พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. เรื่องอุบาสก ๕ คน [๑๘๘]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34987
อ่าน  489

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 35

๗. เรื่องอุบาสก ๕ คน [๑๘๘]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 35

๗. เรื่องอุบาสก ๕ คน [๑๘๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ๕ คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย ปาณมติมาเปติ" เป็นต้น.

อุบาสกเถียงกันในเรื่องศีล

ความพิสดารว่า บรรดาอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกคนหนึ่งย่อมรักษาสิกขาบท คือเจตนาเครื่องงดเว้นจากการยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปอย่างเดียว. (ส่วน) อุบาสกทั้งหลายนอกนี้ ย่อมรักษาสิกขาบททั้งหลายนอกนี้. วันหนึ่ง อุบาสกเหล่านั้นเกิดทุ่มเถียงกันว่า "เราย่อมทำกรรมที่ทำได้โดยยาก. เราย่อมรักษาสิ่งที่รักษาได้โดยยาก" ไปสู่สำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลความนั้น.

พระศาสดาทรงตัดสิน

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของอุบาสกเหล่านั้นแล้ว มิได้ทรงกระทำศีลแม้ข้อหนึ่งให้ต่ำต้อย ตรัสว่า "มีศีลทั้งหมดเป็นของรักษาไว้โดยยากทั้งนั้น" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๗. โย ปาณมติมาเปติ มุสาวาทญฺจ ภาสติ โลเก อทินฺนํ อาทิยติ ปรทารญฺจ คจฺฉติ สุราเมรยปานญฺจ โย นโร อนุยุญฺชติ อิเธวเมโส โลกสฺมิํ มูลํ ขนติ อตฺตโน. เอวํ โภ ปุริส ชานาหิ ปาปธมฺมา อสญฺตา มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 36

"นระ ใด ย่อมยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑, กล่าวมุสาวาท ๑, ถือเอาทรัพย์ที่บุคคลอื่นที่ไม่ให้ในโลก ๑, ถึงภริยาของผู้อื่น ๑, อนึ่ง นระใดย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มสุราและเมรัย นระนี้ (ชื่อว่า) ย่อมขุดซึ่งรากเหง้าของตนในโลกนี้ทีเดียว. บุรุษผู้เจริญ ท่านจงทราบอย่างนี้ว่า "บุคคลผู้มีบาปธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว" ความโลภ และสภาพมิใช่ธรรม จงอย่ารบกวนท่าน เพื่อความทุกข์ ตลอดกาลนานเลย."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า โย ปาณมติมาเปติ ความว่า บรรดาประโยคทั้งหก มีสาหัตถิกประโยค (๑) เป็นต้น นระใดย่อมเข้าไปตัดอินทรีย์คือชีวิตของผู้อื่น แม้ด้วยประโยคอันหนึ่ง.

บทว่า มุสาวาทํ ความว่า และย่อมกล่าวมุสาวาท อันหักเสียซึ่งประโยชน์ของชนเหล่าอื่น.

บาทพระคาถาว่า โลเก อทินฺนํ อาทิยติ ความว่า ย่อมถือเอาทรัพย์ อันบุคคลอื่นหวงแหนแล้ว ด้วยบรรดาอวหาร (การนำเอาไป) ทั้งหลาย มีไถยาวหาร (การนำเอาไปโดยขโมย) เป็นต้น อวหารแม้อันหนึ่งใน สัตวโลกนี้.

บาทพระคาถาว่า ปรทารญฺจ คจฺฉติ ความว่า นระเมื่อผิดใน


(๑) ประโยคแห่งการฆ่ามี ๖ คือ สาหัตถิกประโยค ๑ นิคสัคคิยประโจค ๑ อาณัตติประโยค ๑ ถาวรประโยค ๑ วิชชามยประโยค ๑ อิทธิมยประโยค ๑ สาหัตถิกประโยคนั้น ได้แก่การทำ ด้วยมือตนเอง. สมันตปาสาทิกา ๑/๕๒๖.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 37

ภัณฑะทั้งหลาย ที่บุคคลอื่นรักษาและคุ้มครองแล้ว ชื่อว่าย่อมประพฤตินอกทาง.

บทว่า สุราเมรยปานํ ได้แก่ การดื่มซึ่งสุราและเมรัยอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเทียว.

บทว่า อนุยุญฺชติ คือ ย่อมเสพ ได้แก่ ย่อมกระทำให้มาก.

สองบทว่า มูลํ ขนติ ความว่า ปรโลกจงยกไว้. ก็ในโลกนี้นั่นแล นระนี้จำนองหรือขายขาด แม้ซึ่งทรัพย์อันเป็นต้นทุน มีนาและสวนเป็นต้น อันเป็นเครื่องที่จะพึงดำรง (ตน) อยู่ได้ ดื่มสุราอยู่ ชื่อว่าย่อมขุดซึ่งรากเหง้าของตน คือเป็นคนหาที่พึ่งมิได้. เป็นคนกำพร้าเที่ยวไป.

พระศาสดา ย่อมตรัสเรียกบุคคลผู้ทำกรรมคือทุศีล ๕ ด้วยคำว่า เอวํ โภ.

บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ผู้มีธรรมลามก.

บทว่า อสญฺตา ได้แก่ ผู้เว้นแล้วจากการสำรวม มีการสำรวมทางกายเป็นต้น. พระบาลีว่า อเจตสา ดังนี้บ้าง. ความว่า ผู้ไม่มีจิต.

สองบทว่า โลโภ อธมฺโม จ ได้แก่ โลภะและโทสะ. แท้จริง กิเลสชาติแม้ทั้งสองนี้ เป็นอกุศลโดยแท้.

บาทพระคาถาว่า จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ ความว่า ธรรมเหล่านี้ จงอย่าฆ่า อย่าย่ำยี (ซึ่งท่าน) เพื่อประโยชน์แก่ทุกข์ทั้งหลาย มีทุกข์ในนรกเป็นต้น ตลอดกาลนาน.

ในกาลจบเทศนา อุบาสก ๕ คนนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์ แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องอุบาสก ๕ คน จบ.