พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [๒๓๕]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35040
อ่าน  538

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 242

๔. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [๒๓๕]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 242

๔. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [๒๓๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มิทฺธี ยทา" เป็นต้น.

พระเจ้าปเสนทิโกศลง่วงเพราะเสวยจุเกินไป

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระราชาเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสารทะนานหนึ่ง กับสูปพยัญชนะ พอควรแก่ข้าวสุกนั้น. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังไม่ทรงบรรเทาความเมาในภัตได้เลย ได้เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา มีพระรูปอันลำบาก พลิกไปข้างนี้และข้างนี้ แม้ถูกความง่วงครอบงำ เมื่อไม่สามารถจะผทมตรงๆ ได้ จึงประทับนั่ง ณ ที่สุดข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงติการบริโภคจุ

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า "มหาบพิตร พระองค์ยังไม่ทันได้ทรงพักผ่อนเลย เสด็จมากระมัง"

พระราชา. "ถูกละ พระเจ้าข้า, ตั้งแต่กาลที่บริโภคแล้ว หม่อมฉัน มีทุกข์มาก."

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า "มหาบพิตร คนบริโภคมากเกินไป ย่อมมีทุกข์อย่างนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. มิทฺธี ยทา โหติ มหคฺฆโส จ นิทฺทายิตา สมฺปริวตฺตสายี มหาวราโหว นิวาปปุฏฺโ ปุนปฺปุนํ คพฺภมุเปติ มนฺโท.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 243

"ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินมาก มักง่วง และมักนอนหลับกระสับกระส่าย ประหนึ่งสุกรใหญ่ ที่ถูกปรนปรือด้วยอาหารฉะนั้น ในกาลนั้น เขาเป็นคน มึนซึม ย่อมเข้าไปถึงห้องร่ำไป."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺธี ความว่า ผู้อันความท้อแท้และ ความง่วงเหงาครอบงำ.

บทว่า มหคฺฆโส ความว่า ผู้บริโภคมาก เหมือนอาหรหัตถกพราหมณ์ อลังสาฏกพราหมณ์ ตัตถวัฏฏกพราหมณ์ กากมาสกพราหมณ์ และภุตตวัมมิกพราหมณ์ คนใดคนหนึ่ง.

บทว่า นิวาปปุฏฺโ ความว่า ถูกปรนปรือแล้วด้วยข้าวหมูมีรำเป็นต้น. จริงอยู่ สุกรบ้านเขาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เวลายังอ่อน ในเวลามีสรีระอ้วน ไม่ได้เพื่อจะออกจากเรือนไปข้างนอก ส่ายไปส่ายมาในที่ต่างๆ มีใต้เตียงเป็นต้นแล้ว ย่อมนอนหายใจฟูดฟาดอยู่เท่านั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ว่า "บุคคลผู้มีความง่วงงุน กินจุ และเมื่อไม่อาจยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอิริยาบถอย่างอื่น มักนอนหลับพลิกกลับไปกลับมาตามปกติ เหมือนสุกรใหญ่ที่ถูกปรนปรือด้วยเหยื่อฉะนั้น ในขณะใด ในขณะนั้น เขาย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ได้, เพราะไม่มนสิการไตรลักษณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่ามีปัญญาทึบ ย่อมเข้าห้อง คือไม่พ้นไปจากการอยู่ในห้อง."

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 244

พระศาสดาทรงบอกอุบายบรรเทากินจุ

ในกาลจบเทศนา พระศาสดาได้ตรัสพระคาถานี้ด้วยสามารถอุปการะ แก่พระราชาว่า:-

"คนผู้มีสติทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้แล้วนั้น ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย แก่ช้า อายุยืน."

ดังนี้แล้ว โปรดให้อุตตรมาณพเรียนไว้แล้ว ทรงแนะอุบายว่า "เธอ พึงกล่าวคาถานี้เฉพาะในเวลาที่พระราชาเสวย, และพึงให้พระราชาทรงลดโภชนะลงด้วยอุบายนี้," เขาได้กระทำเช่นนี้.

สมัยต่อมา พระราชาทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระสรีระเบา ทรงถึงความสำราญ เพราะความที่ทรงมีพระกระยาหารทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีความคุ้นเคยบังเกิดขึ้นในพระศาสดาแล้ว ทรงให้อสทิสทาน เป็นไป ๗ วัน. ในเพราะทรงอันโมทนาทาน มหาชนซึ่งมาประชุม (ณ ที่นั้น) บรรลุคุณวิเศษใหญ่แล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ.