พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เรื่องภิกษุว่ายาก [๒๒๗]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35031
อ่าน  414

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 209

๕. เรื่องภิกษุว่ายาก [๒๒๗]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 209

๕. เรื่องภิกษุว่ายาก [๒๒๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กุโส ยถา" เป็นต้น.

ภิกษุเด็ดหญ้าแล้วสงสัย

ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่แกล้ง เด็ดหญ้าต้นหนึ่ง เมื่อความรังเกียจเกิดขึ้น, จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง บอกความที่กรรมอันตนทำแล้ว ถามว่า "ผู้มีอายุ ภิกษุใดเด็ดหญ้า, โทษอะไร ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น" ลำดับนั้น ภิกษุนอกนี้ กล่าวกะเธอว่า "ท่านทำความสำคัญว่า โทษอะไรๆ มี เพราะเหตุแห่งหญ้าที่ท่านเด็ดแล้ว, โทษอะไรๆ ย่อมไม่มีในที่นี้, แต่ท่านแสดงแล้ว ย่อมพ้นได้" แม้ตนเองก็ได้เอามือทั้งสอง ถอนหญ้าแล้วถือไว้. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา.

กรรมที่บุคคลทำย่อหย่อนไม่มีผลมาก

พระศาสดาทรงติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยาย เมื่อทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๕. กุโส ยถา ทุคฺคหิโต หตฺถเมวานุกนฺตติ

สามญฺํ ทุปฺปรามฏฺํ นิรยายูปกฑฺฒติ.

ยํ กิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ สงฺกิลิฏฺญฺจ ยํ วตํ

สงฺกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.

กยิรญฺเจ กยิรเถนํ (๑) ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม

สิถิโล หิ ปริพฺพาโช ภิยฺโย อากิรเต รชํ.


(๑) อรรถกถา. กยิรา เจ กยิราเถนํ ตรงกับฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 210

"หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมตามบาดมือนั่นเอง ฉันใด, คุณเครื่องเป็นสมณะ ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี ย่อมคร่าเขาไปในนรก ฉันนั้น. การงานอย่างใด อย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน, วัตรใดที่เศร้าหมอง, พรหมจรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ, กรรมทั้งสามอย่างนั้น ย่อมไม่มีผลมาก. หากว่าบุคคลพึงทำกรรมใด ควรทำกรรมนั้นให้จริง, ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่น เพราะว่าสมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ยธุลีลง"

แก้อรรถ

หญ้ามีคมชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้ใบตาล ชื่อว่า กุโส ใน พระคาถานั้น. หญ้าคานั้น ผู้ใดจับไม่ดี ย่อมตามบาด คือย่อมแฉลบบาดมือของผู้นั้น ฉันใด แม้คุณเครื่องเป็นสมณะกล่าวคือสมณธรรม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ชื่อว่าอันบุคคลลูบคลำไม่ดี เพราะความเป็นผู้มีศีลขาดเป็นต้น.

บาทพระคาถาว่า นิรยายูปกฑฺฒติ ความว่า ย่อมให้เกิดในนรก.

บทว่า สถิลํ ได้แก่ การงานไรๆ ที่บุคคลทำ ทำให้เป็นการยึดถือไว้ย่อหย่อน โดยทำหละหลวม.

บทว่า สงฺกิลิฏฺํ ความว่า ชื่อว่า เศร้าหมองเพราะการเที่ยวไปในอโคจร มีหญิงแพศยาเป็นต้น.

บทว่า สงฺกสฺสรํ ได้แก่ พึงระลึกด้วยความสงสัยทั้งหลาย คือเห็นสงฆ์แม้ที่ประชุมกันด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากิจ มีกิจด้วยอุโบสถเป็นต้น แล้วระลึกด้วยความสงสัยของตน คือรังเกียจ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 211

ระแวงอย่างนี้ว่า "ภิกษุเหล่านี้ ทราบความประพฤติของเรา มีประสงค์จะยกวัตรเรา จึงประชุมกันแน่แท้."

สองบทว่า น ตํ โหติ ความว่า พรหมจรรย์ กล่าวคือสมณธรรมนั้น คือเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีผลมากแก่บุคคลนั้น, เพราะไม่มีผลมากแก่เธอ ก็ย่อมไม่มีผลมากแม้แก่ทายกผู้ถวายภิกษาแก่เธอ (ด้วย).

บทว่า กยิรา เจ ความว่า เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงทำการงานใด, จงทำการงานนั้นจริงๆ.

บาทพระคาถาว่า ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม ความว่า ควรทำการงานนั่นให้เป็นของอันตนทำมั่นคง คือเป็นผู้มีการสมาทานดำรงมั่นทำการงานนั่น.

บทว่า ปริพฺพาโช ได้แก่ สมณธรรมที่บุคคลทำด้วยการยึดถือ ย่อหย่อน อันถึงภาวะมีความขาดเป็นต้น.

บทว่า ภิยฺโย ความว่า สมณธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่สามารถที่จะนำออกซึ่งธุลี มีธุลีคือราคะเป็นต้น ที่มีอยู่ ณ ภายใน โดยที่แท้ ย่อมเกลี่ยธุลี มีธุลีคือราคะเป็นต้น แม้อย่างอื่น ณ เบื้องบนของผู้นั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว. ภิกษุแม้นั้นดำรงอยู่ในความสังวรแล้ว ภายหลังเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุว่ายาก จบ.