๖. เรื่องนางปุณณทาสี [๑๗๙]
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 457
๖. เรื่องนางปุณณทาสี [๑๗๙]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 457
๖. เรื่องนางปุณณทาสี [๑๗๙]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภทาสีของเศรษฐี กรุงราชคฤห์ชื่อนางปุณณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สทา ชาครมานานํ" เป็นต้น.
นางปุณณาถวายขนมรําแด่พระพุทธเจ้า
ดังได้สดับมา ในวันหนึ่ง เศรษฐีได้ให้ข้าวเปลือกเป็นอันมากแก่นางปุณณานั้น เพื่อประโยชน์แก่อันซ้อม. นางตามประทีปในกลางคืน ซ้อมข้าวเปลือกอยู่ มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ จึงได้ไปยืนตากลมอยู่ ณ ภายนอก เพื่อต้องการพักผ่อน.
ในสมัยนั้น พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้จัดแจงเสนาสนะเพื่อภิกษุทั้งหลาย ท่านยังนิ้วมือให้สว่างเพื่อภิกษุทั้งหลาย ผู้ฟังธรรมแล้วไปสู่เสนาสนะของตนๆ นิรมิตภิกษุทั้งหลายผู้ไปข้างหน้าๆ เพื่อประโยชน์แก่การแสดงทาง. นางปุณณา เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนภูเขา ด้วยแสงสว่างนั้น จึงคิดว่า "เราถูกทุกข์ของตัวเบียดเบียน จึงไม่เข้าถึงความหลับในเวลาแม้นี้ก่อน. เพราะเหตุไร ท่านผู้เจริญทั้งหลาย "จึงไม่หลับ?" ดังนี้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเอาเองว่า "ความไม่ผาสุก จักมีแก่ภิกษุบางรูป, หรืออุปัทวเหตุเพราะงู (๑) จักมีในที่นั่นเป็นแน่" แต่เช้าตรู่ จึงหยิบรำชุบน้ำให้ชุ่มแล้ว ทำขนมบนฝ่ามือ ปิ้งที่ถ่านเพลิง ห่อไว้ในพก คิดว่า "จักกินขนมที่ทางไปสู่ท่าน้ำ" จึงถือหม้อ เดินบ่ายหน้าไปยังท่าน้ำ.
๑. ทีฆชาติเกน=สัตว์มีชาติแห่งสัตว์ยาว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 458
แม้พระศาสดา ก็เสด็จดำเนินไปทางนั้นเหมือนกัน เพื่อเข้าบ้าน. นางเห็นพระศาสดาแล้ว คิดว่า "ในวันอื่นๆ ถึงเมื่อเราพบพระศาสดา, ไทยธรรมของเราก็ไม่มี, เมื่อไทยธรรมมี, เราก็ไม่พบพระศาสดา; ก็บัดนี้ ไทยธรรมของเราก็มี, ทั้งพระศาสดาก็ปรากฏเฉพาะหน้า, ถ้าพระองค์ไม่ทรงคิดว่า "ทานของเราเศร้าหมองหรือประณีต แล้วพึงรับไซร้, เรา พึงถวายขนมนี้" ดังนี้แล้ว จึงวางหม้อไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า "ขอพระองค์จงทรงรับทานอันเศร้าหมองนี้ ทำการสงเคราะห์แก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า. "
พระศาสดา ทอดพระเนตรดูพระอานนทเถระแล้ว ทรงน้อมบาตรที่ท้าวมหาราชถวายไว้ อันพระอานนท์เถระนำออกถวาย รับขนม. แม้นางปุณณา วางขนมนั้นลงในบาตรของพระศาสดาแล้ว ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กราบทูลว่า "ขอธรรมที่พระองค์ทรงเห็นแล้วนั่นแหละ จงสำเร็จแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า," พระศาสดา ประทับยืนอยู่นั่นแหละ ได้ทรงกระทำอนุโมทนาว่า "จงสำเร็จอย่างนั้น."
พระศาสดาเสวยขนมของนางปุณณา
แม้นางปุณณาก็คิดว่า "พระศาสดา ทรงทำการสงเคราะห์แก่เรา รับขนมก็จริง, ถึงกระนั้น พระองค์ก็จักไม่เสวยขนมนั้น; คงประทานให้แก่กาหรือสุนัขข้างหน้า เสด็จไปยังพระราชมณเฑียรของพระราชาหรือเรือนของมหาอำมาตย์แล้ว จักเสวยโภชนะอันประณีตแน่แท้."
