พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เรื่องอนิตถิคันธกุมาร [๑๖๙]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34966
อ่าน  512

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 404

๕. เรื่องอนิตถิคันธกุมาร [๑๖๙]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 404

๕. เรื่องอนิตถิคันธกุมาร [๑๖๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอนิตถิคันธกุมาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กามโต ชายตี" เป็นต้น.

อนิตถิคันธกุมารให้ช่างหล่อรูปสตรี

ได้ยินว่า อนิตถิคันธกุมารนั้น เป็นสัตว์ที่จุติจากพรหมโลก เกิดในตระกูลมีโภคะมาก ในกรุงสาวัตถี ตั้งแต่วันเกิดมาแล้วไม่ปรารถนา จะเข้าไปใกล้หญิง, ถูกผู้หญิงจับก็ร้องไห้. มารดา (ต้อง) อุ้มกุมารนั้น ด้วยเทริดผ้าแล้วจึงให้ดื่มนม.

กุมารนั้นเจริญวัยแล้ว เมื่อมารดาบิดากล่าวว่า "พ่อ เราจักทำ อาวาหมงคลแก่เจ้า." ก็ห้ามว่า "ฉันไม่มีความต้องการด้วยหญิง" เมื่อถูกอ้อนวอนบ่อยเข้า จึงให้เรียกช่างทองมา ๕๐๐ คน แล้วให้ๆ ทองคำ มีสีสุกพันนิกขะ ให้ทำรูปหญิง บุอย่างหนา น่าเลื่อมใสยิ่งนัก, เมื่อมารดาบิดากล่าวอีกว่า พ่อ เมื่อเจ้าไม่ทำอาวาหมงคล, ตระกูลวงศ์จักตั้งอยู่ไม่ได้, เราจักนำกุมาริกามาให้เจ้า" ก็กล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ถ้า ท่านทั้งสองจะนำกุมาริกาเช่นนั้นมาให้ฉัน, ฉันจักทำตามคำของท่านทั้งสอง" ดังนี้แล้ว จึงแสดงรูปทองคำนั้น.

ส่งพราหมณ์ไปหาคู่ครองบุตร

ลำดับนั้น มารดาบิดาของเขา ให้พาพวกพราหมณ์มีชื่อเสียงมา แล้วบอกว่า "บุตรของเรามีบุญมาก, คงจักมีกุมาริกาผู้ทำบุญร่วมกับบุตรนี้เป็นแน่; พวกท่านจงไป, จงพาเอารูปทองคำนี้ไปแล้วนำนางกุมาริกา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 405

ผู้มีรูปเช่นนี้มา" ดังนี้แล้วส่ง (พราหมณ์เหล่านั้น) ไป. พราหมณ์เหล่านั้น รับว่า "ดีละ" เที่ยวจาริกไป ไปถึงสาคลนคร ในแคว้นชื่อมัททะ.

พราหมณ์พบหญิงมีรูปดุจรูปหล่อแล้วกลับมา

ก็ในนครนั้น ได้มีกุมาริกาคนหนึ่งมีรูปสวย มีอายุรุ่นราว ๑๖ ปี. มารดาบิดาให้นางอยู่ที่พื้นชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น พราหมณ์แม้เหล่านั้นแล คิดกันว่า "ถ้าในนครนี้ จักมีกุมาริกาเห็นปานนี้, ชนทั้งหลายเห็นรูปทองคำนี้แล้ว ก็จักกล่าวว่า รูปจำลองนี้สวยเหมือนธิดาของตระกูลโน้น" ดังนี้แล้ว จึงตั้งรูปทองคำนั้นไว้ริมทางไปสู่ท่าน้ำ นั่ง (คอยเฝ้า) ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น หญิงแม่นมของกุมาริกานั้น ให้กุมาริกานั้นอาบน้ำแล้ว ใคร่จะอาบเองบ้าง จึงไปสู่ท่าน้ำ เห็นรูปนั้นสำคัญว่า "ธิดาของเรา" จึงกล่าวว่า "โอ แม่หัวดื้อ, เราให้เจ้าอาบน้ำแล้วออกมาเมื่อกี้นี้เอง, เจ้าล่วงหน้ามาที่นี่ก่อนเรา" ดังนี้แล้ว จึงตีด้วยมือ รู้ความที่รูปนั้นแข็งและ ไม่มีวิการ จึงกล่าวว่า "เราได้ทำความเข้าใจว่า ่นางนี้เป็นธิดาของเรา นั่นอะไรกันเล่า?"

ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ถามหญิงแม่นมนั่นว่า "แม่ ธิดาของท่าน เห็นปานนี้หรือ?"

หญิงแม่นม. นี้จะมีค่าอะไร ในสำนักธิดาของเรา.

พราหมณ์. ถ้ากระนั้น ท่านจงแสดงธิดาของท่าน แก่พวกเรา.

หญิงแม่นมนั้น ไปสู่เรือนพร้อมด้วยพราหมณ์ทั้งหลายนั้นแล้ว ก็บอกแก่นาย (เจ้าบ้าน). นายทำความชื่นชมกับพวกพราหมณ์แล้ว ให้ธิดา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 406

ลงมายืนอยู่ในที่ใกล้รูปทองคำ ณ ปราสาทชั้นล่าง. รูปทองคำได้เป็นรูปหมดรัศมีแล้ว. พวกพราหมณ์ ให้รูปทองคำนั้นแก่นายนั้นแล้วมอบหมาย กุมาริกาไว้ แล้วไปบอกแก่มารดาบิดาของอนิตถิคันธกุมาร.

คู่ครองของอนิตถิคันธกุมารตายในระหว่างทาง

มารดาบิคานั้นมีใจยินดีแล้ว กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงไป, นำกุมาริกานั้นมาโดยเร็ว" ดังนี้แล้ว ส่งไปด้วยสักการะเป็นอันมาก.

ฝ่ายกุมาร ได้ยินข่าวนั้น ก็ยังความรักให้เกิดขึ้นด้วยสามารถการได้ยินว่า "มีเด็กหญิงรูปร่างสวยยิ่งกว่ารูปทองคำอีก" จึงกล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงนำมาโดยเร็วเถิด." กุมาริกาแม้นั้นแล อันเขายกขึ้นสู่ยาน นำมาอยู่ มีโรคลมอันความกระทบกระทั่งแห่งยานให้เกิดขึ้นแล้ว ได้ทำกาละ ในระหว่างทางนั่นเอง เพราะความที่นางเป็นผู้ละเอียดอ่อนยิ่งนัก.

ความรักก่อให้ระทมทุกข์

แม้กุมาร ก็ถามอยู่เสมอว่า "มาแล้วหรือ?" ชนทั้งหลายไม่บอก แก่กุมารนั้น ซึ่งถามอยู่ด้วยความสิเนหาอันยิ่ง โดยพลันทีเดียว ทำการอำพรางเสีย ๒ - ๓ วันแล้วจึงบอกเรื่องนั้น. กุมารนั้นเกิดโทมนัสขึ้นว่า "เราไม่ได้สมาคมกับหญิงชื่อเห็นปานนั้นเสียแล้ว" ได้เป็นผู้ถูกทุกข์คือ โศกประหนึ่งภูเขาท่วมทับแล้ว.

พระศาสดาทรงแสดงอุบายระงับความโศก

พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยของกุมารนั้น เมื่อเสด็จไปบิณฑบาต จึงได้เสด็จไปยังประตูเรือนนั้น. ลำดับนั้น มารดาบิดาของกุมารนั้น อัญเชิญพระศาสดาเสด็จเข้าไปภายในเรือน แล้วอังคาสโดยเคารพ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 407

ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาตรัสถามว่า "อนิตถิคันธกุมารไปไหน?"

มารดาบิดา. พระเจ้าข้า อนิตถิคันธกุมารนั่น อดอาหารนอนอยู่ในห้อง.

พระศาสดา. จงเรียกเธอมา.

อนิตถิคันธกุมารนั้น มาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วน ข้างหนึ่ง, เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า "กุมาร ความโศกมีกำลังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอหรือ?" จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า, ความโศกมีกำลังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะได้ยินว่าหญิงชื่อเห็นปานนี้ ทำกาละในระหว่างทางเสียแล้ว แม้ภัต ข้าพระองค์ก็ไม่หิว."

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า "กุมาร ก็เธอรู้ไหมว่าความโศกเกิดแก่เธอ เพราะอาศัยอะไร?"

อนิตถิคันธกุมาร. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า "กุมาร ความโศกมีกำลังเกิดขึ้นแก่เธอ เพราะอาศัยกาม, เพราะความโศกก็ดี ภัยก็ดี ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกาม" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. กามโต ชายตี โสโก กามโต ชายตี ภยํ

กามโต วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ.

"ความโศกย่อมเกิดแต่กาม, ภัยย่อมเกิดแต่กาม;

ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากกาม,

ภัยจักมีแต่ไหน."

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 408

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามโต ความว่า จากวัตถุกามและกิเลสกาม, อธิบายว่า ความโศกก็ดี ภัยก็ดี ย่อมอาศัยกามแม้ทั้งสองอย่างนั่นเกิด.

ในกาลจบเทศนา อนิตถิคันธกุมารตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล ดังนี้แล.

เรื่องอนิตถิคันธกุมาร จบ.