประเสริฐ, การถึงสรณะนั้น ของบุคคลแม้นั้น ยังกำเริบ ยังหวั่นไหว ด้วยกิจทั้งหลายมีการไหว้อัญเดียรถีย์เป็นต้น,

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 348

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงความที่การถึงสรณะนั้นไม่หวั่นไหว เมื่อจะทรงประกาศสรณะอันมาแล้วโดยมรรคนั่นแล จึงตรัสว่า ย่อมเห็น อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาชอบ. ด้วยว่าบุคคลใดถึงรัตนะทั้งหลาย มีพระพุทธรัตนะเป็นต้นนั่นว่า เป็นที่พึ่ง ด้วยสามารถแห่งการเห็นสัจจะเหล่านั้น, สรณะนั้นของบุคคลนั้น เกษมและอุดม, และบุคคลนั้นอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ" เป็นต้น

ในกาลจบเทศนา ฤษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมด บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ทูลขอบรรพชาแล้ว.

พระศาสดา ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกจากกลีบจีวร ตรัสว่า "ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด, จงประพฤติพรหมจรรย์."

ชาวเมืองเข้าใจว่าอัคคิทัตใหญ่กว่าพระศาสดา

ในขณะนั้นเอง ฤษีเหล่านั้นได้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ ดุจพระเถระมีพรรษาตั้งร้อย. ก็วันนั้นได้เป็นวันที่ชาวแคว้นอังคะ แคว้นมคธะ และแคว้นกุรุ แม้ทั้งปวงถือเครื่องสักการะมา. ชนเหล่านั้นถือเครื่องสักการะมาแล้ว เห็นฤษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมดบวชแล้ว คิดว่า "อัคคิทัต พราหมณ์ของพวกเราเป็นใหญ่ หรือพระสมณโคดมเป็นใหญ่หนอแล?" ได้สำคัญว่า "อัคคิทัต เป็นใหญ่แน่ เพราะเหตุที่พระสมณโคดมมาหา."

อัคคิทัตตัดความสงสัยของชาวเมือง

พระศาสดา ทรงตรวจดูอัธยาศัยของชนเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า "อัคคิทัต เธอจงตัดความสงสัยของบริษัท." พระอัคคิทัตนั้นกราบทูลว่า "แม้ข้าพระองค์ ก็หวังเหตุมีประมาณเพียงนั้นเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 349

เหาะขึ้นไปสู่เวหาสด้วยกำลังฤทธิ์ แล้วลงมาถวายบังคมพระศาสดาบ่อยๆ ถึง ๗ ครั้งแล้ว กล่าวประกาศความที่ตนเป็นสาวกว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์, ข้าพระองค์เป็นสาวก" ดังนี้แล.

เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต จบ.