พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เรื่องนายทารุสากฏิกะ [๒๑๘]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35021
อ่าน  462

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 169

๕. เรื่องนายทารุสากฏิกะ [๒๑๘]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 169

๕. เรื่องนายทารุสากฏิกะ [๒๑๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุตรของนายทารุสากฏิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุปฺปพุทฺธํ" เป็นต้น.

เด็กสองคนเล่นขลุบ

ความพิสดารว่า เด็กในพระนครราชคฤห์สองคน คือ "บุตรของบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิคนหนึ่ง บุตรของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง" เล่นขลุบ อยู่ด้วยกันเนืองๆ. ในเด็กสองคนนั้น บุตรของบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อจะทอดขลุบ. ระลึกถึงพุทธานุสสติแล้วกล่าวว่า "นโม พุทฺธสฺส" แล้วจึงทอดขลุบ. เด็กนอกนี้ระลึกเฉพาะพระคุณทั้งหลายของพวกเดียรถีย์แล้ว กล่าวว่า "นโม อรหนฺตานิ " แล้วจึงทอด. ในเด็กสองคนนั้น บุตรของบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมชนะ, เด็กคนนอกนี้ ย่อมแพ้. บุตรของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น เห็นกิริยาของบุตร ผู้เป็นสัมมาทิฏฐินั้นแล้ว คิดว่า "เพื่อนคนนี้ ระลึกแล้วอย่างนั้น กล่าวแล้วอย่างนั้น ทอดขลุบไปจึงชนะเรา, แม้เราก็จักทำอย่างนั้น (บ้าง) " ได้ทำการสั่งสมในพุทธานุสสติแล้ว.

เด็กผู้เป็นสัมมาทิฏฐิไปป่ากับบิดา

ภายหลังวันหนึ่ง บิดาของเด็กผู้เป็นสัมมาทิฏฐินั้น เทียมเกวียนแล้วไปเพื่อต้องการไม้ ได้พาเด็กแม้นั้นไปแล้ว บรรทุกเกวียนให้เต็มแล้วด้วยไม้ในดง ขับมาอยู่ (ถึง) ภายนอกเมือง ปล่อยโคไปในที่อันมีความสำราญด้วยน้ำ ในที่ใกล้ป่าช้า แล้วได้กระทำการจัดแจงภัต.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 170

ลำดับนั้น โคของเขาเข้าไปสู่เมืองกับหมู่โคที่เข้าไปสู่เมืองในเวลาเย็น. ฝ่ายนายสากฏิกะเที่ยวติดตามโคอยู่ เข้าไปสู่เมืองแล้วในเวลาเย็น พบโคแล้วจูงออกไปอยู่ ไม่ทันถึงประตู ก็เมื่อเขายังไม่ทันถึงนั่นแหละ, ประตูปิดเสียแล้ว. ขณะนั้น บุตรของเขาผู้เดียวเท่านั้น นอนแล้วในภายใต้แห่งเกวียนในส่วนแห่งราตรีก้าวลงสู่ความหลับแล้ว.

เจริญพุทธานุสสติป้องกันอมนุษย์ได้

ก็กรุงราชคฤห์ แม้ตามปกติก็มากไปด้วยอมนุษย์. อนึ่ง เด็กนี้ก็นอนแล้วในที่ใกล้แห่งป่าช้า. พวกอมนุษย์ในที่ใกล้แห่งป่าช้านั้นเห็นเขาแล้ว. อมนุษย์ตนหนึ่ง ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามต่อพระศาสนา, อมนุษย์ตนหนึ่ง เป็นสัมมาทิฏฐิ.

ในอมนุษย์ทั้งสองนั้น อมนุษย์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิกล่าวว่า "เด็กคนนี้ เป็นภักษาหารของพวกเรา, พวกเราจงเคี้ยวกินเด็กคนนี้." อมนุษย์ผู้เป็นสัมมาทิฏฐินอกนี้ ห้ามอมนุษย์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น ด้วยคำว่า "อย่าเลย, ท่านอย่าชอบใจเลย." อมนุษย์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น แม้ถูกอมนุษย์ผู้เป็นสัมมาทิฏฐินั้นห้ามอยู่ ก็ไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของเขา จับเท้าเด็กคร่ามาแล้ว.

ในขณะนั้น เด็กนั้นกล่าวว่า "นโม พุทฺธสฺส" เพราะความที่ตนเป็นผู้สั่งสมในพุทธานุสสติ. อมนุษย์กลัวภัยใหญ่ จึงได้ถอยไปยืนอยู่แล้ว.

อมนุษย์รักษาและบำรุงเด็กผู้นอนในป่าคนเดียว

ลำดับนั้น อมนุษย์ผู้เป็นสัมมาทิฏฐินอกนี้ กล่าวกะอมนุษย์ผู้เป็น มิจฉาทิฏฐินั้นว่า. "พวกเราทำสิ่งอันไม่ควรทำเสียแล้ว, พวกเราจงทำทัณฑกรรมเพื่อเด็กนั้นเสียเถิด" ดังนี้แล้ว ได้ยืนรักษาเด็กนั้น. อมนุษย์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 171

ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าไปสู่พระนคร ยังถาดโภชนะของพระราชาให้เต็มแล้ว นำโภชนะมา.

ต่อมา อมนุษย์แม้ทั้งสองเป็นประดุจว่ามารดาและบิดาของเด็กนั้น ปลุกเด็กนั้นให้ลุกขึ้นแล้ว ให้บริโภคโภชนะนั้น ประกาศความเป็นไปนั้นแล้ว จารึกอักษรที่ถาดโภชนะ ด้วยอานุภาพของยักษ์ ด้วยอธิษฐานว่า "พระราชาเท่านั้น จงเห็นอักษรเหล่านี้, คนอื่นจงอย่าเห็น" ดังนี้แล้ว จึงไป.

