พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เรื่องปลาชื่อกปิละ [๒๔๐]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35046
อ่าน  565

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 271

๒๔. ตัณหาวรรควรรณนา

๑. เรื่องปลาชื่อกปิละ [๒๔๐]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 271

๒๔. ตัณหาวรรควรรณนา

๑. เรื่องปลาชื่อกปิละ [๒๔๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปลาชื่อกปิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มนุชสฺส" เป็นต้น.

สองพี่น้องออกบวช

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ปรินิพพานแล้ว กุลบุตรสองคนพี่น้องออกบวชในสำนักแห่งพระสาวกทั้งหลาย.

บรรดากุลบุตรสองคนนั้น คนพี่ได้ชื่อว่าโสธนะ, คนน้องชื่อกปิละ. ส่วนมารดาของคนทั้งสองนั้น ชื่อว่าสาธนี, น้องสาวชื่อตาปนา. แม้หญิงทั้งสองนั้น ก็บวชแล้วใน (สำนัก) ภิกษุณี. เมื่อคนเหล่านั้นบวชแล้วอย่างนั้น พี่น้องทั้งสองทำวัตรและปฏิวัตรแก่พระอาจารย์และพระอุปัชฌายะอยู่ วันหนึ่ง ถามว่า "ท่านขอรับ ธุระในพระศาสนานี้มีเท่าไร" ได้ยินว่า "ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ ๑ วิปัสสนาธุระ ๑" ภิกษุผู้เป็นพี่คิดว่า "เราจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์และพระอุปัชฌายะ ๕ พรรษาแล้ว เรียนกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต เข้าไปสู่ป่าพยายามอยู่ ก็บรรลุพระอรหัตตผล.

น้องชายเมาในคันถธุระ

ภิกษุน้องชายคิดว่า "เรายังหนุ่มก่อน, ในเวลาแก่จึงจักบำเพ็ญ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 272

วิปัสสนาธุระ "จึงเริ่มตั้งคันถธุระ เรียนพระไตรปิฎก. บริวารเป็นอันมากได้เกิดขึ้น เพราะอาศัยปริยัติของเธอ, ลาภก็ได้เกิดขึ้น เพราะอาศัยบริวาร. เธอเมาแล้วด้วยความเมาในความเป็นผู้สดับมาก อันความทะยานอยากในลาภครอบงำแล้ว เพราะเป็นผู้สำคัญตัวว่าฉลาดยิ่ง ย่อมกล่าวแม้สิ่งที่เป็นกัปปิยะ อันคนเหล่าอื่นกล่าวแล้วว่า "เป็นอกัปปิยะ" กล่าวแม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะว่า "เป็นกัปปิยะ," กล่าวแม้สิ่งที่มีโทษว่า "ไม่มีโทษ," กล่าวแม้สิ่งไม่มีโทษว่า "มีโทษ." เธอแม้อันภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลายกล่าวว่า "คุณกปิละ คุณอย่าได้กล่าวอย่างนี้" แล้วแสดงธรรมและวินัยกล่าวสอนอยู่ ก็กล่าวว่า "พวกท่านจะรู้อะไร พวกท่านเช่นกับกำมือเปล่า" เป็นต้นแล้ว ก็เที่ยวขู่ตวาดภิกษุทั้งหลายอยู่.

น้องชายไม่เชื่อพี่

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายบอกเนื้อความนั้นแม้แก่พระโสธนะเถระผู้เป็นพี่ชายของเธอแล้ว. แม้พระโสธนะเถระเข้าไปหาเธอ แล้วตักเตือนว่า "คุณกปิละ ก็การปฏิบัติชอบของภิกษุทั้งหลายผู้เช่นเธอชื่อว่าเป็นอายุ พระศาสนา เพราะฉะนั้น เธออย่าได้ละการปฏิบัติชอบ แล้วกล่าวคัดค้านสิ่งที่เป็นกัปปิยะเป็นต้นอย่างนั้นเลย." เธอมิได้เอื้อเฟื้อถ้อยคำแม้ของท่าน. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ พระเถระก็ตักเตือนเธอ ๒ - ๓ ครั้ง ทราบเธอผู้ไม่รับคำตักเตือนว่า "ภิกษุนี้ไม่ทำตามคำของเรา" จึงกล่าวว่า "คุณ ถ้าดังนั้น เธอจักปรากฏด้วยกรรมของตน" ดังนี้แล้ว หลีกไป.

น้องชายเสียคนเพราะถูกทอดทิ้ง

จำเดิมแต่นั้น ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก แม้เหล่าอื่น ทอดทิ้ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 273

เธอแล้ว. เธอเป็นผู้มีความประพฤติชั่ว อันพวกผู้มีความประพฤติชั่วแวดล้อมอยู่ วันหนึ่ง คิดว่า "เราจักสวดปาติโมกข์" จึงถือพัดไปนั่งบนธรรมาสน์ในโรงอุโบสถ แล้วถามว่า "ผู้มีอายุ ปาติโมกข์ย่อมเป็นไปเพื่อภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในที่นี้หรือ" เห็นภิกษุทั้งหลายนิ่งเสีย ด้วยคิดว่า "ประโยชน์อะไร ด้วยคำโต้ตอบที่เราให้แก่ภิกษุ" จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ไม่มี, ประโยชน์อะไรด้วยปาติโมกข์ ที่พวกท่านจะฟังหรือไม่ฟัง" ดังนี้แล้ว ก็ลุกไปจากอาสนะ. เธอยังศาสนาคือปริยัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปให้เสื่อมลงแล้วด้วยอาการอย่างนี้. แม้พระโสธนะเถระก็ปรินิพพานในวันนั้นเอง.

ในกาลสิ้นอายุ ภิกษุกปิละเกิดในอเวจีมหานรก. มารดาและน้องสาวของเธอแม้นั้น ถึงทิฏฐานุคติ ของเธอนั่นแล ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักแล้ว ก็บังเกิดในอเวจีมหานรกนั้นเหมือนกัน.

โจรเกิดในเทวโลกด้วยอำนาจของศีล

ก็ในกาลนั้น บุรุษ ๕๐๐ คนทำโจรกรรมมีการปล้นชาวบ้านเป็นต้น เป็นอยู่ด้วยกิริยาของโจร ถูกพวกมนุษย์ในชนบทตามจับแล้ว หนีเข้าป่า ไม่เห็นที่พึ่งอะไรในป่านั้น เห็นภิกษุผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง ไหว้แล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้าเถิด."

พระเถระกล่าวว่า "ชื่อว่าที่พึ่งเช่นกับศีล ย่อมไม่มีแก่ท่านทั้งหลาย, พวกท่านแม้ทั้งหมดจงสมาทานศีล ๕ เถิด."

โจรเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว สมาทานศีลทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 274

ลำดับนั้น พระเถระตักเตือนโจรเหล่านั้นว่า "บัดนี้ พวกท่านเป็นผู้มีศีล พวกท่านไม่ควรล่วงศีลแม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเลย ความประทุษร้ายทางใจ ก็ไม่ควรทำ." โจรเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" แล้ว.

ครั้งนั้น ชาวชนบทเหล่านั้น (มา) ถึงที่นั้นแล้ว ค้นหาข้างโน้นข้างนี้ พบโจรเหล่านั้นแล้ว ก็ช่วยกันปลงชีวิตเสียทั้งหมด. พวกโจรเหล่านั้นทำกาละแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลก. หัวหน้าโจรได้เป็นหัวหน้าเทพบุตร.

