พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ [๑๘๙]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34988
อ่าน  496

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 38

๘. เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ [๑๘๙]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 38

๘. เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ [๑๘๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม ชื่อติสสะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ททาติ เว ยถาสทฺธํ" เป็นต้น.

พระติสสะนินทาชนอื่นแต่ชมเชยญาติของตน

ได้ยินว่า พระติสสะนั้นเที่ยวติเตียนทานของพระอริยสาวก แม้ ๕ โกฏิ คือ อนาถบิณฑิกคฤหบดี นางวิสาขาอุบาสิกา (เป็นต้น). แม้ถึง อสทิสทาน (๑) ก็ติเตียนเหมือนกัน ได้ของเย็นในโรงทานของอริยสาวกเหล่านั้น ย่อมติเตียนว่า "เย็น" ได้ของร้อน ย่อมติเตียนว่า "ร้อน" แม้เขาให้น้อย ย่อมติเตียนว่า "เพราะเหตุไร ชนเหล่านี้จึงให้ของเพียงเล็กน้อย" แม้เขาให้มาก ย่อมติเตียนว่า "ในเรือนของชนเหล่านี้ เห็นจะไม่มีที่เก็บ, ธรรมดาบุคคลควรให้วัตถุพอยังอัตภาพให้เป็นไปแก่ภิกษุ ทั้งหลายมิใช่หรือ ยาคูและภัตเท่านี้ย่อมวิบัติไปไม่มีประโยชน์เลย," แต่กล่าวปรารภพวกญาติของตนเป็นต้นว่า "น่าชมเชยเรือนของพวกญาติของเรา เป็นโรงเลี้ยงของภิกษุทั้งหลาย ผู้มาแล้วจากทิศทั้งสี่" ดังนี้แล้ว ย่อมยังคำสรรเสริญให้เป็นไป.

พวกภิกษุสอบสวนฐานะของพระติสสะ

ก็พระติสสะนั้น เป็นบุตรของผู้รักษาประตูคนหนึ่ง เที่ยวไปกับพวกช่างไม้ผู้เที่ยวไปยังชนบท ถึงพระนครสาวัตถี บวชแล้ว.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเห็นเธอผู้ (เที่ยว) ติเตียนทานของมนุษย์


(๑) หาทานเสมอเหมือนมิได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 39

ทั้งหลายอยู่อย่างนั้น คิดกันว่า "พวกเราจักสอบสวนภิกษุนั้น" จึงถาม ว่า "ผู้มีอายุ พวกญาติของท่านอยู่ที่ไหน" ได้ฟังว่า "อยู่ในบ้านชื่อ โน้น" จึงส่งภิกษุหนุ่มไป ๒ - ๓ รูป.

ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นไปในบ้านนั้นแล้ว อันชนชาวบ้านนิมนต์ให้นั่งที่โรงฉันแล้วกระทำสักการะ จึงถามว่า "เด็กหนุ่มชื่อติสสะออกจากบ้านนี้ไปบวชแล้ว มีอยู่หรือ ชนเหล่าไหนเป็นญาติของติสสะนั้น." มนุษย์ทั้งหลาย (ต่าง) คิดว่า "ในบ้านนี้ เด็กผู้ออกจากเรือนแห่งตระกูลไป บวชแล้ว ไม่มี. ภิกษุเหล่านี้ พูดถึงใครหนอ" แล้วเรียนว่า "ท่านขอรับ กระผมทั้งหลายได้ยินว่า บุตรของผู้รักษาประตูคนหนึ่ง เที่ยวไปกับพวกช่างไม้ บวชแล้ว. ท่านทั้งหลายเห็นจะกล่าวหมายเอาผู้นั้นกระมัง"

จับโกหกได้

ภิกษุหนุ่มทั้งหลายทราบว่า พวกญาติผู้ใหญ่ของติสสภิกษุหนุ่มนั้น ไม่มีในบ้านนั้นแล้ว (จึงพากัน) กลับไปสู่พระนครสาวัตถี แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "ท่านผู้เจริญ พระติสสะย่อมเที่ยวพูดเพ้อถึงสิ่งอันหาเหตุมิได้เลย." แม้ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูล (เรื่องนั้น) แด่พระตถาคต.

บุรพกรรมของพระติสสะ

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าติสสะนั้นย่อมเที่ยวโอ้อวด ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้. แม้ในกาลก่อน เธอก็ได้เป็นผู้โอ้อวดแล้ว," อันภิกษุทั้งหลายทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว ทรงยังกฏาหกชาดก (๑) นี้ให้พิสดารว่า


(๑) ขุ. ชา. ๒๗/๔๐. อรรถกถา. ๒/๓๒๖.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 40

"นายกฏาหกนั้น ไปสู่ชนบทอื่น จึงพูดอวดซึ่งทรัพย์แม้มาก, นายมาตามแล้ว พึงประทุษร้าย, กฏาหก ท่านจงบริโภคโภคะทั้งหลายเถิด."

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลใดเมื่อชนเหล่าอื่นให้ซึ่งวัตถุน้อยก็ตาม มากก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม ประณีตก็ตาม หรือให้วัตถุแก่ชนเหล่าอื่น (แต่) ไม่ให้แก่ตน ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน. ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๘. ททาติ เว ยถาสทฺธํ ยถาปสาทนํ ชโน ตตฺถ โย มงฺกุโต โหติ ปเรสํ ปานโภชเน น โส ทิวา วา รตฺติํ วา สมาธิํ อธิคจฺฉติ. ยสฺสเจตํ สมุจฺฉินฺนํ มูลฆจฺจํ สมูหตํ ส เว ทิวา วา รตฺติํ วา สมาธิํ อธิคจฺฉติ.

"ชนย่อมให้ (ทาน) ตามศรัทธา ตามความเลื่อมใสแล, ชนใด ย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำและข้าวของชนเหล่าอื่นนั้น, ชนนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิในกลางวันหรือในกลางคืน. ก็อกุศลธรรมอันบุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้นทำให้มีรากขาดแล้ว, บุคคลนั้นแล ย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือในกลางคืน."

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 41

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ททาติ เว ยถาสทฺธํ ความว่า ชนเมื่อให้บรรดาวัตถุมีของเศร้าหมอง และประณีตเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมให้ตามศรัทธา คือ ตามสมควรแก่ศรัทธาของตนนั่นแล.

บทว่า ยถาปสาทนํ ความว่า ก็บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระ และภิกษุใหม่เป็นต้น ความเลื่อมใสในภิกษุใดๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น, เมื่อ ถวาย (ทาน) แก่ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมถวายตามความเลื่อมใส คือตามสมควรแก่ความเลื่อมใสของตนนั่นแล.

บทว่า ตตฺถ เป็นต้น ความว่า ย่อมถึงความเป็นผู้เก้อเขินในเพราะทานของชนอื่นนั้นว่า "เราได้วัตถุเล็กน้อย, เราได้ของเศร้าหมอง."

บทว่า สมาธิํ เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิด้วยสามารถแห่งอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ หรือด้วยสามารถแห่งมรรคและผล ในกลางวันหรือในกลางคืน.

สองบทว่า ยสฺส เจตํ ความว่า อกุศลกรรมนั่น กล่าวคือความเป็นผู้เก้อเขินในฐานะเหล่านี้ อันบุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้น ทำให้มีรากขาดแล้ว ด้วยอรหัตตมรรคญาณ. บุคคลนั้นย่อมบรรลุสมาธิ มีประการดังกล่าวแล้ว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ จบ.