พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. เรื่องสุภัททปริพาชก [๑๙๓]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34992
อ่าน  442

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 62

๑๒. เรื่องสุภัททปริพาชก [๑๙๓]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 62

๑๒. เรื่องสุภัททปริพาชก [๑๙๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา ผทมแล้วบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน ในสาลวันของเจ้ามัลละทั้งหลาย อันเป็นที่แวะพัก ใกล้พระนครกุสินารา ทรงปรารภปริพาชกชื่อว่าสุภัททะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อากาเสว ปทํ นตฺถิ" เป็นต้น.

บุรพกรรมของสุภัททะ

ได้ยินว่า ในอดีตกาล สุภัททปริพาชกนั้น เมื่อน้องชายให้ทานอันเลิศถึง ๙ ครั้ง ในเพราะข้าวกล้าครั้งหนึ่ง ไม่ปรารถนาเพื่อจะให้ ท้อถอยแล้ว ได้ให้ในกาลเป็นที่สุด.

เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ทั้งในปฐมโพธิกาล ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล, แต่ว่าในปัจฉิมโพธิกาล ในเวลาเป็นที่ปรินิพพานแห่งพระศาสดา คิดว่า "เราถามความสงสัยของตน ในปัญหา ๓ ข้อ กะปริพาชกทั้งหลายซึ่งเป็นคนแก่ ไม่ถามกะพระสมณโคดม ด้วยความสำคัญว่า "เป็นเด็ก. ก็บัดนี้ เป็นกาลปรินิพพานของพระสมณโคดมนั้น, วิปฏิสารพึงบังเกิดแก่เราในภายหลัง เพราะเหตุไม่ถามพระสมณโคดม" แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แม้ถูกพระอานนทเถระห้ามอยู่ เข้าไปแล้วสู่ภายในม่าน เพราะความที่พระศาสดาทรงกระทำโอกาสแล้วตรัสว่า "อานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะเลย, สุภัททะจงถามปัญหากะเรา" จึงนั่ง ใกล้ข้างล่างเตียงทูลถามปัญหาเหล่านี้ว่า "ข้าแต่พระสมณะผู้เจริญ ชื่อว่า รอยเท้าในอากาศ มีอยู่หรือหนอแล ชื่อว่าสมณะภายนอกแต่ศาสนานี้ มีอยู่หรือ สังขารทั้งหลายชื่อว่าเที่ยง มีอยู่หรือ"

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 63

พระศาสดาทรงแก้ปัญหาของสุภัททะ

ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสบอกความไม่มีแห่งรอยเท้าในอากาศเป็นต้นเหล่านั้นแก่เขา จึงทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาเหล่านั้นว่า

๑๒. อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร ปปญฺจาภิรตา ปชา นิปฺปปญฺจา ตถาคตา. อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ.

"รอยเท้าในอากาศนั่นเทียว ไม่มี สมณะภายนอก ไม่มี หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่องเนิ่นช้า, พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี, สมณะภายนอกไม่มี, สังขารทั้งหลาย (ชื่อว่า) เที่ยง ไม่มี, กิเลสชาต เครื่องหวั่นไหว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทํ ความว่า ชื่อว่ารอยเท้าแห่งสัตว์ไรๆ อันบุคคลพึงบัญญัติว่า "มีรูปอย่างนี้" ด้วยสามารถแห่งสีและสัณฐานในอากาศนี้ ไม่มี.

บทว่า พาหิโร ความว่า ชื่อว่าสมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผล ภายนอกแต่ศาสนาของเรา ไม่มี.

บทว่า ปชา ความว่า หมู่สัตว์ กล่าวคือสัตวโลกนี้ ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่องเนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้นเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 64

บทว่า นิปฺปปญฺจา ความว่า ส่วนพระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้ชื่อว่าไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะความที่พระองค์ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวงได้ขาดแล้ว ที่ควงแห่งไม้โพธิ์นั่นแล.

ขันธ์ ๕ ชื่อว่าสังขาร, ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น ขันธ์อย่างหนึ่งชื่อว่าเที่ยง ไม่มี.

บทว่า อิญฺชิตํ ความว่า ก็ชนทั้งหลายพึงถือเอาว่า "สังขารทั้งหลาย เป็นสภาพเที่ยง" ด้วยบรรดากิเลสชาตเครื่องหวั่นไหว คือตัณหามานะ และทิฏฐิอันใด, แม้กิเลสชาตเครื่องหวั่นไหวนั้นอย่างหนึ่งมิได้มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ในเวลาจบเทศนา สุภัททปริพาชกตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล. พระธรรมเทศนา ได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสุภัททปริพาชก จบ.

มลวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๘ จบ.