พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. เรื่องนิครนถ์ [๒๓๐]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35034
อ่าน  445

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 217

๘. เรื่องนิครนถ์ [๒๓๐]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 217

๘. เรื่องนิครนถ์ [๒๓๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกนิครนถ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อลชฺชิตาเย" เป็นต้น.

พวกนิครนถ์โต้วาทะกับพวกภิกษุ

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายเห็นพวกนิครนถ์แล้ว สนทนากันว่า "ผู้มีอายุ พวกนิครนถ์เหล่านี้ประเสริฐกว่าพวกชีเปลือย ซึ่งไม่ปกปิดโดยประการทั้งปวง, (เพราะว่า) พวกนิครนถ์ที่ปกปิดแม้ข้างหน้าข้างเดียวเท่านั้น ก็เห็นจะเป็นผู้มีความละอาย (อยู่บ้าง)." พวกนิครนถ์ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า "พวกเรา ย่อมปกปิดเพราะเหตุนั่นหามิได้ พวกเราปกปิดเพราะเหตุนี้ คือก็ละอองต่างๆ มีฝุ่นและธุลีเป็นต้นนั่นเทียว เป็นของเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์, เมื่อเป็นอย่างนั้น ละอองต่างๆ มีฝุ่นและธุลีเป็นต้นเหล่านั่น อย่าตกลงในภาชนะภิกษาทั้งหลายของพวกเรา" ดังนี้แล้ว ทำการพูดกับภิกษุเหล่านั้นอย่างมากมาย ด้วยสามารถแห่งการโต้ตอบวาทะกัน. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้น ในกาลที่ตนนั่งแล้ว.

ผู้สมาทานผิดย่อมถึงทุคติ

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ละอายในสิ่งอันไม่ควรละอาย ไม่ละอายในสิ่งอันควรละอาย ย่อมเป็นผู้มีทุคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าแน่แท้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 218

๘. อลชฺชิตาเย ลชฺชนฺติ ลชฺชิตาเย น ลชุชเร มิจฺฉาทิฏฺิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคติํ. อภเย ภยทสฺสิโน ภเย จ อภยทสฺสิโน มิจฺฉาทิฏฺิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคติํ.

"สัตว์ทั้งหลาย ย่อมละอายเพราะสิ่งอันไม่ควรละอาย ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละลาย สมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติ. สัตว์ทั้งหลาย มีปกติเห็น ในสิ่งอันไม่ควรกลัวว่าควรกลัว และมีปกติเห็นในสิ่งอันควรกลัวว่าไม่ควรกลัว สมาทานมิจฉาทิฏฐิย่อมถึงทุคติ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลชฺชิตาเย ได้แก่ เพราะภาชนะภิกษา อันไม่ควรละอาย. จริงอยู่ ภาชนะภิกษา ชื่อว่าสิ่งอันไม่ควรละอาย. ก็สัตว์เหล่านั้น เมื่อปกปิดภาชนะภิกษานั้นแล้วเที่ยวไป ชื่อว่าย่อมละอาย เพราะภาชนะภิกษาอันไม่ควรละอายนั้น.

บทว่า ลชฺชิตาเย ความว่า เพราะองค์อันยังหิริให้กำเริบอันไม่ปกปิดแล้ว. จริงอยู่ องค์อันยังหิริให้กำเริบ ชื่อว่าสิ่งอันควรละอาย ก็สัตว์เหล่านั้น เมื่อไม่ปกปิดองค์อันยังหิริให้กำเริบนั้นเที่ยวไป ชื่อว่าย่อมไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอาย. เพราะเหตุนั้น เมื่อสัตว์เหล่านั้นละอาย เพราะสิ่งอันไม่ควรละอายอยู่ ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอายอยู่. ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะภาวะคือความยึดถือเปล่า และเพราะภาวะคือความยึดถือโดยประการอื่น, สัตว์เหล่านั้นสมาทานมิจฉาทิฏฐินั้นแล้วเที่ยวไปอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 219

ชื่อว่าสมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติอันต่างโดยอบายมีนรกเป็นต้น.

บทว่า อภเย เป็นต้น ความว่า ภาชนะภิกษา ชื่อว่าสิ่งอันไม่ควรกลัว เพราะกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และภัยคือทุจริตหาเกิดขึ้นเพราะอาศัยภาชนะภิกษาไม่. ก็สัตว์ทั้งหลายปกปิดภาชนะนั้นเพราะความกลัว ชื่อว่ามีปกติเห็นในสิ่งอันไม่ควรกลัวว่าควรกลัว. ก็องค์อันยังหิริให้กำเริบนั้น ชื่อว่าสิ่งอันควรกลัว เพราะกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยองค์อันยังหิริให้กำเริบ. และเพราะไม่ปกปิดองค์อันยังหิริให้กำเริบนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปกติเห็นในสิ่งอันควรกลัวว่าไม่ควรกลัว. สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสมาทานมิจฉาทิฏฐิ เพราะค่าที่ตนสมาทานการยึดถือเปล่านั้น และการยึดถือโดยประการอื่น ย่อมถึงทุคติ.

ในกาลจบเทศนา พวกนิครนถ์เป็นอันมาก มีใจสังเวชแล้วบวช, เทศนาสำเร็จประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนิครนถ์ จบ.