เทพบุตรถือปฏิสนธิในตระกูลชาวประมง

เทพบุตรเหล่านั้น ท่องเที่ยวไปในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดแล้วในบ้านชาวประมง ๕๐๐ ตระกูล ใกล้ประตูพระนครสาวัตถี. หัวหน้าเทพบุตรถือปฏิสนธิในเรือนของหัวหน้าชาวประมง, พวกเทพบุตรนอกนี้ ถือปฏิสนธิในเรือนชาวประมงนอกนี้. การถือปฏิสนธิและการออกจากท้องมารดาแห่งชนเหล่านั้น ได้มีแล้วในวันเดียวกันทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

หัวหน้าชาวประมงให้คนเที่ยวแสวงหาว่า "พวกทารกแม้เหล่าอื่นในบ้านนี้ เกิดแล้วในวันนี้มีอยู่บ้างไหม" ได้ยินความที่ทารกเหล่านั้นเกิดแล้ว จึงสั่งให้ ให้ทรัพย์ค่าเลี้ยงดูแก่ชาวประมงเหล่านั้น ด้วยตั้งใจว่า "พวกทารกนั้น จักเป็นสหายของบุตรเรา." ทารกเหล่านั้นแม้ทุกคน เป็นสหายเล่นฝุ่นร่วมกัน ได้เป็นผู้เจริญวัยโดยลำดับแล้ว บรรดาเด็กเหล่านั้น บุตรของหัวหน้าชาวประมงได้เป็นผู้เยี่ยมโดยยศและอำนาจ.

กปิละเกิดเป็นปลาใหญ่

แม้ภิกษุกปิละ ไหม้ในนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่งแล้ว ในกาลนั้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 275

บังเกิดเป็นปลาใหญ่ในแม่น้ำอจิรวดี มีสีเหมือนทองคำ มีปากเหม็น ด้วยเศษแห่งวิบาก.

ต่อมาวันหนึ่ง สหายเหล่านั้นปรึกษากันว่า "เราจักจับปลา" จึงถือเอาเครื่องจับสัตว์น้ำมีแหเป็นต้น ทอดไปในแม่น้ำ. ทีนั้นปลานั้นได้เข้าไปสู่ภายในแหของคนเหล่านั้น. ชาวบ้านประมงทั้งหมด เห็นปลานั้นแล้ว ได้ส่งเสียงเอ็ดอึงว่า "ลูกของพวกเราเมื่อจับปลาครั้งแรก จับได้ปลาทองแล้ว, คราวนี้ พระราชาจักพระราชทานทรัพย์แก่เราเพียงพอ." สหายแม้เหล่านั้นแล เอาปลาใส่เรือ ยกเรือขึ้นแล้วก็ไปสู่พระราชสำนัก.

แม้เมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นปลานั้น ตรัสว่า "นั่นอะไร " พวกเขาได้กราบทูลว่า "ปลา พระเจ้าข้า." พระราชาทอดพระเนตรเห็น ปลามีสีเหมือนทองคำ ทรงดำริว่า "พระศาสดาจักทรงทราบเหตุที่ปลานั่นเป็นทองคำ" ดังนี้ แล้วรับสั่งให้คนถือปลา ได้เสด็จไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อปากอันปลาพออ้าเท่านั้น พระเชตวันทั้งสิ้น ได้มีกลิ่นเหม็นเหลือเกิน.

พระราชาทูลถามพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า เพราะเหตุไร ปลาจึงมีสีเหมือนทองคำ และเพราะเหตุไร กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของมัน"

พระศาสดา. มหาบพิตร ปลานี้ได้เป็นภิกษุชื่อกปิละ เป็นพหูสูต มีบริวารมาก ในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป, ถูกความทะยานอยากในลาภครอบงำแล้ว ด่าบริภาษพวกภิกษุผู้ไม่ถือคำของตน ยังพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ให้เสื่อมลงแล้ว. เขาบังเกิดในอเวจีด้วยกรรมนั้นแล้ว บัดนี้เกิดเป็นปลา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 276

ด้วยเศษแห่งวิบาก ก็เพราะเธอบอกพระพุทธวจนะ กล่าวสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าสิ้นกาลนาน, จึงได้อัตภาพมีสีเหมือนทองคำนี้ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น. เธอได้เป็นผู้บริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของเธอ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น. มหาบพิตร อาตมภาพจะให้ปลานั้นพูด.

