พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นาควรรค ที่ ๒๓ ว่าด้วยความอดกลั้นต่อคําล่วงเกินเหมือนช้างทนลูกศร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35036
อ่าน  475

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 223

นาควรรค ที่ ๒๓

ว่าด้วยความอดกลั้นต่อคําล่วงเกินเหมือนช้างทนลูกศร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 223

คาถาธรรมบท

นาควรรค (๑) ที่ ๒๓

ว่าด้วยความอดกลั้นต่อคำล่วงเกินเหมือนช้างทนลูกศร

[๓๓] ๑. เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น เพราะชนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้ว บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ฝึก (ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย ม้าอัสดร ๑ ม้าสินธพผู้อาชาไนย ๑ ช้างใหญ่ชนิดกุญชร ๑ ที่ ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่บุคคลที่มีตนฝึกแล้วย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษนั้น).

๒. ก็บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยยานเหล่านี้ เหมือนคนผู้ฝึก (ตน) แล้ว ไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป ด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วฉะนั้นหามิได้.

๓. กุญชร นามว่า ธนปาลกะ. ตกมันจัด ห้ามได้ยาก ถูกขังไว้ไม่บริโภคฟ่อนหญ้า กุญชรระลึกถึง (แต่) นาควัน

๔. ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินมาก มักง่วง และมักหลับกระสับกระส่าย ประหนึ่งสุกรใหญ่ที่ถูก


(๑) วรรคนี้ มีอรรถกถา ๘ เรื่อง.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 224

ปรนปรือด้วยอาหารฉะนั้น ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึม ย่อมเข้าไปถึงห้องร่ำไป.

๕. เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป ตามอาการที่ปรารถนาตามอารมณ์ที่ใคร่ (และ) ตามความสบาย วันนี้เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่งนายควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมันฉะนั้น.

๖. ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น.

๗. ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์ ไว้เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้ เขาพึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้นเสียแล้ว พึงเป็นผู้มีใจยินดี มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์ ไว้เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้ เขาพึงเที่ยวไปคนเดียว เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้น ที่ทรงชนะเด็ดขาดแล้ว (หรือ) เหมือนช้างชื่อว่ามาตังคะ ละโขลงแล้ว เที่ยวไปในป่าตัวเดียวฉะนั้น. ความเที่ยวไปแห่งบุคคลคนเดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องเป็นสหายไม่มีอยู่ในชนพาล บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนช้างชื่อมาตังคะ ตัวมีความขวนขวายน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 225

เที่ยวไปอยู่ในป่าฉะนั้น และไม่พึงทำบาปทั้งหลาย.

๘. เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายทั้งหลายนำความสุขมาให้ ความยินดีด้วยปัจจัยนอกนี้ๆ (ตามมีตามได้) นำความสุขมาให้ บุญนำความสุขมาให้ ในขณะสิ้นชีวิต การละทุกข์ทั้งปวงเสียได้นำความสุขมาให้ ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่มารดา นำความสุขมาให้ในโลก อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา นำความสุขมาให้ ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะ นำความสุขมาให้ในโลก อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์ นำความสุขมาให้ ศีลนำความสุขมาให้ตราบเท่าชรา ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว นำความสุขมาให้ การได้เฉพาะซึ่งปัญญา นำความสุขมาให้ การไม่ทำบาปทั้งหลาย นำความสุขมาให้.

จบนาควรรคที่ ๒๓