พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. เรื่องเมณฑกเศรษฐี [๑๙๑]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34990
อ่าน  596

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 47

๑๐. เรื่องเมณฑกเศรษฐี [๑๙๑]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 47

๑๐. เรื่องเมณฑกเศรษฐี [๑๙๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยภัททิยนครประทับอยู่ในชาติยาวัน (๑) ทรงปรารภเมณฑกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุทสฺสํ วชฺชมญฺเสํ" เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไปภัททิยนคร

ได้ยินว่า พระศาสดาเมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในอังคุตตราปถชนบททั้งหลาย ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของคนเหล่านี้ คือเมณฑกเศรษฐี ๑, ภรรยาของเศรษฐีนั้น ชื่อว่านางจันทปทุมา ๑, บุตรชื่อธนัญชัยเศรษฐี ๑, หญิงสะใภ้ชื่อนางสุมนเทวี (๒) ๑, หลานสาวชื่อวิสาขา ๑, ทาสชื่อปุณณะ ๑, จึงเสด็จไปสู่ภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติยาวัน. เมณฑกเศรษฐีได้สดับการเสด็จมาของพระศาสดาแล้ว.

เหตุที่ได้นามว่าเมณฑกเศรษฐี

ถามว่า "ก็เพราะเหตุไร เศรษฐีนั่นจึงชื่อว่า เมณฑกเศรษฐี" แก้ว่า ได้ยินว่า แพะทองคำทั้งหลายประมาณเท่าช้าง ม้าและโคอุสภะ ชำแรกแผ่นดินเอาหลังดุนหลังกันผุดขึ้นในที่ประมาณ ๘ กรีส ที่ข้างหลังเรือนของเศรษฐีนั้น. บุญกรรมใส่กลุ่มด้าย ๕ สีไว้ในปากของแพะเหล่านั้น. เมื่อมีความต้องการด้วยเภสัชมีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น หรือด้วยวัตถุมีผ้าเครื่องปกปิด เงินและทองเป็นต้น ชนทั้งหลายย่อมนำกลุ่มด้ายออกจากปากของแพะเหล่านั้น. เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย


(๑) ป่าไม้มะลิ

(๒) ที่อื่นๆ ว่า สุมนาเทวี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 48

ผ้าเครื่องปกปิด เงินและทอง ย่อมไหลออกจากปากแพะแม้ตัวหนึ่ง ก็เป็น ของเพียงพอแก่ชาวชมพูทวีป. จำเดิมแต่นั้นมา เศรษฐีนั้นจึงปรากฏว่า เมณฑกเศรษฐี.

