พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม [๑๗๘]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34976
อ่าน  438

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 451

๕. เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม [๑๗๘]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 451

๕. เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม [๑๗๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองสาเกต ประทับอยู่ที่อัญชนวัน ทรงปรารภปัญหาที่ภิกษุทั้งหลายทูลถาม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อหึสกา เย" เป็นต้น.

สองผัวเมียแสดงตนเป็นพุทธบิดาและพุทธมารดา

ดังได้สดับมา ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จเข้าไปในเมืองสาเกต เพื่อบิณฑบาต พราหมณ์เฒ่าชาวเมืองสาเกตคนหนึ่ง กำลังเดินออกไปจากพระนคร พบพระทศพลที่ระหว่างประตู จึงหมอบลงแทบพระบาททั้งสองแล้ว จับที่ข้อพระบาทไว้มั่น พลางกล่าวว่า "พ่อ ธรรมดามารดาและบิดา อันพวกลูกชายพึงประคบประหงม ในเวลาที่ท่านชราแล้วมิใช่หรือ? เหตุไรเล่า พ่อจึงไม่แสดงตน (ให้ปรากฏ) แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลประมาณเพียงนี้? พระองค์อันข้าพระองค์เห็นก่อน, ขอพระองค์จงเสด็จมาเยี่ยมมารดาบ้าง" ดังนี้แล้ว ก็ได้พาพระศาสดาไป สู่เรือนของตน. พระศาสดาเสด็จไปที่เรือนนั้นแล้ว ประทับนั่งเหนืออาสนะซึ่งปูลาดไว้กับด้วยภิกษุสงฆ์.

ฝ่ายพราหมณี มาหมอบแทบพระบาททั้งสองของพระศาสดาแล้ว ทูลว่า "พ่อ พ่อเป็นผู้ไปเสียที่ไหน สิ้นกาลประมาณเพียงนี้? ธรรมดา มารดาและบิดา อันบุตรธิดาควรบำรุง ในเวลาที่ท่านแก่เฒ่ามิใช่หรือ? แล้วให้บุตรและธิดาทั้งหลายถวายบังคมด้วยคำว่า "พวกเจ้าจงมา, จงถวายบังคมพระพี่ชาย."

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 452

แม้สองสามีภรรยานั้น มีใจยินดี เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ทูลว่า "พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาที่เรือนนี้แหละเป็นนิตย์" เมื่อพระศาสดาตรัสว่า "ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงรับภิกษาเป็นนิตย์ ในที่แห่งเดียวเท่านั้น," จึงกราบทูลว่า "ถ้ากระนั้น ขอพระองค์พึงส่งพวกคนที่มาเพื่อนิมนต์พระองค์ไปที่สำนักของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า."

จำเดิมแต่นั้น พระศาสดาทรงส่งพวกคนที่มาเพื่อนิมนต์ไป ด้วยพระดำรัสว่า "พวกท่านจงไปบอกแก่พราหมณ์เถิด." คนที่มานิมนต์เหล่านั้น ย่อมไปบอกกะพราหมณ์ว่า "เราทั้งหลาย ย่อมนิมนต์พระศาสดา เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้."

ในวันรุ่งขึ้น พราหมณ์ย่อมถือภาชนะภัตและภาชนะแกง จากเรือนของตนไปสู่สถานที่พระศาสดาประทับนั่งอยู่. ก็ในเมื่อการนิมนต์ไป (ฉัน) ในที่อื่นไม่มี พระศาสดาย่อมทรงทำภัตกิจที่เรือนของพราหมณ์นั้นแล. แม้สองสามีภรรยานั้น ถวายไทยธรรมของตนแด่พระตถาคตอยู่ ฟังธรรมกถาอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ บรรลุอนาคามิผลแล้ว.

พระศาสดาตรัสบุรพประวัติของพราหมณ์

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พราหมณ์ ชื่อโน้น รู้ว่า พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดาของพระตถาคต, พระนางเจ้ามหามายาเป็นพระมารดา ทั้งรู้อยู่ (อย่างนั้น) แหละ พร้อมกับ พราหมณ์เรียกพระตถาคตว่า บุตรของเรา, ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงรับรอง อย่างนั้นเหมือนกัน; จักมีเหตุอะไรหนอแล?

