พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เรื่องปัญหาของพระโมคคัลลานเถระ [๑๗๗]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34975
อ่าน  649

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 448

๔. เรื่องปัญหาของพระโมคคัลลานเถระ [๑๗๗]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 448

๕. เรื่องปัญหาของพระโมคคัลลานเถระ [๑๗๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของ พระมหาโมคคัลลานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สจฺจํ ภเณ" เป็นต้น.

พระโมคคัลลนะไปเทวโลก

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระเถระไปยังเทวจาริก ยืนอยู่ที่ประตูวิมานของเทพธิดาผู้มีศักดิ์มากแล้ว จึงพูดอย่างนี้กะเทพธิดาองค์นั้น ผู้มาสู่สำนักของตน ไหว้แล้วยืนอยู่ว่า "เทพธิดา สมบัติของท่านมากมาย, ท่านได้เพราะทำกรรมอะไร? "

เทพธิดา. อย่าถามดิฉันเลย เจ้าข้า.

นัยว่า เทพธิดาละอายอยู่ด้วยกรรมอันเล็กน้อยของตน จึงได้พูดอย่างนี้. ก็เทพธิดานั้น อันพระเถระกล่าวอยู่ว่า "จงบอกเถิด" จึงพูดว่า "ท่านผู้เจริญ ทานดิฉันก็มิได้ถวาย, การบูชาก็มิได้ทำ, พระธรรมก็มิได้ฟัง, รักษาเพียงคำสัตย์อย่างเดียว."

พระเถระ ไปยังประตูวิมานแม้อื่นแล้ว ก็ถามเทพธิดาแม้อื่นผู้มาแล้วๆ ถึงเมื่อเทพธิดาเหล่านั้น ไม่อาจเพื่อจะปกปิดเกียดกันพระเถระได้ อย่างนั้นนั่นแล, เทพธิดาองค์หนึ่งจึงพูดก่อนว่า "ท่านผู้เจริญ บรรดาบุญกรรมมีทานเป็นต้น ชื่อว่าบุญกรรมอันดิฉันทำแล้ว ไม่มี, แต่ในกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ดิฉันได้เป็นทาสีของคนอื่น, นายของดิฉันนั้น ดุร้ายหยาบคายเหลือเกิน ย่อมเอาไม้บ้าง ท่อนฟืนบ้าง ที่ตัว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 449

พลันฉวยได้ๆ ตีที่ศีรษะ, ดิฉันนั้นเมื่อความโกรธเกิดขึ้น, ก็นึกติตัวเอง เท่านั้นว่า นายของเจ้านี่ เป็นใหญ่ เพื่อจะทำเจ้าให้เสียโฉมก็ได้, เพื่อจะตัดอวัยวะมีจมูกเป็นต้น ของเจ้าก็ได้, เจ้าอย่าโกรธเลย ดังนี้แล้ว ก็ไม่ทำความโกรธ; ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงได้สมบัตินี้. "

เทพธิดาองค์อื่น ต่างก็บอกทานเล็กน้อยอันตนๆ ทำแล้ว โดยนัย เป็นต้นว่า "ท่านผู้เจริญ ดิฉันรักษาไร่อ้อย ได้ถวายอ้อยลำหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง." องค์อื่นบอกว่า ดิฉันถวายมะพลับผลหนึ่ง องค์อื่นบอกว่า ดิฉันได้ถวายฟักทองผลหนึ่ง องค์อื่นบอกว่า ดิฉันได้ถวายผลลิ้นจี่ ผลหนึ่ง องค์อื่นบอกว่า ดิฉันได้ถวายเหง้ามันกำมือหนึ่ง องค์อื่นบอก ว่า ดิฉันได้ถวายสะเดากำมือหนึ่ง ดังนี้แล้ว ก็บอกว่า 'ด้วยเหตุนี้ พวกดิฉันจึงได้สมบัตินี้."

กล่าวคําสัตย์เท่านั้นก็ได้ไปสวรรค์ได้

พระเถระ ฟังกรรมที่เทพธิดาเหล่านั้นทำแล้ว จึงลงจากสวรรค์ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า "พระเจ้าข้า บุคคลอาจไหมหนอแล เพื่อจะได้ทิพยสมบัติ ด้วยเหตุเพียงกล่าวคำสัตย์ เพียงดับความโกรธ เพียงถวายทานมีผลมะพลับเป็นต้น อันเล็กน้อยเหลือเกิน?"

พระศาสดา. โมคคัลลานะ เพราะเหตุไร เธอจึงถามเรา? พวก เทพธิดาบอกเนื้อความนี้แก่เธอแล้ว มิใช่หรือ?

โมคคัลลานะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า บุคคลเห็นจะได้ทิพยสมบัติ ด้วยกรรมมีประมาณเท่านั้น.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระโมคคัลลานะนั้นว่า "โมคคัลลานะ บุคคลกล่าวเพียงคําสัตย์ก็ดี ละเพียงความโกรธก็ดี ถวายทานเพียงเล็ก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 450

น้อยก็ดี ย่อมไปเทวโลกได้แท้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย ทชฺชา อปฺปสฺมิ ยาจิโต

เอเตหิ ตีหิ าเนหิ คจฺเฉ เทวาน สนฺติเก.

"บุคคลควรกล่าวคำสัตย์ ไม่ควรโกรธ, ถึงถูก

เขาขอน้อย ก็พึงให้, บุคคลพึงไปในสำนักของเทวดา

ทั้งหลายได้ ด้วยฐานะ ๓ นั่น. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สจฺจํ ภเณ ความว่า พึงแสดง คือ พึงกล่าวคำสัตย์, อธิบายว่า ควรตั้งมั่นอยู่ในคำสัตย์.

บทว่า น กุชฺเฌยฺย ได้แก่ ไม่ควรโกรธต่อบุคคลอื่น.

บทว่า ยาจิโต ความว่า บรรพชิตผู้มีศีล ชื่อว่าผู้ขอ. ความจริงบรรพชิตเหล่านั้น ไม่ขอเลยว่า ขอท่านจงให้ ย่อมยืนอยู่ที่ประตูเรือนก็จริง. ถึงกระนั้น โดยอรรถก็ชื่อว่าย่อมขอทีเดียว บุคคลอันผู้มีศีลขอแล้วอย่างนั้น เมื่อไทยธรรมแม้เล็กน้อยมีอยู่ ก็พึงให้แม้เพียงเล็กน้อย.

สองบทว่า เอเตหิ ตีหิ ความว่า บรรดาเหตุเหล่านั้น ด้วยเหตุแม้เพียงอย่างเดียว บุคคลพึงไปเทวโลกได้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องปัญหาของพระโมคคัลลานเถระ จบ.