พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เรื่องภิกษุมากรูป [๑๙๘]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  34998
อ่าน  426

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 79

๕. เรื่องภิกษุมากรูป [๑๙๘]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 79

๕. เรื่องภิกษุมากรูป [๑๙๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น วากฺกรณมตฺเต" เป็นต้น.

พระเถระบางพวกอยากได้ลาภสักการะ

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระเถระบางพวกเห็นภิกษุหนุ่ม และสามเณรทำการรับใช้ทั้งหลาย มีอันย้อมจีวรเป็นต้น แก่อาจารย์ผู้บอกธรรมของตนนั่นแล คิดว่า "แม้เราก็ฉลาดในลัทธิพยัญชนะ ผลอะไรๆ ไม่มีแก่เราเลย ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในลัทธิพยัญชนะ, ขอพระองค์จงบังคับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายว่า พวกเธอแม้เรียนธรรมในสำนักของอาจารย์อื่นแล้ว ยังไม่สอบทานในสำนักของภิกษุเหล่านี้แล้ว อย่าสาธยาย, ลาภสักการะจักเจริญแก่เราทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล." พระเถระเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลอย่างนั้น. พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงทราบว่า "ใครๆ ก็พูดเช่นนั้นได้ ด้วยสามารถประเพณีในพระศาสนานี้เท่านั้น, แต่ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้อาศัยลาภสักการะ" จึงตรัสว่า "เราไม่เรียกพวกเธอว่า คนดี เพราะเหตุสักว่าพูดจัดจ้าน, (๑) ส่วนผู้ใดตัดธรรมมีความริษยาเป็นต้นเหล่านี้ได้แล้ว ด้วยอรหัตตมรรค ผู้นี้แหละชื่อว่าคนดี" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-


(๑) เพราะเหตุสักว่าการกระทำซึ่งคำพูด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 80

๕. น วากฺกรณมตฺเตน วณฺณโปกฺขรตาย วา สาธุรูโป นโร โหติ อิสฺสุกี มจฺฉรี สโ. ยสฺส เจตํ สมุจฺฉินฺนํ มูลฆจฺจํ สมูหตํ ส วนฺตโทโส เมธาวี สาธุรูโปติ วุจฺจติ.

"นระผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด จะชื่อว่าเป็นคนดี เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้านหรือเพราะมีผิวกายงามก็หาไม่, ส่วนผู้ใดตัดโทสชาต มีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้รากขาด, ผู้นั้นมีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า คนดี."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วากฺกรณมตฺเตน ความว่า เพราะเหตุสักว่าทำการพูด คือสักว่าถ้อยคำอันถึงพร้อมด้วยลักษณะ.

บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย วา คือ เพราะความเป็นผู้ยังใจให้เอิบอาบโดยมีสรีระสมบูรณ์ด้วยวรรณะ.

บทว่า นโร เป็นต้น ความว่า นระผู้มีใจริษยาในเพราะลาภของคนอื่นเป็นต้น ประกอบด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง (๑) ชื่อว่า ผู้โอ้อวด เพราะคบธรรมฝ่ายข้าศึก จะชื่อว่าคนดี เพราะเหตุเพียงเท่านี้หามิได้.

สองบทว่า ยสฺส เจตํ เป็นต้น ความว่า ส่วนบุคคลใดตัดโทสชาต


(๑) ตระหนี่ ๕ อย่าง คือ อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ. ธัมมมัจฉริยะตระหนี่ธรรม.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 81

มีความริษยาเป็นต้นนี่ได้ขาดแล้ว ด้วยอรหัตตมรรคญาณ ถอนขึ้น ทำให้รากขาดแล้ว, บุคคลนั้นมีโทสะอันคายแล้ว ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "คนดี."

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล

เรื่องภิกษุมากรูป จบ.