บุรพกรรมของท่านเศรษฐี

ถามว่า ก็บุรพกรรมของเศรษฐีนั้นเป็นอย่างไร แก้ว่า ได้ยินว่าในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี เศรษฐีนั้นเป็นหลานของกุฎุมพีชื่ออวโรชะ ได้มีชื่อว่า อวโรชะ ซึ่งมีชื่อพ้องกับลุง. ครั้งนั้น ลุงของเขาปรารภเพื่อจะสร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระศาสดา. เขาไปสู่สำนักของลุงแล้ว กล่าวว่า "ลุง แม้เราทั้งสองจงสร้างรวมกันทีเดียว" ในเวลาที่ถูกลุงนั้นห้ามว่า "เราคนเดียวเท่านั้นจักสร้าง ไม่ให้สาธารณะกับด้วยชนเหล่าอื่น" จึงคิดว่า "เมื่อลุงสร้างคันธกุฎีในที่นี้แล้ว, เราควรได้ศาลารายในที่นี้" จึงให้คนนำเครื่องไม้มาจากป่า ให้ทำเสาอย่างนั้น คือ "เสาต้นหนึ่งบุด้วยทองคำ, ต้นหนึ่งบุด้วยเงิน, ต้นหนึ่งบุด้วยแก้วมณี" ให้ทำขื่อ พรึง บานประตู บานหน้าต่าง กลอน เครื่องมุงแลอิฐแม้ทั้งหมด บุด้วยวัตถุมีทองคำเป็นต้นเทียว ให้ทำศาลารายสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการแด่พระตถาคตในที่ตรงหน้าพระคันธกุฎี ในเบื้องบนแห่งศาลารายนั้น ได้มีจอมยอด ๓ ยอด อันสำเร็จแล้วด้วยทองคำอันสุกเป็นแท่งแก้วผลึก และแก้วประพาฬ. ให้สร้างมณฑปประดับด้วยแก้วในที่ท่ามกลางแห่งศาลาราย, ให้ตั้งธรรมาสน์ไว้. เท้าธรรมาสน์นั้นได้สำเร็จด้วยทองคำสีสุกเป็นแท่ง แม่แคร่ ๔ อันก็เหมือนกัน, แต่ให้กระทำแพะทองคำ ๔ ตัว ตั้งไว้ในภายใต้แห่งเท้าทั้ง ๔ แห่งอาสนะ, ให้กระทำแพะทองคำ ๒ ตัว ตั้งไว้ภายใต้ตั่งสำหรับรองเท้า, ให้กระทำแพะทองคำ ๖ ตัว ตั้งแวดล้อมมณฑป ให้ถักธรรมาสน์ด้วยเชือกเส้นเล็กสำเร็จด้วยด้ายก่อนแล้ว จึงให้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 49

ถักด้วยเชือกอันสำเร็จด้วยทองคำในท่ามกลาง แล้วให้ถักด้วยเชือกสำเร็จด้วยแก้วมุกดาในเบื้องบน. พนักแห่งธรรมาสน์นั้น ได้สำเร็จด้วยไม้จันทน์. ครั้นให้ศาลารายสำเร็จอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะกระทำการฉลองศาลา จึงนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสน ได้ถวายทานตลอด ๔ เดือน. ในวันสุดท้ายได้ถวายไตรจีวร. บรรดาภิกษุเหล่านั้น จีวรมีค่าพันหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์แล้ว.

เขาทำบุญกรรม ในกาลแห่งพระวิปัสสีพุทธเจ้าอย่างนั้นแล้ว เคลื่อนจากอัตภาพนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและในมนุษย์ทั้งหลาย ในภัทรกัปนี้ เกิดในสกุลเศรษฐีมีโภคะมากในกรุงพาราณสี ได้มีนามว่า พาราณสีเศรษฐี.

เศรษฐีประสบฉาตกภัย

วันหนึ่ง เศรษฐีไปสู่ที่บำรุงพระราชา พบปุโรหิต จึงกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ ท่านตรวจดูฤกษ์ยามหรือ"

ปุโรหิต. ขอรับ ผมตรวจดู, เราทั้งหลายจะมีการงานอะไรอื่น

เศรษฐี. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นไปในชนบทจักเป็นเช่นไร

ปุโรหิต. ภัยอย่างหนึ่ง จักมี.

เศรษฐี. ชื่อว่าภัยอะไร

ปุโรหิต. ฉาตกภัย (๑) ท่านเศรษฐี.

เศรษฐี. จักมี เมื่อไร

ปุโรหิต. จักมี โดยล่วงไป ๓ ปี แต่ปีนี้.

เศรษฐี ฟังคำนั้นแล้วให้บุคคลทำกสิกรรมเป็นอันมาก รับ (ซื้อ)


(๑) ภัยคือความอดอยากหรือความหิว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 50

จำเพาะข้าวเปลือกแม้ด้วยทรัพย์ที่มีอยู่ในเรือน ให้กระทำฉาง ๑,๒๕๐ ฉาง บรรจุฉางทั้งหมดให้เต็มด้วยข้าวเปลือก. เมื่อฉางไม่พอ ก็บรรจุภาชนะมีตุ่มเป็นต้นให้เต็มแล้ว ขุดหลุมฝังข้าวเปลือกที่เหลือในแผ่นดิน. ให้ขยำข้าวเปลือกที่เหลือจากที่ฝังไว้กับด้วยดิน ฉาบทาฝาทั้งหลาย.

โดยสมัยอื่นอีก เศรษฐีนั้น เมื่อภัยคือความอดอยากถึงเข้าแล้วก็ บริโภคข้าวเปลือกตามที่เก็บไว้, เมื่อข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในฉางและในภาชนะมีตุ่มเป็นต้นหมดแล้ว, จึงให้เรียกชนผู้เป็นบริวารมาแล้ว กล่าวว่า "พ่อทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไป จงเข้าไปสู่ภูเขาแล้วเป็นอยู่ ประสงค์จะมาสู่สำนักของเรา ก็จงมาในเวลาที่มีภิกษาอันหาได้ง่าย, ถ้าไม่อยากจะมา, ก็จงเป็นอยู่ในที่นั้นเถิด." ชนเหล่านั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ส่วนทาสผู้ทำการรับใช้ (๑) คนหนึ่ง ชื่อว่าปุณณะ เหลืออยู่ในสำนักของ เศรษฐีนั้น. รวมเป็นคน ๕ คนเท่านั้นคือ เศรษฐี ภรรยาของเศรษฐี บุตรของเศรษฐี บุตรสะใภ้ของเศรษฐีกับนายปุณณะนั้น (ที่ยังคงเหลืออยู่). ชนเหล่านั้น แม้เมื่อข้าวเปลือกที่ฝังไว้ในหลุมในแผ่นดินหมดสิ้นแล้ว. พังดินที่ฉาบไว้ที่ฝาแล้วแช่น้ำ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเปลือก ที่ได้แล้วจากฝานั้น.

ครั้งนั้น ภรรยาของเศรษฐีนั้น เมื่อความหิวครอบงำอยู่ เมื่อดินสิ้นไปอยู่ พังดินที่เหลืออยู่ในส่วนแห่งฝาทั้งหลายลงแล้ว แช่น้ำ ได้ข้าวเปลือกประมาณกึ่งอาฬหกะ (๒) ตำแล้ว ถือเอาข้าวสารประมาณทะนานหนึ่งใส่ไว้ในหม้อใบหนึ่ง เพราะความกลัวแต่โจรว่า "ในเวลาเกิดฉาตกภัย


(๑) เวยฺยาวจฺจกโร โดยพยัญชนะแปลว่า ผู้กระทำซึ่งกรรมแห่งบุคคลผู้ขวนขวาย.

(๒) อาฬหกะ หนึ่งคือ ๔ ทะนาน กึ่งอาฬหกะ=๒ ทะนาน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 51

พวกโจรมีมาก" ปิดแล้วฝังตั้งไว้ในแผ่นดิน. ลำดับนั้น เศรษฐีมาจากที่บำรุงแห่งพระราชาแล้ว กล่าวกะนางว่า "นางผู้เจริญ ฉันหิว, อะไรๆ มีไหม" นางนั้น ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่มีอยู่ว่า "ไม่มี" กล่าวว่า "นาย ข้าวสารมีอยู่ทะนานหนึ่ง."

เศรษฐี. ข้าวสารทะนานหนึ่งนั้น อยู่ที่ไหน

ภรรยา. ฉันฝังตั้งไว้ เพราะกลัวแต่โจร.

เศรษฐี. ถ้ากระนั้น หล่อนจงขุดมันขึ้นมาแล้ว หุงต้มอะไรๆ เถิด.

ภรรยา. ถ้าเราจักต้มข้าวต้ม, ก็จักเพียงพอกัน ๒ มื้อ. ถ้าเราจักหุงข้าวสวย, ก็จักเพียงพอเพียงมื้อเดียวเท่านั้น. ฉันจักหุงต้มอะไรล่ะ นาย.

เศรษฐี. ปัจจัยอย่างอื่นของพวกเราไม่มี, พวกเราต่อบริโภคข้าวสวยแล้วก็จักตาย หล่อนจงหุงข้าวสวยนั่นแหละ.