แม้พระศาสดาก็ทรงดำริว่า "นางปุณณานั่น คิดอย่างไรหนอแล?" ทรงทราบวาระจิตของนางแล้ว จึงทอดพระเนตรดูพระอานนทเถระ แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 459
ทรงแสดงอาการที่จะประทับนั่ง. พระเถระได้ปูลาดจีวรถวาย. พระศาสดาได้ประทับนั่งทำภัตกิจ ณ ภายนอกพระนครนั่นเอง. เทพดาในห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้น บีบโอชารสอันสมควรแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ให้เหมือนรวงผึ้งแล้ว ใส่ลงในขนมนั้น. ส่วนนางปุณณาได้ยืนแลดูอยู่.
ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระเถระได้ถวายน้ำ. พระศาสดาทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสเรียกนางปุณณามา ตรัสว่า "ปุณณา เพราะเหตุไร เจ้าจึงดูหมิ่นสาวกทั้งหลายของเรา?"
นางปุณณา. หม่อมฉันมิได้ดูหมิ่น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าแลดูสาวกทั้งหลายของเราแล้ว คิดอย่างไร?
นางปุณณา. หม่อมฉันคิดเท่านี้ว่า เราไม่ถึงความหลับ ก็เพราะ อุปัทวันตรายคือทุกข์นี้ก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลายไม่เข้าถึงความหลับ เพื่ออะไรกัน, ความไม่ผาสุกจักมีแก่ภิกษุบางรูป หรืออุปัทวันตรายเพราะงู จักมีเป็นแน่ พระเจ้าข้า.
สาวกของพระพุทธเข้าตื่นเสมอ
พระศาสดาทรงสดับคำของนางปุณณานั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ปุณณา เจ้าไม่หลับ เพราะอันตรายคือทุกข์ของตัวก่อน, ส่วนสาวกทั้งหลายของเรา ไม่หลับ เพราะความเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมเครื่องตื่นอยู่ทุกเมื่อ" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๖. สทา ชาครมานานํ อโหรตฺตานุสิกฺขินํ
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ อตฺถํ คจฺฉนฺติ อาสวา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 460
"อาสวะทั้งหลาย ของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ มีปกติ
ตามศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน น้อมไปแล้วสู่
พระนิพพาน ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อโหรตฺตานุสิกฺขินํ ได้แก่ ศึกษาไตรสิกขาอยู่ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน.
บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ ได้แก่ ผู้มีอัธยาศัยในพระนิพพาน.
สองบทว่า อฏฺํ คจฺฉนฺติ ความว่า อาสวะทั้งหลายแม้ทั้งปวงของผู้เห็นปานนั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือความฉิบหาย ได้แก่ ความไม่มี.
ในกาลจบเทศนา นางปุณณายืนอยู่ตามเดิมนั่นเอง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว.
ภิกษุพากันสรรเสริญพระศาสดา
พระศาสดา ครั้นทรงทำภัตกิจด้วยขนมปิ้งที่ถ่านเพลิง ซึ่งทำด้วยรำแล้ว ได้เสด็จไปวิหาร.
ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ทำได้ยากอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงทําภัตกิจ ด้วยขนมปิ้งซึ่งทำด้วยรำ อันนางปุณณาถวาย ทรงทำแล้ว."
พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่ง ประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอแล?" เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า "ด้วย เรื่องชื่อนี้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ไม่ใช่ในบัดนี้เท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย;
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 461
ถึงในก่อน เราก็บริโภครำที่นางปุณณานี้ให้แล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสกุณฑกสินธวโปตกชาดก (๑) นี้ ให้พิสดารว่า :-
พระโพธิสัตว์เมื่อจะทดลอง (ถาม) ลูกม้าสินธพนั้น จึงกล่าวคาถา ที่ ๑ ว่า
"เจ้ากินหญ้าอันเป็นเดน, เจ้ากินข้าวตังและรำ
(มาจนโต) นี่เป็นอาหารเดิมของเจ้า เพราะเหตุไร
บัดนี้ เจ้าจึงไม่กิน?" ลูกม้าสินธพฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าว ๒ คาถานอกนี้ว่า
"ในที่ใด ชนทั้งหลาย ไม่รู้จักสัตว์ผู้ควรเลี้ยง
โดยชาติหรือโดยวินัย, ท่านมหาพราหมณ์ เออก็ใน
ที่นั้น มีข้าวตังและรำมาก, ส่วนท่านแล ย่อมรู้จัก
ข้าพเจ้าดีว่า ม้าเช่นใดนี้เป็นม้าสูงสุด ข้าพเจ้ารู้อยู่
อาศัยท่านผู้รู้ จึงไม่กินรำของท่าน."
ดังนี้แล.
เรื่องนางปุณณทาสี จบ.
๑. ขุ. ชา. ๒๗/๑๐๐. อรรถกถา. ๔/๒๓.