พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ [๑๙๗]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34997
อ่าน  447

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 76

๔. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ [๑๙๗]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 76

๔. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ [๑๙๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระลกุณฏกภัททิยเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน เถโร โหติ" เป็นต้น.

พวกภิกษุเห็นพระเถระเข้าใจว่าเป็นสามเณร

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง เมื่อพระเถระนั้นไปสู่ที่บำรุงพระศาสดา พอหลีกไปแล้ว, ภิกษุผู้อยู่ป่าประมาณ ๓๐ รูป พอเห็นท่านก็มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามปัญหานี้ว่า "พระเถระองค์หนึ่ง ไปจากนี้ พวกเธอเห็นไหม"

พวกภิกษุ. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. พวกเธอเห็นพระเถระนั้นมิใช่หรือ

พวกภิกษุ. เห็นสามเณรรูปหนึ่ง พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นั้นไม่ใช่สามเณร, นั่นเป็นพระเถระ.

พวกภิกษุ. เล็กนัก พระเจ้าข้า.

ลักษณะเถระและมิใช่เถระ

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกว่า เถระ เพราะความเป็นคนแก่ เพราะเหตุสักว่านั่งบนอาสนะพระเถระ, ส่วนผู้ใด แทงตลอดสัจจะทั้งหลายแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนมหาชน, ผู้นี้ ชื่อว่าเป็นเถระ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 77

๔. น เตน เถโร โหติ เยนสฺส ปลิตํสิโร ปริปกฺโก วโย ตสฺส โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ. ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหิํสา สญฺโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ.

"บุคคล ไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอกบนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า แก่เปล่า, (ส่วน) ผู้ใด มีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ, ผู้นั้นมีมลทินอันตายแล้ว ผู้มีปัญญา, เรากล่าวว่า เป็นเถระ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปกฺโก ความว่า อันชราน้อมไปรอบแล้ว คือถึงความเป็นคนแก่แล้ว.

บทว่า โมฆชิณฺโณ ความว่า ชื่อว่า แก่เปล่า เพราะภายในไม่มีธรรม เครื่องทำให้เป็นเถระ.

บทว่า สจฺจญฺจ ความว่า ก็บุคคลใดมีสัจจะทั้ง ๔ เพราะความเป็นผู้แทงตลอดด้วยอาการ ๑๖ และมีโลกุตรธรรม ๙ อย่าง เพราะความเป็นผู้ทำให้แจ้งด้วยญาณ.

คำว่า อหิํสา นั่น สักว่าเป็นหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า อัปปมัญญาภาวนาแม้ ๔ อย่าง มีอยู่ในผู้ใด.

สองบทว่า สญฺโม ทโม ได้แก่ ศีล และอินทรียสังวร.

บทว่า วนฺตมโล คือ มีมลทินอันนำออกแล้วด้วยมรรคญาณ.

บทว่า ธีโร คือ สมบูรณ์ด้วยปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 78

เถโร ความว่า ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เถระ" เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำความเป็นผู้มั่นคงเหล่านั้น.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ จบ.