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 453

พระศาสดา ทรงสดับกถาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ทั้งสองสามีภริยานั้น ย่อมเรียกบุตรของตนเท่านั้นว่า บุตร ดังนี้แล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมา ทรงแสดงความที่พระองค์เป็นบุตรของพราหมณ์ผัวเมียทั้งสองนั้นสิ้น ๓,๐๐๐ ชาติว่า "ภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พราหมณ์นี้ได้เป็นบิดาของเรา ๕๐๐ ชาติติดๆ กัน, เป็นอาของเรา ๕๐๐ ชาติ, เป็นลุง ๕๐๐ ชาติ, ถึงพราหมณีนั้นก็ได้เป็นมารดาของเรา ๕๐๐ ชาติติดๆ กัน, เป็นน้าของเรา ๕๐๐ ชาติ, เป็นป้าของเรา ๕๐๐ ชาติ; เราเป็นผู้เจริญแล้วในมือของพราหมณ์ ๑,๕๐๐ ชาติ; เจริญแล้ว ในมือพราหมณี ๑,๕๐๐ ชาติอย่างนี้." แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ ว่า :-

"ใจย่อมจดจ่อ, แม้จิตก็เลื่อมใสในบุคคลใด,

เขาย่อมสนิทสนมในบุคคลแม้นั้น ซึ่งตนไม่เคยเห็น

โดยแท้ (๑) ความรักนั้นย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒

ประการอย่างนี้ คือเพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑,

เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เปรียบเหมือน

ดอกบัวเกิดในน้ำได้ (เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ) ฉะนั้น. (๒) "

พระศาสดาเสด็จไปสู่ที่เผาศพของพราหมณ์

พระศาสดาทรงอาศัยตระกูลนั้น ประทับอยู่แล้วสิ้นไตรมาสนั่นแล. ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณีทั้งสองนั้น ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตตผลแล้วก็


๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๒. สาเกตชาดก. อรรถกถา. ๒/๑๐๙.

๒. ขุ. ชา. ๒๗/๙๑. อรรถกถา. ๓/๓๐๒.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 454

ปรินิพพาน คราวนั้นชนทั้งหลายทำสักการะอย่างมากมายแก่พราหมณ์และ พราหมณีเหล่านั้นแล้ว ก็ยกทั้งสองขึ้นสู่เรือนยอดหลังเดียวกันนั่นแหละ นำไปแล้ว.

แม้พระศาสดา มีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จไปยังป่าช้ากับ ชนเหล่านั้นเหมือนกัน.

มหาชนออกไปแล้ว ด้วยคิดว่า "ได้ยินว่าพระมารดาและพระบิดา ของพระพุทธเจ้าทำกาละเสียแล้ว. พระศาสดาได้เสด็จเข้าไปยังศาลาหลังหนึ่ง ในที่ใกล้ป่าช้าประทับยืนแล้ว. พวกมนุษย์ถวายบังคมพระศาสดา แล้วยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำปฏิสันถารกับพระศาสดา ด้วยทูลว่า "พระ เจ้าข้า ขอพระองค์อย่าทรงคิดว่า "พระมารดาและพระบิดาของพระองค์ ทำกาละแล้ว."

พระศาสดาตรัสชราสูตร

พระศาสดา ไม่ทรงห้ามคนเหล่านั้นเลยว่า "พวกเธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น" ทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ให้เหมาะแก่ขณะนั้น จึงตรัสชราสูตร (๑) นี้ โดยนัยเป็นต้นว่า :-

"ชีวิตนี้น้อยหนอ สัตว์ย่อมตายหย่อนแม้กว่า

๑๐๐ ปี, แม้หากผู้ใดเป็นอยู่เกินไป, ผู้นั้นย่อมตาย

แม้เพราะชราโดยแท้."

ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พันแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่ทราบความที่พราหมณ์และพราหมณีปริ-


๑. ขุ. มหา. ๒๙/๑๔๑.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 455

นิพพานแล้ว จึงทูลถามว่า "ภพหน้าของพราหมณ์และพราหมณีนั้นเป็น อย่างไร? พระเจ้าข้า."

พระอเสขมุนีไปสู่ฐานะที่ไม่จุติ

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าอภิสัมปรายภพของพระอเสขมุนีทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น ย่อมไม่มี, เพราะว่าพระอเสขมุนีผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุมหานิพพานอันไม่จุติ อันไม่ตาย" ดังนี้แล้ว จึงตรัส พระคาถานี้ว่า :-

๕. อหึสกา เย มุนโย นิจฺจํ กาเยน สํวุตา

เต ยนฺติ อจฺจุตํานํ ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.

"มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้ว

ด้วยกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่ฐานะอัน

ไม่จุติ ซึ่งเป็นที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุนโย คือ พระอเสขมุนีทั้งหลายบรรลุมรรคและผลด้วยโมไนยปฏิปทา.

บทว่า กาเยน นั่น สักว่าเป็น (หัวข้อ) เทศนาเท่านั้น. อธิบายว่า สำรวมแล้วด้วยทวารแม้ทั้ง ๓.

บทว่า อจฺจุตํ ได้แก่ เที่ยง.

บทว่า านํ ได้แก่ ฐานะที่ไม่กำเริบ คือฐานะที่ยั่งยืน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 456

บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า มุนีทั้งหลาย ย่อมไปสู่ฐานะ คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อน.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม จบ.