พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๙๕]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34995
อ่าน  400

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 71

๒. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๙๕]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 71

๒. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๙๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน ปณฺฑิโต โหติ" เป็นต้น.

ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำโรงภัตให้อากูล

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวทำโรงภัตให้อากูลในวัดบ้าง ในบ้านบ้าง. ครั้นวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายถามภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้ทำภัตกิจในบ้านแล้วมา ว่า "ท่านผู้มีอายุ โรงภัตเป็นเช่นไร" ภิกษุหนุ่มและสามเณร ตอบว่า "อย่าถามเลย ขอรับ," พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ กล่าวว่า "พวกเรา แหละเป็นผู้ฉลาด, พวกเราเป็นบัณฑิต จักประหารภิกษุเหล่านี้ โปรยหยากเยื่อที่ศีรษะแล้วนำออกไป แล้วจับหลังพวกกระผมโปรยหยากเยื่ออยู่ ทำโรงภัตให้อากูล." ภิกษุทั้งหลาย ไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว กราบทูลความนั้น.

ลักษณะบัณฑิตและไม่ใช่บัณฑิต

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกคนพูดมากเบียดเบียนผู้อื่นว่า "เป็นบัณฑิต," แต่เราเรียกคนที่มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัยเลยว่า "เป็นบัณฑิต" ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. น เตน ปณฺฑิโต โหติ ยาวตา พหุ ภาสติ เขมี อเวรี อภโย ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.

"บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุเพียงพูดมาก (ส่วน) ผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย เรากล่าวว่า เป็นบัณฑิต."

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 72

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุที่พูดมากในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น, ส่วนบุคคลใด ตนเองเป็นคนมีความเกษม ชื่อว่าไม่มีเวร เพราะเวร ๕ ไม่มี ผู้ไม่มีภัย คือภัยย่อมไม่มีแก่มหาชน เพราะอาศัยบุคคลนั้น, ผู้นั้นชื่อว่า "เป็นบัณฑิต" ดังนี้แล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.