พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ตัณหาวรรคที่ ๒๔ ว่าด้วยตัณหา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35045
อ่าน  512

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 266

ตัณหาวรรคที่ ๒๔

ว่าด้วยตัณหา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 266

คาถาธรรมบท

ตัณหาวรรค (๑) ที่ ๒๔

ว่าด้วยตัณหา

[๓๔] ๑. ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแต่คนผู้มีปกติประมาท เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น ตัณหานี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกรด แล้วงอกงามอยู่ฉะนั้น แต่ผู้ใดย่ำยีตัณหานั่นซึ่งเป็นธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้ ความโศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น เพราะฉะนั้น เราบอกกะท่านทั้งหลายว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหาเสียเถิด ประหนึ่งผู้ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบางเสียฉะนั้น มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อฉะนั้น.

๒. ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึงบุคคลตัดแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด


(๑) วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 267

ทุกข์นี้ เมื่อตัณหานุสัยอันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นร่ำไป แม้ฉันนั้น กระแส (แห่งตัณหา) ๓๖ อันไหลไปในอารมณ์เป็นที่พอใจ เป็นธรรมชาติ กล้า ย่อมมีแก่บุคคลใด ความดำริทั้งหลายอันใหญ่ อาศัยราคะย่อมนำบุคคลนั้นผู้มีทิฏฐิชั่วไป กระแส (แห่งตัณหาทั้งหลาย) ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาดุจเถาวัลย์แตกขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้งหลายเห็นตัณหานั้น เป็นดังเถาวัลย์เกิดแล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา โสมนัสทั้งหลายที่ซ่านไป และเปื้อนตัณหาดุจยางเหนียวย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์ทั้งหลายนั้นอาศัยความสำราญ จึงเป็นผู้แสวงหาความสุข นระเหล่านั้นแล ย่อมเป็นผู้เข้าถึงซึ่งชาติชรา หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อมกระเสือกกระสน เหมือนกระต่ายอันนายพรานดักได้แล้วฉะนั้น หมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในสังโยชน์และกิเลสเครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ อยู่ช้านาน หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อมกระเสือกกระสนเหมือนกระต่ายที่นายพรานดักได้แล้วฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุหวังธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสแก่ตน พึงบรรเทาตัณหาผู้ทำความดิ้นรนเสีย.

๓. บุคคลใด มีอาลัยดุจหมู่ไม้อันตั้งอยู่ในป่าออกแล้ว น้อมไปในป่า (คือตปธรรม) พ้นจากป่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 268

แล้ว ยังแล่นไปสู่ป่าตามเดิม ท่านทั้งหลายจงแลดู บุคคลนั้นนั่นแล เขาพ้นแล้ว (จากเครื่องผูก) ยังแล่นไปสู่เครื่องผูกตามเดิม.

๔. เครื่องจองจำใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย หากล่าวเครื่องจองจำนั้นว่าเป็นของมั่นคงไม่ ความกำหนัดใด ของชนทั้งหลายผู้กำหนัดยินดียิ่งนัก ในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลาย และความเยื่อใยในบุตรและในภรรยาทั้งหลายใด นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวความกำหนัดและความเยื่อใยนั้นว่ามั่นคง.

๕. สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวทำไว้เองฉะนั้น ธีรชนทั้งหลายตัดกระแสตัณหาแม้นั้นแล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวง.

๖. ท่านจงเปลื้อง (อาลัย) ในก่อนเสีย จงเปลื้อง (อาลัย) ข้างหลังเสีย จงเปลื้อง (อาลัย) ในท่ามกลางเสีย จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้นในธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก.

๗. ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี มีราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างาม บุคคลนั่นแลย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น ส่วนภิกษุใด ยินดีในธรรมเป็นที่เข้าไประงับวิตก เจริญอสุภฌานอยู่ มีสติทุกเมื่อ ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 269

นั่นแล จักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้ ภิกษุนั่น จะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้.

. (ผู้ใด) ถึงความสำเร็จ มีปกติไม่สะดุ้ง มีตัณหาไปปราศแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวนใจ ได้ตัดลูกศรอันให้ไปสู่ภพทั้งหลายเสียแล้ว กายนี้ (ของผู้นั้น) ชื่อว่าไม่มีที่สุด (ผู้ใด) มีตัณหาไปปราศแล้ว ไม่มีความถือมั่น ฉลาดในบทแห่งนิรุตติ รู้ที่ประชุมแห่งอักษรทั้งหลาย และรู้เบื้องต้นและ เบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย ผู้นั้นแล มีสรีระมีในที่สุด เราย่อมเรียกว่า ผู้มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ.

๙. เราเป็นผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้ธรรมทุกอย่าง ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้แล้วทุกอย่าง พ้นแล้วในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง ตัณหา รู้เองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า (ว่าเป็นอุปัชฌาย์ อาจารย์)

๑๐. ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.

๑๑. โภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา แต่ไม่ฆ่าคนผู้แสวงหาฝั่งโดยปกติ คนทรามปัญญา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 270

ย่อมฆ่าตนเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะความทะยานอยาก ในโภคะ.

๑๒. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากราคะ จึงเป็นของมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์ก็มีโทสะเป็นโทษฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะจึงมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยากเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก ความอยาก จึงมีผลมาก.

จบตัณหาวรรคที่ ๒๔