พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. เรื่องพระติสสเถระ [๑๖๓]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34959
อ่าน  585

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 381

๗. เรื่องพระติสสเถระ [๑๖๓]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 381

๗. เรื่องพระติสสเถระ [๑๖๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเมืองไพศาลี ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปริเวกรสํ" เป็นต้น.

ได้ทราบข่าวปรินิพพานแล้วบำเพ็ญสมณธรรม

ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายโดยเดือน ๔ เดือน (๑) จากนี้ เราจักปรินิพพาน. "ภิกษุ ๗๐๐ ในสำนักของพระศาสดาถึงความสะดุ้งแล้ว. ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพทั้งหลาย. ภิกษุปุถุชนทั้งหลายไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้. ภิกษุทั้งหลายเป็นพวกๆ เที่ยว ปรึกษากันว่า "พวกเราจักทำอย่างไรหนอ?" ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่าติสสเถระคิดว่า "ได้ยินว่า พระศาสดาจักปรินิพพาน โดยล่วงไป ๔ เดือน, ก็เราเป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศ, เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นั่นแหละ, เราควรถือเอาพระอรหัต (ให้ได้) " แล้วจึงอยู่ผู้เดียวเท่านั้น ในอิริยาบถ ๔. การไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย หรือการสนทนาปราศรัย กับผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมไม่มี. ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า "คุณติสสะ เหตุไร? คุณจึงทำอย่างนี้." ท่านไม่ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระติสสเถระไม่มีความรักในพระองค์." พระศาสดา


๑. น่าจะเป็น ๓ เดือน แต่ว่าในที่นี้เห็นจะนับโดยเดือน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 382

รับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า "ติสสะ เหตุไร? เธอจึงทำอย่างนี้," เมื่อท่านกราบทูลความประสงค์ของตนแล้ว ประทานสาธุการว่า "ดีละ ติสสะ" แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความรักในเรา จงเป็นเหมือน ติสสะเถิด; แม้คนกระทำการบูชาอยู่ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ไม่ชื่อว่าบูชาเราเลย, แต่คนผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั่นแหละ ชื่อว่าบูชาเรา" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๗. ปวิเวกรสํ ปิตฺวา รสํ อุปสมสฺส จ

นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ธมฺมปีติรสํ ปิวํ.

"บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวกและรสพระนิพพาน

เป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม ย่อมเป็น

ผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวกรสํ ความว่า ซึ่งรสอันเกิดแล้วแต่วิเวก, อธิบายว่า ซึ่งความสุขอันเกิดแต่ความเป็นผู้เดียว.

บทว่า ปิตฺวา ความว่า ดื่มแล้วด้วยความสามารถแห่งอันเป็นผู้ทำกิจ มีอันกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น ทำให้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์.

บาทพระคาถาว่า รสํ อุปสมสฺส จ ความว่า ดื่มแล้วซึ่งรสแห่งพระนิพพาน อันเป็นที่เข้าไปสงบกิเลสด้วย.

สองบทว่า นิทฺทโร โหติ ความว่า ภิกษุผู้ขีณาสพ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีบาป เพราะความไม่มีความกระวนกระวาย คือราคะเป็นต้นในภายใน เพราะดื่มรสทั้งสองอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 383

สองบทว่า รสํ ปิวํ ความว่า แม้เมื่อดื่มรสแห่งปีติ อันเกิดขึ้นแล้ว ด้วยสามารถแห่งโลกุตรธรรม ๙ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย และ ไม่มีบาป.

ในกาลจบเทศนา พระติสสเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระ จบ.