พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง [๑๖๑]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34957
อ่าน  613

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 373

๕. เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง [๑๖๑]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 373

๕. เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง [๑๖๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเมืองอาฬวี ทรงปรารภอุบาสกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ชิฆจฺฉา" เป็นต้น.

เสด็จโปรดคนเข็ญใจ

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎี ในพระเชตวันเทียว ทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นมนุษย์เข็ญใจคนหนึ่ง ในเมืองอาฬวี ทรงทราบความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยของเขา มีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร ได้เสด็จไปสู่เมืองอาฬวี. ชาวเมืองอาฬวีนิมนต์พระศาสดา. มนุษย์เข็ญใจแม้นั้นได้ยินว่า "พระศาสดาเสด็จมา" ดังนี้แล้ว ได้ตั้งใจไว้ว่า "เราจักฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา." แลในวันนั้นเอง โคของเขาตัวหนึ่งหนีไป เขาคิดว่า "เราจักค้นหาโคหรือจะฟังธรรม" แล้วคิดว่า "เราค้นหาโคต้อนให้เข้าไปสู่ฝูงโคแล้ว จึงจักฟังธรรมภายหลัง" ดังนี้แล้ว จึงออกจากเรือนแต่เช้าตรู่. แม้ชาวเมืองอาฬวีนิมนต์ ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้นั่งแล้วอังคาส รับบาตร เพื่อประโยชน์แก่อนุโมทนา. พระศาสดาได้ทรงนิ่งเสีย ด้วยหมายพระหฤทัยว่า "เราอาศัยบุคคลใดมาแล้ว ตลอดหนทาง ๓๐ โยชน์, บุคคลนั้นเข้า ไปสู่ป่า เพื่อแสวงหาโค; เมื่อเขามาแล้วนั่นแหละ เราจึงจักแสดงธรรม." มนุษย์แม้นั้น เห็นโคในกลางวัน ต้อนเข้าฝูงโคแล้วคิดว่า "แม้ถ้าของ อื่นไม่มี, เราจักกระทำกิจสักว่าการถวายบังคมพระศาสดา" แม้ถูกความหิวบีบคั้นก็ไม่ใฝ่ใจจะไปเรือน มาสู่สำนักพระศาสดาโดยเร็ว ถวายบังคม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 374

พระศาสดาแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง. ในเวลาที่เขายืนอยู่ พระศาสดาตรัสกะผู้ขวนขวายในทานว่า "ของอะไรที่เป็นเดนของภิกษุสงฆ์ มีอยู่หรือ?"

ผู้ขวนขวายในทาน. มีอยู่ทุกอย่าง พระเจ้าข้า

พระศาสดา. ถ้ากระนั้น เธอจงเลี้ยงดูผู้นี้.

พระศาสดายังถูกโพนทะนา

เขาให้มนุษย์นั้นนั่งในที่ที่พระศาสดาตรัสสั่งนั่นแหละ แล้วเลี้ยงดูด้วยข้าวยาคู ของควรเคี้ยว และของควรบริโภค โดยเคารพ. มนุษย์ผู้นั้นบริโภคภัตเสร็จ บ้วนปากแล้ว. ได้ยินว่า ชื่อว่าการจัดภัตของพระตถาคต ย่อมไม่มีในที่อื่น ในปิฎก ๓ เว้นที่นี้เสีย. จิตของเขามีความกระวนกระวายสงบแล้ว ได้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแก่เขา. ในที่สุดแห่งเทศนา เขาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แม้พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. มหาชนตามส่งเสด็จพระศาสดาแล้วก็กลับ.

ภิกษุทั้งหลายที่ไปกับพระศาสดานั่นแหละ ยกโทษว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงดูกรรมของพระศาสดาเถิด, กรรมเห็นปานนี้ ย่อมไม่มีในวันทั้งหลายอื่น, แต่วันนี้ พระศาสดาทรงอาศัยมนุษย์คนหนึ่ง รับสั่งให้คนจัดแจงข้าวยาคูเป็นต้นให้ให้แล้ว." พระศาสดาเสด็จกลับ ประทับยืนอยู่แล้วเทียว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน?" ทรงสดับเนื้อความนั้นแล้ว ตรัสว่า " อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย เรา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 375

คิดว่า เราเมื่อมาสิ้นทางกันดาร ๓๐ โยชน์ เห็นอุปนิสัยของอุบาสกคนนั้น แล้วจึงมา, อุบาสกนั้นหิวยิ่งนัก ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วเที่ยวไปหาโคในป่า, แม้เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะความเป็นทุกข์อันเกิดแต่ความหิว, จึงได้กระทำอย่างนี้; ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่าชื่อว่าโรค เช่นกับโรค คือความหิวไม่มี" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา

เอตํ ญฺตวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.

"ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลาย

เป็นทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น

ตามความจริงแล้ว (กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน)

เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา ความว่า เพราะโรคอย่างอื่นรักษาคราวเดียวก็หาย หรือว่าอันบุคคลย่อมบำบัดได้ ด้วยความสามารถแห่งองค์นั้นๆ (คือเป็นครั้งคราว). ส่วนความหิว ต้องรักษากันสิ้นกาลเป็นนิตย์ทีเดียว เหตุนั้น ความหิวนี้จึงจัดเป็นเยี่ยม กว่าโรคที่เหลือ.

ขันธ์ ๕ ชื่อว่า สังขารทั้งหลาย. สองบทว่า เอตํ ตฺวา ความว่า บัณฑิตทราบเนื้อความตามเป็นจริงว่า "โรคเสมอด้วยความหิว ย่อมไม่มี, ชื่อว่าทุกข์ เสมอด้วยการบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี," แล้วกระทำพระนิพพานให้แจ้ง.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 376

บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ความว่า เพราะพระนิพพานนั้น เป็นสุขอย่างยอด คืออย่างสูงสุดกว่าสุขทั้งหมด.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง จบ.