พระราชา. ให้พูดเถิด พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามปลาว่า "เจ้าชื่อกปิละหรือ"

ปลา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อกปิละ.

พระศาสดา. เจ้ามาจากที่ไหน

ปลา. มาจากอเวจีมหานรก พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. พระโสธนะพี่ชายใหญ่ของเจ้าไปไหน

ปลา. ปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็นางสาธนีมารดาของเจ้าเล่าไปไหน

ปลา. เกิดในนรก พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. นางตาปนาน้องสาวของเจ้าไปไหน

ปลา. เกิดในมหานรก พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. บัดนี้เจ้าจักไปที่ไหน

ปลาชื่อกปิละกราบทูลว่า "จักไปสู่อเวจีมหานรกดังเดิม พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว อันความเดือดร้อนครอบงำแล้ว เอาศีรษะฟาดเรือ ทำกาละในทันทีนั่นเอง เกิดในนรกแล้ว. มหาชนได้สลดใจมีโลมชาติชูชันแล้ว.

พระศาสดาตรัสกปิลสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูวาระจิตของบริษัทผู้ประชุม

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 277

กันในขณะนั้น เพื่อจะทรงแสดงธรรมให้สมควรแก่ขณะนั้น จึงตรัสกปิลสูตรในสุตตนิบาต (๑) ว่า "นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวการประพฤติธรรม ๑ การประพฤติพรหมจรรย์ ๑ นั่น ว่าเป็นแก้วอันสูงสุด" ดังนี้ เป็นต้นแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๑. มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน ตณฺห วฑฺฒติ มาลุวา วิย โส ปลวตี หุราหุรํ ผลมิจฺฉํว วนสฺมิํ วานโร.

ยํ เอสา สหตี ชมฺมี ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา

โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ อภิวฑฺฒํว พีรณํ.

โย เจ ตํ สหตี ชมฺมิํ ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ

โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ อุทพินฺทุว โปกฺขรา.

ตํ โว วทามิ ภทฺทํ โว ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา

ตณฺหาย มูลํ ขณถ อุสีรตฺโถว พีรณํ.

มา โว นฬํ ว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ.

"ตัณหา ดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแก่คนผู้มีปกติประพฤติประมาท. เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น. ตัณหานี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น, ดุจหญ้าคมบางอัน


(๑) ขุ. สุ. ๒๕/ ข้อ ๓๒๑. ธรรมจริยสูตร.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 278

ฝนตกรดแล้วงอกงามอยู่ฉะนั้น, แต่ผู้ใด ย่อมย่ำยีตัณหานั่น ซึ่งเป็นธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้, ความโศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น. เพราะฉะนั้น เราบอกกะท่านทั้งหลายว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหาเสียเถิด, ประหนึ่งผู้ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบางเสียฉะนั้น, มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺตจาริโน ความว่า ฌานไม่เจริญเทียว วิปัสสนา มรรค และผล ก็ไม่เจริญ แก่บุคคลผู้มีปกติประพฤติประมาท ด้วยความประมาท มีการปล่อยสติเป็นลักษณะ อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า เครือเถาย่านทรายร้อยรัด รึงรัดต้นไม้อยู่ ย่อมเจริญเพื่อความพินาศแห่งต้นไม้นั้นฉันใด, ตัณหาก็ฉันนั้น ชื่อว่าเจริญแก่บุคคลนั้น เพราะอาศัยทวารทั้ง ๖ เกิดขึ้นบ่อยๆ.

