๑๒. เรื่องอังกุรเทพบุตร [๒๕๑]
[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 334
๑๒. เรื่องอังกุรเทพบุตร [๒๕๑]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 334
๑๒. เรื่องอังกุรเทพบุตร [๒๕๑]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลา ทรงปรารภอังกุรเทพบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ติณโทสานิ เขตฺตานิ" เป็นต้น.
ทานที่เลือกให้พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ
ข้าพเจ้าทำเรื่องให้พิสดารแล้วแล ในพระคาถาว่า "เย ฌานปฺปสุตา ธีรา" เป็นต้น. สมจริงดังคำที่ข้าพเจ้าปรารภอินทกเทพบุตรกล่าวไว้ในเรื่องนั้นดังนี้ว่า : "ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นยังภิกษาทัพพีหนึ่ง ที่เขานำมาเพื่อตน ให้ถึงแล้วแก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปสู่ภายในหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. บุญนั้นของอินทกเทพบุตรนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร ทำระเบียบแห่งเตาประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายแล้วสิ้นหมื่นปี" เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตร จึงกล่าวอย่างนั้น. เมื่ออินทกเทพบุตร กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาจึงตรัสว่า "อังกุระ ชื่อว่าการเลือกให้ทานย่อมควร, ทาน (ของอินทกะ) นั้น เป็นของมีผลมาก ดังพืชที่หว่านดีแล้วในนาดี อย่างนี้, แต่ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น, เพราะฉะนั้น ทานของท่านจึงไม่มีผลมาก" เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสว่า :-
"บุคคลควรเลือกให้ทาน ในเขตที่ตนให้แล้ว จะมีผลมาก. เพราะการเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว ทานที่ให้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในชีวโลกนี้ เป็นของมีผลมากเหมือนพืชที่หว่านในนาดีฉะนั้น."
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 335
เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่า นี้ว่า :-
๑๒. ติณโทสานิ เขตฺตานิ โทสโทสา อยํ ปชา ตสฺมา หิ วีตโทเสสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ. ติณโทสานิ เขตฺตานิ โมหโทสา อยํ ปชา ตสฺมา หิ วีตโมเหสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ. ติณโทสานิ เขตฺตานิ อิจฺฉาโทสา อยํ ปชา ตสฺมา หิ วีคติจฺเฉสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
"นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากราคะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยากเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากความอยาก จึงมีผลมาก."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณโทสานิ ความว่า ความจริงหญ้าทั้งหลายมีข้าวฟ่างเป็นต้น เมื่องอกขึ้น ย่อมประทุษร้ายนาแห่งบุพพัณณ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 336
ชาติ (๑) และอปรัณณชาติ (๒) เพราะเหตุนั้น นาเหล่านั้นจึงไม่งอกงามมากได้ ราคะเมื่อเกิดขึ้นในภายในแม้แห่งสัตว์ทั้งหลาย ย่อมประทุษร้ายสัตว์ทั้งหลาย, เพราะเหตุนั้น ทานที่ให้ในคนที่ถูกราคะประทุษร้ายเหล่านั้น จึงเป็นของไม่มีผลมาก ส่วนทานที่ให้ในพระขีณาสพทั้งหลาย เป็นของมีผลมาก เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า "นาทั้งหลาย มีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้มีราคะเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่าน ผู้ปราศจากราคะ จึงเป็นของมีผลมาก."
แม้ในคาถาที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.
ในกาลจบเทศนา อังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตร ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, เทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่เหล่าเทพบุตรผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องอังกุรเทพบุตร จบ.
ตัณหาวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ ๒๔ จบ.
(๑) บุพพัณณชาติ= พืชที่จะพึงกินก่อน ได้แก่ข้าวทุกชนิด.
(๒) อปรัณณชาติ= พืชที่จะพึงกินทีหลัง หรืออาหาร คือถั่วและผักอื่นๆ.