พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มรรควรรคที่ ๒๐ ว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35005
อ่าน  578

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 95

มรรควรรคที่ ๒๐

ว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 95

คาถาธรรมบท

มรรควรรคที่ ๒๐ (๑)

ว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐ

[๓๐] ๑. บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐ บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐ บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ บรรดาสัตว์ ๒ เท้า และ อรูปธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทางอื่นไม่มี เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางนี้ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราทราบทางเป็นที่สลัดลูกศรแล้ว จึงบอกแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียร เครื่องเผากิเลส พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกชนทั้งหลายผู้ดำเนินไปแล้ว มีปกติเพ่งพินิจ ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกของมาร.

๒. เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความ


(๑) วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๐ เรื่อง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 96

หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

๓. ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยัน ในกาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน ย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา.

๔. บุคคลผู้มีปกติรักษาวาจา สำรวมดีแล้วด้วยใจ และไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย พึงยังกรรมบถทั้งสามเหล่านี้ให้หมดจด ทั้งยินดีทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณประกาศแล้ว.

๕. ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล ความสิ้นไปแห่งปัญญา เพราะการไม่ประกอบ บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่งแห่งความเจริญ และความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้.

๖. ท่านทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดแต่กิเลสดุจป่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าเถิด เพราะกิเลสดุจ หมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 97

ยังไม่ขาด ในนารีทั้งหลายเพียงใด เขาเป็นเหมือนลูกโคที่ยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ในมารดาเพียงนั้น.

๗. เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือนบุคคลถอนดอกโกมุท ที่เกิดในสรทกาล ด้วยมือ จงเจริญทางแห่งสันติทีเดียว (เพราะ) พระนิพพานอันพระสุคตแสดงแล้ว.

๘. คนพาลย่อมคิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูฝน จักอยู่ในที่นี้ในฤดูหนาวและฤดูร้อน หารู้อันตรายไม่.

๙. มัจจุพานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตรและปศุสัตว์ ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น.

๑๐. บัณฑิตทราบอำนาจเนื้อความว่า บุตรทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพื่อต้านทาน บิดาและพวกพ้องทั้งหลายก็ไม่มีเพื่อต้านทาน เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำแล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลายย่อมไม่มี ดังนี้แล้ว เป็นผู้สำรวมในศีล พึงชำระทางเป็นที่ไปพระนิพพานให้หมดจดพลันทีเดียว.

จบมรรควรรคที่ ๒๐