ในวันรุ่งขึ้น พวกราชบุรุษทำความโกลาหลอยู่ว่า "พวกโจร ลักเอาภัณฑะคือภาชนะไปจากราชตระกูลแล้ว" จึงปิดประตูทั้งหลายแล้วค้นดู เมื่อไม่เห็นในพระนคร จึงออกจากพระนคร ตรวจดูข้างโน้นและข้างนี้ จึงเห็นถาดอันเป็นวิการแห่งทองคำบนเกวียนที่บรรทุกฟืน จึงจับเด็กนั้น ด้วยความสำคัญว่า "เด็กนี้เป็นโจร" ดังนี้แล้ว แสดงแด่พระราชา.

เด็กถูกไต่สวน

พระราชาทอดพระเนตรเห็นอักษรทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า "นี่อะไรกัน พ่อ." เด็กนั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ทราบ, มารดาบิดาของข้าพระองค์มาให้บริโภคในราตรี แล้วได้ยืนรักษาอยู่. ข้าพระองค์คิดว่า "มารดาบิดารักษาเราอยู่" จึงไม่มีความกลัวเลย เข้าถึงความหลับแล้ว, ข้าพระองค์ทราบเพียงเท่านี้."

ลำดับนั้น แม้มารดาและบิดาของเด็กนั้น ก็ได้ไปสู่ที่นั้นแล้ว.

พระราชาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ทรงพาชนทั้งสามนั้นไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลความเป็นไปทั้งปวงแล้ว ทูลถามว่า "ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 172

พระองค์ผู้เจริญ พุทธานุสสติเท่านั้น ย่อมเป็นคุณชาติเครื่องรักษาหรือ หนอแล หรือว่าอนุสสติอื่น แม้มีธัมมานุสสติเป็นต้น ก็เป็นคุณชาติเครื่องรักษา."

พระศาสดาทรงแสดงฐานะ ๖

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระราชานั้นว่า "มหาบพิตร พุทธานุสสติอย่างเดียวเท่านั้น เป็นคุณชาติเครื่องรักษาก็หามิได้, ก็จิตอันชนเหล่าใดอบรมดีแล้วโดยฐานะ ๖. กิจด้วยอันรักษาและป้องกันอย่างอื่น หรือด้วยมนต์และโอสถ ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงฐานะ ๖ ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๕. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ พุทฺธคตา สติ. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ ธมฺมคตา สติ. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ สงฺฆคตา สติ. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ กายคตา สติ. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ อหิํสาย รโต มโน. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ ภาวนาย รโต นโน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 173

"สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในกายเป็นนิตย์ ทั้ง กลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในอันไม่เบียดเบียน ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในภาวนา ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้นยึดสติอันไปแล้วในพระพุทธเจ้า หลับอยู่นั่นเทียวเมื่อตื่น ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดี.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 174

บาทพระคาถาว่า สทา โคตมสาวกา ความว่า ชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม เพราะความที่ตนเป็นผู้เกิดแล้วในที่สุดแห่งการฟังแห่งพระพุทธเจ้าผู้โคตมโคตร (และ) เพราะความเป็นคืออันฟังอนุสาสนีของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นนั่นแล.

สองบทว่า พุทฺธคตา สติ ความว่า สติของชนเหล่าใดปรารภ พระพุทธคุณทั้งหลายอันต่างด้วยคุณมีว่า "อิติปิ โส ภควา" เป็นต้น เกิดขึ้นอยู่ มีอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดีแม้ในกาลทุกเมื่อ. ก็ชนเหล่านั้น เมื่อไม่อาจ (เพื่อจะกระทำ) อย่างนั้นได้ ทำซึ่งพุทธานุสสติไว้ในใจ ในวันหนึ่ง ๓ เวลา ๒ เวลา (หรือ) แม้เวลาเดียว ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดีเหมือนกัน.

สองบทว่า ธมฺมคตา สต ความว่า สติที่ปรารภพระธรรมคุณทั้งหลาย อันต่างด้วยคุณมีว่า "สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม" เป็นต้น อันเกิดขึ้นอยู่.

สองบทว่า สงฺฆคตา สติ ความว่า สติที่ปรารภพระสังฆคุณทั้งหลาย อันต่างด้วยคุณมีว่า "สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ" เป็นต้น อันเกิดขึ้นอยู่.

สองบทว่า กายคตา สติความว่า สติอันเกิดขึ้นอยู่ด้วยสามารถ แห่งอาการ ๓๒ ด้วยสามารถแห่งการอยู่ในป่าช้า ๙ ด้วยสามารถแห่งรูปฌานมีนีลกสิณอันเป็นไปในภายในเป็นต้น.

สองบทว่า อหิํสาย รโต ความว่า ยินดีแล้วในกรุณาภาวนา (การเจริญกรุณา) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า "ภิกษุนั้นมีใจสหรคตด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่."

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 175

บทว่า ภาวนาย ได้แก่ เมตตาภาวนา, จริงอยู่ ภาวนาที่เหลือแม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในบทว่า "ภาวนาย" นี้ เพราะความที่กรุณาภาวนาพระองค์ตรัสไว้แล้วในหนหลังแม้โดยแท้, ถึงดังนั้น เมตตาภาวนาเท่านั้น พระองค์ทรงประสงค์เอาในบทว่า "ภาวนาย" นี้, คำที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในคาถาต้นนั้นเทียว.

ในกาลจบเทศนา ทารกนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยมารดาและบิดาแล้ว. ครั้นภายหลัง ชนแม้ทั้งหมดบวชแล้วบรรลุพระอรหัต. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนายทารุสากฏิกะ จบ.