พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. เรื่องสัมพหุลภิกขุ [๑๕๕]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34950
อ่าน  479

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 352

๘. เรื่องสัมพหุลภิกขุ [๑๕๕]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 352

๘. เรื่องสัมพหุลภิกขุ [๑๕๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการสนทนา ของภิกษุมากรูปด้วยกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท" เป็นต้น.

ความเห็นในปัญหาต่างๆ กัน

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุ ๕๐๐ รูปนั่งในศาลาเป็นที่บำรุง สนทนากันว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย อะไรหนอแล เป็นสุขในโลกนี้?"

บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า "ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุข ในราชสมบัติ ย่อมไม่มี." บางพวกกล่าวว่า "ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุขในกาม ย่อมไม่มี." บางพวกกล่าวว่า "ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุขอันเกิด แต่การบริโภคข้าวสาลีและเนื้อ ย่อมไม่มี."

พระศาสดาทรงแก้ปัญหานั้น

พระศาสดา เสด็จมาสู่ที่ๆ ภิกษุเหล่านั้นนั่งแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้," จึงตรัสว่า "ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไร? ก็ความสุขนี้แม้ทั้งหมด นับเนื่องด้วยทุกข์ ในวัฏฏะทั้งนั้น, แต่เหตุนี้เท่านั้นคือ ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า การฟังธรรม ความพร้อมเพรียงของหมู่ ความเป็นผู้ปรองดองกัน เป็นสุขในโลกนี้" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 353

๘. สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท สุขา สทฺธมฺมเทสนา

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานํ ตโป สุโข.

"ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเหตุนำสุขมา,

การแสดงธรรมของสัตบุรุษ เป็นเหตุนำสุขมา,

ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุนำสุขมา,

ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุนำสุขมา."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานมุปฺปาโท (๑) ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อทรงอุบัติขึ้น ย่อมยังมหาชนให้ข้ามจากความกันดารทั้งหลาย มีความกันดารคือราคะเป็นต้นเหตุใด, เหตุนั้น ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมา. สัตว์ทั้งหลายผู้มีทุกข์ มีชาติเป็นต้นเป็นธรรม. อาศัยการแสดงธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย มีชาติเป็นต้นเหตุใด, เหตุนั้น การแสดงธรรมของสัตบุรุษ จึงชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมา. ความเป็นผู้มีจิตเสมอกัน ชื่อว่าสามัคคี, แม้สามัคคีนั้น ก็ชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมาโดยแท้. อนึ่ง การเรียนพระพุทธพจน์ก็ดี การรักษาธุดงค์ทั้งหลายก็ดี การทำสมณธรรมก็ดี ของเหล่าชนผู้พร้อมเพรียงกัน คือผู้มีจิตเป็นอันเดียวกัน เป็นเหตุนำสุขมาเหตุใด, เหตุนั้นพระศาสดาจึงตรัสว่า "สมคฺคานํ ตโป สุโข." เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า (๒) "ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุจักพร้อมเพรียงกันประชุม, จักพร้อมเพรียงกันเลิก (ประชุม) , จักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำของหมู่, ตลอดกาลเพียงใด; ภิกษุทั้งหลาย


๑. บาลีเป็น พุทฺธานํ อุปฺปาโท. ๒. ยัง. สัตตก. ๒๓/๒๑.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 354

ความเจริญฝ่ายเดียว อันภิกษุทั้งหลายพึงหวังได้, ความเสื่อมอันภิกษุ ทั้งหลายไม่พึงหวังได้ ตลอดกาลเพียงนั้น."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมากตั้งอยู่ในอรหัตตผลแล้ว. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสัมพหุลภิกขุ จบ.