พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เรื่องพระเถระแก่ [๒๐๙]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35011
อ่าน  530

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 123

๖. เรื่องพระเถระแก่ [๒๐๙]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 123

๖. เรื่องพระเถระแก่ [๒๐๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุแก่หลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วนํ ฉินฺทถ" เป็นต้น.

พวกกุฏุมพีละฆราวาสออกบวช

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นในเวลาเป็นคฤหัสถ์เป็นกุฎุมพี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ในกรุงสาวัตถี เป็นสหายกันและกัน ทำบุญร่วมกัน ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว คิดว่า "พวกเราเป็นคนแก่, ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครองเรือนของพวกเรา" ดังนี้แล้ว ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา บวชแล้ว, แต่เพราะความเป็นคนแก่ ไม่สามารถเล่าเรียนธรรมได้ จึงให้คนสร้างบรรณศาลาไว้ในที่สุดวิหาร แล้วอยู่รวมกัน, แม้เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาต โดยมากก็ไปเรือนของบุตรและภรรยา นั่นแหละแล้วฉัน.

พวกภิกษุแก่ร้องไห้รำพันถึงอุบาสิกา

ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีภรรยาเก่าชื่อว่านางมธุรปาณิกา. นางได้มีอุปการะแก่ภิกษุเหล่านั้นแม้ทุกรูป เพราะฉะนั้น ภิกษุแม้ทุกรูป ถืออาหารที่ตนได้แล้ว ไปนั่งฉันที่เรือนของนางนั่นแหละ. ฝ่ายนางก็ถวาย แกงและกับแก่ภิกษุเหล่านั้น ตามที่ตนจัดไว้.

นางอันอาพาธชนิดใดชนิดหนึ่งถูกต้องแล้ว ได้ทำกาละแล้ว. ลำดับนั้น พระเถระแก่เหล่านั้นประชุมกันในบรรณศาลาของพระเถระผู้สหาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 124

กอดคอกันและกันร้องไห้รำพันอยู่ว่า "อุบาสิกาผู้มีรสมืออันอร่อยทำกาละเสียแล้ว." และอันภิกษุทั้งหลายวิ่งเข้าไปโดยรอบ แล้วถามว่า "นี่เรื่องอะไรกัน ท่าน" จึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ภรรยาเก่าของสหายของพวกผมทำกาละเสียแล้ว, นางเป็นผู้มีอุปการะแก่พวกผมเหลือเกิน, บัดนี้ พวกผมจักได้ผู้เห็นปานนั้นแต่ไหน, พวกผมร้องไห้เพราะเหตุนี้."

พระศาสดาตรัสกากชาดกแก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ในบัดนี้" เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน เมื่อนางมธุรปาณิกานั้นเกิดในกำเนิดกา เที่ยวไปริมฝั่งสมุทร ถูกลูกคลื่นสมุทร (ซัด) เข้าไปสู่สมุทรให้ตายแล้ว ภิกษุเหล่านั้น (เกิด) เป็นกา ร้องไห้ร่ำไรแล้ว, คิดว่า พวกเราจักนำนางกานั้นไป, จึงพากันวิดมหาสมุทรด้วยจะงอยปาก ลำบากแล้ว." ทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว ตรัสกากชาดก (๑) ให้พิสดารว่า :-

"เออ ก็คางของพวกเราล้าแล้ว, และปากซีด, พวกเราจงงดเสียเถิด พวกเรา (วิดต่อไปก็) ไม่สำเร็จ, เพราะห้วงน้ำใหญ่ยังเต็มอยู่อย่างเดิม."

แล้วตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออาศัยป่า คือราคะ โทสะ และโมหะ จึงถึงทุกข์นี้, การที่พวกเธอตัดป่านั้นเสีย ควร, พวกเธอจักเป็นผู้หมดทุกข์ได้ด้วยอาการอย่างนั้น" แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-


(๑) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๒ อรรถกถา. ๒/๕๓๓.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 125

๖. วนํ ฉินฺทถ มา รุกขํ วนโต ชายตี ภยํ เฉตฺวา วนญฺจ วนกญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว. ยาวํ หิ วนโถ น ฉิชฺชติ อณุมตฺโตปิ นรสฺส นาริสุ ปฏิพทฺธมโน ว ตาว โส วจฺโฉ ขีรปโกว มาตริ.

"ท่านทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า อย่าตัดต้นไม้, ภัยย่อมเกิดแต่กิเลสดุจป่า, ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าเถิด เพราะกิเลสดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน ยังไม่ขาดในนารีทั้งหลายเพียงใด, เขาเป็นเหมือน ลูกโคที่ยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ในมารดาเพียงนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา รุกฺขํ ความว่า ก็เมื่อพระศาสดา ตรัสว่า "ท่านทั้งหลายจงตัดป่า," ภิกษุเหล่านั้นผู้บวชยังไม่นาน ความคิดในความเป็นผู้ใคร่เพื่อตัดต้นไม้จะเกิดขึ้นว่า "พระศาสดาย่อมให้พวกเราถือมีดเป็นต้นตัดป่า" เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงห้ามภิกษุเหล่านั้นว่า "เราพูดคำนั่น หมายเอาป่าคือกิเลสมีราคะเป็นต้น (ต่างหาก) มิได้พูดหมายเอาต้นไม้" จึงตรัสว่า "อย่าตัดต้นไม้."

บทว่า วนโต ความว่า ภัยแต่สัตว์ร้ายมีสีหะเป็นต้น ย่อมเกิด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 126

จากป่าตามปกติ ฉันใด แม้ภัยมีชาติเป็นต้น ย่อมเกิดจากป่าคือกิเลส ฉันนั้น.

ในสองบทว่า วนํ วนฏฺฐญฺจ (๑) นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ต้นไม้ใหญ่ชื่อว่าป่า, ต้นไม้เล็กที่ตั้งอยู่ในป่านั้น ชื่อว่าหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า อีกอย่างหนึ่ง ต้นไม้ที่เกิดก่อนชื่อว่าป่า ที่เกิดต่อๆ กันมา ชื่อว่าหมู่ไม้ตั้งอยู่ ในป่า (ฉันใด) กิเลสใหญ่ๆ อันคร่าสัตว์ไว้ในภพ ชื่อว่ากิเลสดุจป่า, กิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน ชื่อว่ากิเลสดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า. อีกอย่างหนึ่ง กิเลสที่เกิดก่อน ชื่อว่ากิเลสดุจป่า ที่เกิดต่อๆ มา ชื่อว่ากิเลสดุจหมู่ไม้ ตั้งอยู่ในป่าฉันนั้นเหมือนกัน. ก็กิเลสชาตแม้ทั้งสองอย่างนั้น อันพระโยคี พึงตัดด้วยญาณที่สัมปยุตด้วยมรรคที่ ๔, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "จงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า."

สองบทว่า นิพฺพนา โหถ แปลว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีกิเลสเถิด.

สองบทว่า ยาวญฺหิ วนฏฺโฐฑ (๒) ความว่า หมู่ไม้ที่ตั้งอยู่ในป่า คือกิเลสนั่น ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน ยังไม่ขาดในนารีทั้งหลายเพียงใด, เขาก็เป็นเหมือนลูกโคตัวยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ คือมีจิตข้องในมารดาเพียงนั้น.

ในเวลาจบทศนา พระเถระแก่เหล่านั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระเถระแก่ จบ.


(๑) บาลีเป็น วนถญฺจ.

(๒) ยาวํ หิ วนโถ.