พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. เรื่องพระติสสเถระ [๑๘๔]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34983
อ่าน  565

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 16

๓. เรื่องพระติสสเถระ [๑๘๔]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 16

๓. เรื่องพระติสสเถระ [๑๘๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อยสาว มลํ สมุฏฺิตํ" เป็นต้น.

พระติสสะมอบผ้าสาฎกเนื้อหยาบให้พี่สาว

ดังได้สดับมา กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ปรากฏชื่อว่า "พระติสสเถระ."

ในกาลต่อมา พระติสสเถระนั้นเข้าจำพรรษา ณ วิหารในชนบท, ได้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบประมาณ ๘ ศอก จำพรรษา ปวารณาแล้ว ถือผ้า นั้นไปวางไว้ใกล้มือพี่สาว. พี่สาวนั้นดำริว่า "ผ้าสาฎกผืนนี้ไม่สมควรแก่น้องชายเรา" แล้วตัดผ้านั้นด้วยมีดอันคม ทำให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ โขลกในครก แล้วสาง ดีด กรอ ปั่น ให้เป็นด้ายละเอียด ให้ทอเป็นผ้าสาฎกแล้ว.

พระเถระเตรียมจะตัดจีวร

ฝ่ายพระเถระ ก็จัดแจงด้ายและเข็ม, นิมนต์ภิกษุหนุ่มและสามเณร ผู้ทำจีวรให้ประชุมกันแล้ว ไปยังสำนักพี่สาว พูดว่า "พี่จงให้ผ้าสาฎก ผืนนั้นแก่ฉัน ฉันจักให้ทำจีวร."

พี่สาวนั้น นำผ้าสาฎกประมาณ ๙ ศอกออกมาวางไว้ใกล้มือของพระผู้น้องชาย. ท่านรับผ้าสาฎกนั้นมาพิจารณาแล้ว พูดว่า "ผ้าสาฎก ของฉันเนื้อหยาบ ประมาณ ๘ ศอก, ผืนนี้เนื้อละเอียด ประมาณ ๙ ศอก,

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 17

ผ้ามิใช่ผ้าสาฎกของฉัน, นี่เป็นผ้าสาฎกของพี่, ฉันไม่ต้องการผ้าผืนนี้, พี่จงให้ผ้าสาฎกผืนนั้นแหละแก่ฉัน." พี่สาวตอบว่า "ท่านผู้เจริญ นี่เป็นผ้าของท่านทีเดียว ขอท่านจงรับผ้านั้นเถิด." ท่านไม่ปรารถนาเลย.

ลำดับนั้น พี่สาวจึงบอกกิจที่ตนทำทุกอย่างแก่พระเถระนั้นแล้ว ได้ถวายว่า "ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นผ้าของท่านทีเดียว, ขอท่านจงรับผ้า นั้นเถิด." ท่านถือผ้านั้นไปวิหาร เริ่มจีวรกรรม.

พระเถระห่วงใยในจีวร ตายแล้วเกิดเป็นเล็น

ลำดับนั้น พี่สาวของท่านจัดแจงวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรผู้ทำจีวรของพระติสสะนั้น. ก็ในวันที่จีวรเสร็จ พี่สาวให้ทำสักการะมากมาย. ท่านแลดูจีวรแล้ว เกิดความเยื่อใยในจีวรนั้น คิดว่า "ในวันพรุ่งนี้ เราจักห่มจีวรนั้น" แล้วพับพาดไว้ที่สายระเดียง , ในราตรีนั้น ไม่สามารถให้อาหารที่ฉันแล้วย่อยไปได้ มรณภาพแล้ว เกิดเป็นเล็นที่จีวรนั้นนั่นเอง.

พระศาสดารับสั่งไม่ให้แจกจีวร

ฝ่ายพี่สาว สดับการมรณภาพของท่านแล้ว ร้องไห้กลิ้งเกลือกใกล้เท้าของพวกภิกษุ. พวกภิกษุทำสรีรกิจ (เผาศพ) ของท่านแล้วพูดกันว่า "จีวรนั้นถึงแก่สงฆ์ทีเดียว เพราะไม่มีคิลานุปัฏฐาก พวกเราจักแบ่งจีวรนั้น" แล้วให้นำจีวรนั้นออกมา. เล็นวิ่งร้องไปข้างโน้นและข้างนี้ว่า "ภิกษุพวกนี้แย่งจีวรอันเป็นของเรา."

พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงสดับเสียงนั้นด้วย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 18

โสตธาตุเพียงดังทิพย์ ตรัสว่า "อานนท์ เธอจงบอก อย่าให้พวกภิกษุแบ่งจีวรของติสสะ แล้วเก็บไว้ ๗ วัน." พระเถระให้ทำอย่างนั้นแล้ว.

พระศาสดารับสั่งให้แจกจีวรของพระติสสเถระ

แม้เล็นนั้น ทำกาละในวันที่ ๗ เกิดในวิมานชั้นดุสิตแล้ว ในวันที่ ๘ พระศาสดารับสั่งว่า "ภิกษุทั้งหลาย จงแบ่งจีวรของติสสะแล้วถือเอา." พวกภิกษุทำอย่างนั้นแล้ว.

พวกภิกษุสนทนากันในธรรมสภาว่า "เหตุไรหนอแล พระศาสดา จึงให้เก็บจีวรของพระติสสะไว้สิ้น ๗ วัน แล้วทรงอนุญาตเพื่อถือเอาในวันที่ ๘."

ตัณหาทำให้สัตว์ถึงความพินาศ

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก เธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล ว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้" ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ติสสะเกิดเป็นเล็นที่จีวรของตน เมื่อพวกเธอจะแบ่งจีวรนั้น วิ่งร้องไปข้างโน้นและข้างนี้ว่า "ภิกษุพวกนี้แย่งจีวรอันเป็นของเรา" เมื่อพวกเธอถือเอาจีวรอยู่. เขาขัดใจในพวกเธอแล้วพึงเกิดในนรก, เพราะเหตุนั้น เราจึงให้เก็บจีวรไว้. ก็บัดนี้เขาเกิดในวิมานชั้นดุสิตแล้ว. เพราะเหตุนั้น เราจึงอนุญาตการถือเอาจีวรแก่พวกเธอ," เมื่อภิกษุพวกนั้นกราบทูลอีกว่า "พระเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่าตัณหานี้หยาบหนอ" จึงตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า ตัณหาของสัตว์เหล่านี้หยาบ. สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ย่อมให้เหล็กพินาศไป ทำให้เป็นของใช้สอยไม่ได้ ฉันใด. ตัณหานี้ (ก็)

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 19

ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นภายในของสัตว์เหล่านี้แล้ว ย่อมให้สัตว์เหล่านั้นเกิดในอบาย มีนรกเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๓. อยสา ว มลํ สมุฏฺิตํ ตทุฏฺาย ตเมว ขาทติ เอวํ อติโธนจารินํ สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติํ.

"สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด กรรมทั้งหลายของตน ย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อว่าโธนา ไป สู่ทุคติ ฉันนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยสา คือแต่เหล็ก.

บทว่า สมุฏฺิตํ คือตั้งขึ้นแล้ว.

บทว่า ตทุฏฺาย คือครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กนั้น.

ในบทว่า อติโธนจารินํ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังนี้.

ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาปัจจัย ๔ ว่า "การบริโภคนี้ เป็นประโยชน์ด้วยปัจจัยเหล่านี้" แล้วบริโภค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โธนา บุคคลประพฤติก้าวล่วงปัญญาชื่อว่าโธนานั่น ชื่อว่า อติโธนจารี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า "สนิมเกิดขึ้นแต่เหล็ก ตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด กรรมทั้งหลายของตน คือกรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นของตนนั่นแหละ เพราะตั้งขึ้นในตน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 20

ย่อมนำบุคคลผู้ไม่พิจารณาปัจจัย ๔ แล้วบริโภค ชื่อว่าผู้ประพฤติก้าวล่วงปัญญาชื่อว่าโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้นเหมือนกัน".

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระ จบ.