ภรรยาแห่งเศรษฐีนั้น หุงข้าวสวยแล้ว แบ่งให้เป็น ๕ ส่วน คดข้าวสวยส่วนหนึ่งวางไว้ข้างหน้าของเศรษฐี.

เศรษฐีถวายภัตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ในขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัติ. ทราบว่า ในภายในสมาบัติ ความหิวย่อมไม่เบียดเบียนเพราะผลแห่งสมาบัติ, แต่ว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายออกจากสมาบัติแล้ว ความหิวมีกำลังย่อมเกิดขึ้น เป็นราวกะว่าเผาพื้นท้องอยู่ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ตรวจดูฐานะที่จะได้ (อาหาร) แล้ว จึงไป.

ก็ในวันนั้น ชนทั้งหลาย ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ย่อมได้สมบัติ บรรดาสมบัติมีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นอย่างใดอย่าง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 52

หนึ่ง เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้นั้น ตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุ ดำริว่า ฉาตกภัย เกิดขึ้นแล้วในชมพูทวีปทั้งสิ้น, และในเรือนเศรษฐี เขาหุงข้าวสุก (๑) อันสำเร็จด้วยข้าวสารทะนานหนึ่งเท่านั้นเพื่อคน ๕ คน ชนเหล่านั้นจักมีศรัทธา หรืออาจเพื่อจะทำการสงเคราะห์แก่เราหรือหนอ แล" เห็นความที่ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา ทั้งสามารถเพื่อจะทำการสงเคราะห์ จึงถือเอาบาตรจีวรไปแสดงตนยืนอยู่ที่ประตู (เรือน) ข้างหน้าของเศรษฐี. เศรษฐีนั้น พอเห็นท่านเข้าก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า "เราประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ เพราะความที่เราไม่ให้ทานแม้ในกาลก่อน. ก็แลภัตนี้พึงรักษาเราไว้สิ้นวันเดียวเท่านั้น, ส่วนภัตที่เราถวายแล้วแก่พระผู้เป็นเจ้า จักนำประโยชน์เกื้อกูลมาแก่เราหลายโกฏิกัปป์" แล้วนำถาดแห่งภัตนั้นออกมา เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน เมื่อท่านนั่งบนอาสนะแล้วจึงล้างเท้า (ของท่าน) วาง (ถาดภัต) ไว้บนตั่งทอง แล้วถือเอาถาดภัตนั้น มาตักลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า. เมื่อภัตเหลือกึ่งหนึ่ง, พระปัจเจกพุทธเจ้า เอามือปิดบาตรเสีย.

ทีนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งข้าวสุกที่เขาหุงไว้เพื่อคน ๕ คน ด้วยข้าวสารทะนานหนึ่ง, กระผมไม่อาจเพื่อจะแบ่งภัตนี้ให้เป็น ๒ ส่วน, ขอท่านจงอย่ากระทำการสงเคราะห์แก่กระผมในโลกนี้เลย, กระผมใคร่เพื่อจะถวายไม่ให้มีส่วนเหลือ" แล้วได้ถวายภัตทั้งหมด. ก็แลครั้นถวายแล้ว ได้ตั้งความปรารถนาว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอย่าได้ประสบ


(๑) แปลหักประโยคกรรมเป็นประโยคกัตตุ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 53

ฉาตกภัยเห็นปานนี้ ในที่ข้าพเจ้าเกิดอีกเลย, ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้าพึงสามารถเพื่อจะให้ภัตอันเป็นพืชแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น, ไม่พึงทำการงานเลี้ยงชีพด้วยมือของตนเอง, ในขณะที่ข้าพเจ้าใช้ให้คนชำระฉาง ๑,๒๕๐ ฉางแล้ว สนานศีรษะนั่งอยู่ที่ประตูแห่งฉางเหล่านั้นแล้ว แลดูในเบื้องบนเท่านั้น ธารแห่งข้าวสาลีแดง พึงตกลงมายังฉางทั้งหมดให้เต็มเพื่อข้าพเจ้า, และผู้นี้นั่นแหละจงเป็นภรรยา, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นบุตร, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นหญิงสะใภ้, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นทาสของข้าพเจ้า ในสถานที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วๆ "

ทั้ง ๕ คนปรารถนาให้ได้อยู่ร่วมกัน

ฝ่ายภรรยาของเศรษฐีนั้น ก็คิดว่า "เมื่อสามีของเราถูกความหิวเบียดเบียนอยู่ เราก็ไม่อาจเพื่อจะบริโภคได้" จึงถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วตั้งความปรารถนาว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้ ดิฉันไม่พึงประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ ในสถานที่ดิฉันเกิดแล้ว, อนึ่ง แม้เมื่อดิฉันวางถาดภัตไว้ข้างหน้า ให้อยู่ซึ่งภัตแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น, ดิฉันยังไม่ลุกขึ้นเพียงใด, ที่แห่งภัตที่ดิฉันตักแล้วๆ จงเป็นของบริบูรณ์อยู่อย่างเดิมเพียงนั้น, ท่านผู้นี้แหละจงเป็นสามี, ผู้นี้แหละจงเป็นบุตร, ผู้นี้แหละจงเป็นหญิงสะใภ้, ผู้นี้แหละจงเป็นทาส (ของดิฉัน) " แม้บุตรของเศรษฐีนั้น ก็ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า "จำเดิมแต่นี้ไป ข้าพเจ้าไม่พึงประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้, อนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าถือเอาถุงกหาปณะหนึ่งพัน แม้ให้กหาปณะ แก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นอยู่ ถุงนี้จงเต็มอยู่อย่างเดิม, ท่านทั้งสองนี้นั่นแหละจงเป็นมารดาบิดา, หญิงคนนี้จงเป็นภรรยา, ผู้นี้จงเป็นทาส ของข้าพเจ้า."

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 54

แม้ลูกสะใภ้ของเศรษฐีนั้น ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็ตั้งความปรารถนาว่า "จำเดิมแต่นี้ไป ดิฉันไม่พึงพบเห็นฉาตกภัยเห็นปานนี้, อนึ่ง เมื่อดิฉันตั้งกระบุงข้าวเปลือกกระบุงหนึ่งไว้ข้างหน้า แม้ให้อยู่ซึ่งภัตอันเป็นพืชแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ความหมดสิ้นไปอย่าปรากฏ. ท่านทั้งสองนี้นั่นแหละจงเป็นแม่ผัวและพ่อผัว, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นสามี. ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นทาส (ของดิฉัน)." แม้ทาสของเศรษฐีนั้น ก็ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็ตั้งความปรารถนาว่า "จำเดิมแต่นี้ไป ข้าพเจ้าไม่พึงพบเห็นฉาตกภัยเห็นปานนี้, คนเหล่านี้ทั้งหมดจงเป็นนาย, และเมื่อข้าพเจ้าไถนาอยู่, รอย ๗ รอยประมาณเท่าเรือโกลน คือ ข้างนี้ ๓ รอย ข้างโน้น ๓ รอย ในท่ามกลาง ๑ รอย, จงเป็นไป." นายปุณณะนั้น ปรารถนาตำแหน่งเสนาบดีก็สามารถจะได้ในวันนั้นเทียว. แต่ว่าด้วยความรักในนายทั้งหลาย เขาจึงตั้งความปรารถนาว่า "คนเหล่านี้นั่นแหละจงเป็นนายของข้าพเจ้า." ในที่สุดแห่งถ้อยคำของชนทั้งหมด พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" แล้วกระทำอนุโมทนาด้วยคาถาของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วคิดว่า "เรายังจิตของชนทั้งหลายเหล่านี้ให้เลื่อมใส ย่อมควร" จึงอธิษฐานว่า "ชนเหล่านี้ จงเห็นเราจนถึงภูเขาคันธมาทน์" ดังนี้แล้วก็หลีกไป. แม้ชนเหล่านั้น ได้ยืนแลดูอยู่เทียว. พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไปแล้ว แบ่งภัตนั้นกับด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์. ด้วยอานุภาพแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ภัตนั้นเพียงพอแล้วแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมด. ชนแม้เหล่านั้นได้ยืน แลดูอยู่ทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 55

