พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. เรื่องภิกษุมากรูป [๒๐๓]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35004
อ่าน  487

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 92

๑๐. เรื่องภิกษุมากรูป [๒๐๓]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 92

๑๐. เรื่องภิกษุมากรูป [๒๐๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น สีลพฺพตมตฺเตน" เป็นต้น.

ได้ยินว่า บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "พวกเรามีศีลสมบูรณ์แล้ว, พวกเราทรงซึ่งธุดงค์, พวกเราเป็นพหูสูต, พวกเราอยู่ในเสนาสนะอันสงัด, พวกเราได้ฌาน, พระอรหัตพวกเราได้ไม่ยาก, พวกเราจักบรรลุพระอรหัต ในวันที่พวกเราปรารถนานั่นเอง." บรรดาภิกษุเหล่านั้น แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามีได้มีความคิดเช่นนี้ว่า "บัดนี้ พระอรหัตพวกเราได้ไม่ยาก". วันหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ อันพระศาสดาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย กิจแห่งบรรพชิตของพวกเธอถึงที่สุดแล้วหรือหนอ" ต่างก็กราบทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เห็นปานนี้นี้ เพราะฉะนั้น พวกข้าพระองค์จึงคิดว่า "พวกเราสามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตในขณะที่ปรารถนาแล้วๆ นั่นเอง ดังนี้แล้วอยู่."

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุจะเห็นว่า ทุกข์ในภพของพวกเราน้อย, ด้วยคุณสักว่าความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์เป็นต้น หรือด้วยคุณสักว่าความสุขของพระอนาคามีไม่ควร, และยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ ไม่พึงให้ความคิดเกิดขึ้นว่า เราถึงสุขแล้ว" ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 93

๑๐. น สีลพฺพตมตฺเตน พาหุสจฺเจน วา ปน อถวา สมาธิลาเภน วิวิตฺตสยเนน วา ผุสามิ เนกฺขมฺมสุขํ อปุถุชฺชนเสวิตํ ภิกฺขุ วิสฺสาสมาปาทิ อปฺปตฺต อาสวกฺขยํ.

"ภิกษุ ภิกษุยังไม่ถึงอาสวักขัย อย่าเพิ่งถึงความวางใจ ด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร ด้วยความเป็น พหูสูต ด้วยอันได้สมาธิ ด้วยอันนอนในที่สงัด หรือ (ด้วยเหตุเพียงรู้ว่า) เราถูกต้องสุขในเนกขัมมะ ซึ่ง ปุถุชนเสพไม่ได้แล้ว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลพฺพตมตฺเตน คือ ด้วยเหตุสักว่า ปาริสุทธิศีล ๔ หรือสักว่าธุดงคคุณ ๑๓.

บทว่า พาหุสจฺเจน วา ความว่า หรือด้วยเหตุสักว่าความเป็นผู้ เรียนปิฎก ๓.

บทว่า สมาธิลาเภน ความว่า หรือด้วยอันได้สมาบัติ ๘.

บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ คือ สุขของพระอนาคามี. เพราะฉะนั้น ภิกษุ อย่าเพิ่งถึงความวางใจ ด้วยเหตุมีประมาณเพียงรู้เท่านี้ว่า "เราถูกต้องสุข ของพระอนาคามี."

บทว่า อปุถุชฺชนเสวิตํ ความว่า อันปุถุชนทั้งหลายเสพไม่ได้ คือ อันพระอริยะเสพแล้วอย่างเดียว. ภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงทักภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็ตรัสว่า "ภิกษุ"

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 94

บทว่า วิสฺสาสมาปาทิ ความว่า อย่าเพิ่งถึงความวางใจ. มีคำอธิบายไว้ฉะนี้ว่า "ภิกษุ ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต กล่าวคือความสิ้นไปแห่งอาสวะ ไม่พึงถึงความวางใจว่า ภพของเราน้อย นิดหน่อย ด้วยเหตุสักว่า ความเป็นผู้มีคุณมีศีลสมบูรณ์เป็นต้นนี้เท่านั้น เหมือนคูถแม้มีประมาณน้อยก็ยังมีกลิ่นเหม็นฉันใด, ภพแม้มีประมาณน้อย ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ฉันนั้น."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว, เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุมากรูป จบ.

ธัมมัฏฐวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๙ จบ.