บาทพระคาถาว่า โส ปริปฺล (๑) วติ หุราหุรํ ความว่า บุคคลนั้น คือผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหา ย่อมเร่ร่อนคือแล่นไปในภพน้อยใหญ่. ถามว่า "เขาย่อมเร่ร่อนไปเหมือนอะไร" แก้ว่า "เหมือนวานรตัวปรารถนาผลไม้ โลดไปในป่าฉะนั้น." อธิบายว่า วานรเมื่อปรารถนาผลไม้ ย่อมโลดไปในป่า. มันจับกิ่งไม้นั้นๆ ปล่อยกิ่งนั้นแล้ว จับกิ่งอื่น. ปล่อย


(๑) บาลีเป็น ปลวตี.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 279

กิ่งแม้นั้นแล้ว จับกิ่งอื่น ย่อมไม่ถึงความเป็นสัตว์ที่บุคคลควรกล่าวได้ว่า "มันไม่ได้กิ่งไม้จึงนั่งเจ่าแล้ว" ฉันใด บุคคลผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่ถึงความเป็นผู้ที่ใครๆ ควรพูดได้ว่า "เขาไม่ได้อารมณ์แล้ว จึงถึงความไม่เป็นไปตามความทะเยอทะยาน."

บทว่า ยํ เป็นต้น ความว่า ตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ชื่อว่า ลามก เพราะความเป็นของชั่ว ถึงซึ่งอันนับว่า "วิสตฺติกา" เพราะความที่ตัณหานั้น เป็นธรรมชาติซ่านไป คือว่าข้องอยู่ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น โดยความเป็นดุจอาหารเจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจดอกไม้เจือด้วยพิษ โดยความเป็นคุณผลไม้เจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจเครื่องบริโภคเจือด้วยพิษ ย่อมครอบงำบุคคลใด, ความโศกทั้งหลายมีวัฏฏะเป็นมูล ย่อมเจริญยิ่งในภายในของบุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ฝนตกรดอยู่บ่อยๆ ย่อมงอกงามในป่าฉะนั้น.

บทว่า ทุรจฺจยํํ เป็นต้น ความว่า ก็บุคคลใด ย่อมข่ม คือย่อมครอบงำตัณหานั่น คือมีประการที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ชื่อว่ายากที่ใครจะล่วงได้ เพราะเป็นของยากจะก้าวล่วงคือละได้, ความโศกทั้งหลายมีวัฏฏะเป็นมูล ย่อมตกไปจากบุคคลนั้น คือไม่ตั้งอยู่ได้เหมือนหยาดน้ำตกไปบนใบบัว คือบนใบดอกปทุม ไม่ติดอยู่ได้ฉะนั้น.

หลายบทว่า ตํ โว วทามิ คือ เพราะเหตุนั้น เราขอกล่าวกะท่านทั้งหลาย.

สองบทว่า ภทฺทํ โว ความว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย, อธิบายว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้ถึงความพินาศ ดุจกปิละภิกษุรูปนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 280

บทว่า มูลํ เป็นต้น ความว่า ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหา อันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยพระอรหัตตมรรค. ถามว่า "ขุดรากแห่งตัณหานั้น เหมือนอะไร" แก้ว่า "เหมือนผู้ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบางฉะนั้น." อธิบายว่าบุรุษผู้ต้องการแฝก ย่อมขุดหญ้าคมบางด้วยจอบใหญ่ฉันใด ท่านทั้งหลาย จงขุดรากแห่งตัณหานั้นเสียฉันนั้น.

สองบาทคาถา (๑) ว่า มา โว นฬํ ว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ ความว่า กิเลสมาร มรณมาร และเทวบุตรมาร จงอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อยๆ เหมือนกระแสน้ำพัดมาโดยกำลังแรง ระรานไม้อ้อซึ่งเกิดอยู่ ริมกระแสน้ำฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา บุตรของชาวประมงทั้ง ๕๐๐ ถึงความสังเวช ปรารถนาการทำที่สุดแห่งทุกข์ บวชในสำนักพระศาสดา ทำที่สุดแห่งทุกข์ต่อกาลไม่นานเท่าไร ได้เป็นผู้มีการบริโภคเป็นอันเดียว โดยธรรมเป็นเครื่องบริโภค คืออเนญชวิหารธรรมและสมาปัตติธรรม ร่วมกับพระศาสดา ดังนี้แล.

เรื่องปลาชื่อกปิละ จบ.


(๑) กึ่งพระคาถาสุดท้าย.