อานิสงส์ของการถวายทาน

ก็เมื่อเวลาเที่ยงล่วงไปแล้ว ภรรยาเศรษฐีล้างหม้อข้าวแล้วปิดตั้งไว้, ฝ่ายเศรษฐีถูกความหิวบีบคั้น นอนแล้วหลับไป. เศรษฐีนั้นตื่นขึ้นในเวลาเย็น กล่าวกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ ฉันหิวเหลือเกิน, ข้าวตัง (๑) ก้นหม้อมีอยู่บ้างไหมหนอ" ภรรยานั้น แม้ทราบความที่ตนล้างหม้อตั้งไว้แล้ว ก็ไม่กล่าวว่า "ไม่มี" คิดว่า "เราเปิดหม้อข้าวแล้วจึงจะบอก" ดังนี้แล้ว จึงลุกขึ้นไปสู่ที่ใกล้หม้อข้าวแล้วเปิดหม้อข้าว.

ในขณะนั้นเอง หม้อข้าวเต็มด้วยภัต มีสีเช่นกับดอกมะลิตูม ได้ดุนฝาละมีตั้งอยู่แล้ว. ภรรยานั้นเห็นภัตนั้นแล้ว เป็นผู้มีสรีระอันปิติถูกต้องแล้ว กล่าวกะเศรษฐีว่า "จงลุกขึ้นเถิดนาย ดิฉันล้างหม้อข้าวปิดไว้ แต่หม้อข้าวนั้นนั่นเต็มด้วยภัต มีสีเช่นกับดอกมะลิตูม ชื่อว่าบุญทั้งหลายควรที่จะกระทำ ชื่อว่าทานควรจะให้ ขอท่านจงลุกขึ้นเถิดนาย บริโภคเสียเถิด." ภรรยานั้นได้ให้ภัตแก่บิดาและบุตรทั้งสองแล้ว. เมื่อบิดาและบุตรนั้นบริโภคเสร็จแล้ว นางนั่งบริโภคกับด้วยลูกสะใภ้แล้ว ได้ให้ภัตแก่นายปุณณะ. ที่แห่งภัตอันชนเหล่านั้นตักแล้วๆ ย่อมไม่สิ้นไป. ปรากฏเฉพาะตรงที่ตักด้วยทัพพีคราวเดียวเท่านั้น.

ในวันนั้นนั่นแล ฉางเป็นต้น ก็กลับเต็มแล้วโดยทำนองที่เต็มในก่อนนั่นแล. นางให้กระทำการโฆษณาในเมืองว่า "ภัตเกิดขึ้นแล้วในเรือนของเศรษฐี ผู้มีความต้องการด้วยภัตอันเป็นพืชจงมารับเอา." มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอาภัตอันเป็นพืชจากเรือนของเศรษฐีนั้นแล้ว. แม้ชาวชมพูวีปทั้งสิ้น ก็อาศัยเศรษฐีนั้น ได้ชีวิตแล้วนั่นแล.


(๑) เมล็ดข้าวอันไฟไหม้ทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 56

เศรษฐีและคณะไปเกิดที่ภัททิยนคร

เศรษฐีนั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสกุลเศรษฐีในภัททิยนคร. แม้ภรรยาของเขาบังเกิดในสกุลมีโภคะมาก เจริญวัยแล้ว ก็ได้ไปสู่เรือนของท่านเศรษฐีนั้นนั่นเอง. แพะทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้ว อาศัยกรรมในกาลก่อนของเศรษฐีนั้นผุดขึ้นแล้วที่ภายหลังเรือน, แม้บุตรก็ได้เป็นบุตรของท่านเหล่านั้นแหละ, หญิงสะใภ้ก็ได้เป็นหญิงสะใภ้เหมือนกัน, ทาสก็ได้เป็นทาสเทียว. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเศรษฐีใคร่จะทดลองบุญของตน จึงให้คนชำระฉาง ๑,๒๕๐ ฉาง สนานศีรษะแล้วนั่งที่ประตู แหงนดูเบื้องบน. ฉางแม้ทั้งหมดเต็มแล้วด้วยข้าวสาลีแดง มีประการดังกล่าวแล้ว. เศรษฐีนั้นใคร่จะทดลองบุญแม้ของชนที่เหลือ จึงกล่าวกะภรรยาและบุตรเป็นต้นว่า "เธอทั้งหลาย จงทดลองบุญแม้ของพวกเธอเถิด." ลำดับนั้น ภรรยาของเศรษฐีนั้น ประดับแล้วด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง, เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่นั้นแล, ใช้ให้คนตวงข้าวสารทั้งหลาย ให้หุงข้าวสวยด้วยข้าวสารเหล่านั้น นั่งบนอาสนะอันเขาปูลาดแล้วที่ซุ้มประตู ถือทัพพีทองคำแล้วให้ป่าวร้องว่า "ผู้มีความต้องการด้วยภัตจงมา" แล้วได้ให้จนเต็มภาชนะที่ชนผู้มาแล้วๆ รับเอา. เมื่อนางนั้นให้อยู่แม้จนหมดวัน ก็ปรากฏเฉพาะตรงที่ตักด้วยทัพพีเท่านั้น. ก็ปทุมลักษณะเกิดเต็มฝ่ามือข้างซ้าย, จันทรลักษณะเกิดเต็มฝ่ามือข้างขวา, เพราะนางจับหม้อข้าวด้วยมือซ้าย จับทัพพีด้วยมือขวา แล้วถวายภัตจนเต็มบาตรของภิกษุสงฆ์ แม้ของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล. ก็เพราะเหตุที่นางถือเอาธมกรกกรองน้ำถวายแก่ภิกษุสงฆ์

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 57

เที่ยวไปๆ มาๆ ฉะนั้น จันทรลักษณะจึงเกิดเต็มฝ่าเท้าเบื้องขวาของนาง, ปทุมลักษณะจึงเกิดจนเต็มฝ่าเท้าเบื้องซ้ายของนางนั้น. เพราะเหตุนี้ ญาติทั้งหลายจึงขนานนามของนางว่า "จันทปทุมา." (๑)

แม้บุตรของเศรษฐีนั้น สนานศีรษะแล้ว ถือเอาถุงกหาปณะพันหนึ่ง กล่าวว่า "ผู้มีความต้องการด้วยกหาปณะทั้งหลายจงมา" แล้วได้ให้จนเต็มภาชนะที่ชนผู้มาแล้วๆ รับเอา. กหาปณะพันหนึ่งก็คงมีอยู่ในถุงนั่นเอง. แม้ลูกสะใภ้ของเศรษฐีนั้น ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ถือเอากระบุงข้าวเปลือกแล้ว นั่งที่กลางแจ้ง กล่าวว่า "ผู้มีความต้องการด้วยภัตอันเป็นพืช จงมา" แล้วได้ให้จนเต็มภาชนะที่ชนผู้มาแล้วๆ รับเอา. กระบุง (ข้าวเปลือก) ก็คงเต็มอยู่ตามเดิมนั่นเอง. แม้ทาสของเศรษฐีนั้น ประดับแล้วด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เทียมโคทั้งหลายที่แอกทองคำด้วยเชือกทองคำถือเอาด้ามปฏักทองคำ ให้ของหอมอันบุคคลพึงเจิมด้วยนิ้วทั้ง ๕ แก่โคทั้งหลาย สวมปลอกทองคำที่เขาทั้งหลาย ไปสู่นาแล้วขับไป. รอย ๗ รอยคือ "ข้างนี้ ๓ รอย ข้างโน้น ๓ รอย ในท่ามกลาง ๑ รอย" ได้แตกแยกกันไปแล้ว. ชาวชมพูทวีปถือเอาสิ่งของ บรรดาภัต พืช เงินทองเป็นต้น ตามที่ตนชอบใจจากเรือนของเศรษฐี เท่านั้น.

เศรษฐีผู้มีอานุภาพมากอย่างนั้น สดับว่า "ได้ยินว่า พระศาสดาเสด็จมาแล้ว" จึงคิดว่า "เราจักกระทำการรับเสด็จพระศาสดา" ออกไปอยู่ พบพวกเดียรถีย์ในระหว่างทาง, แม้ถูกพวกเดียรถีย์เหล่านั้นห้าม


(๑) หมายความว่า มีลักษณะเหมือนพระจันทร์และดอกปทุม.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 58

อยู่ว่า "คฤหบดี ท่านเป็นผู้กิริยวาทะ (๑) จะไปสู่สำนักของพระสมณโคดม ผู้เป็นอกิริยวาทะ (๒) เพราะเหตุไร ก็มิได้เชื่อถ้อยคำของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น เที่ยวไปแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.

โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอนุบุพพีกถาแก่เศรษฐีนั้น. ในเวลาจบเทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลความที่ตนถูกพวกเดียรถีย์กล่าวโทษแล้วห้ามไว้แด่พระศาสดา. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านเศรษฐีนั้นว่า "คฤหบดี ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นย่อมไม่เห็นโทษของตน แม้มาก, ย่อมโปรยโทษของชนเหล่าอื่นแม้ไม่มีอยู่กระทำให้มี ราวกะบุคคลโปรยแกลบขึ้นในที่นั้นๆ ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๐. สุทสฺสํ วชฺชมญฺเสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ อตฺตโน ปน ฉาเหติ กลึว กิตวา สโ.

"โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, ฝ่ายโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่า บุคคลนั้น ย่อมโปรยโทษของบุคคลเหล่าอื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ, แต่ว่าย่อมปกปิด (โทษ) ของตน เหมือนพรานนก ปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทสฺสํ ความว่า โทษคือความพลั้ง-


(๑) ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว ชื่อว่าเป็นอันทำ.

(๒) ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้วว่า ไม่เป็นอันทำ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 59

พลาดของบุคคลอื่น แม้มีประมาณน้อย อันบุคคลเห็นได้ง่าย คืออาจเพื่อจะเห็นได้โดยง่ายทีเดียว, ส่วนโทษของตน แม้ใหญ่ยิ่งอันบุคคลเห็นได้ยาก.

บทว่า ปเรสํ หิ ความว่า เพราะเหตุนั้นนั่นแล บุคคลนั้นย่อมโปรยโทษทั้งหลายของชนเหล่าอื่นในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น เหมือนบุคคลยืนบนที่สูงแล้วโปรยแกลบลงอยู่ฉะนั้น.

อัตภาพชื่อว่า กลิ ด้วยสามารถที่ประพฤติผิดในนกทั้งหลาย ในคำ ว่า กลิํว กิตวา สโ (๑) นี้.

เครื่องปกปิด มีกิ่งไม้ที่พอหักได้เป็นต้น ชื่อว่า กิตวา (ในคำว่า "กิตวา" นี้).

นายพราน ชื่อว่า สโ (ในคำว่า "สโ" นี้.) อธิบายว่า นายพรานนกประสงค์จะจับนกฆ่า ย่อมปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิด ฉันใด, บุคคลย่อมปกปิดโทษของตนฉันนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องเมณฑกเศรษฐี จบ.


(๑) แก้อรรถตอนนี้ บางอาจารย์เห็นว่าใช้วินิจฉัย.