พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ [๒๕๗]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35064
อ่าน  453

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 364

๖. เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ [๒๕๗]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 364

๖. เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ [๒๕๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ชื่อ ปัญจัคคทายก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺพโส นามรูปสฺมิํ" เป็นต้น.

เหตุที่พราหมณ์ได้ชื่อว่าปัญจัคคทายก

ดังได้สดับมา พราหมณ์นั้นย่อมถวายทานชื่อเขตตัคคะ (๑) ในเวลาแห่งนาข้าวกล้าอันตนเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วนั่นแล, ในเวลาขนข้าวลาน ก็ถวายทานชื่อขลัคคคะ, (๒) ในเวลานวด ก็ถวายทานชื่อขลภัณฑัคคะ, (๓) ในเวลาเอาข้าวสารลงในหม้อ ก็ถวายทานชื่ออุกขลิกัคคะ, (๔) ในเวลาที่ตนคดข้าวใส่ภาชนะ ก็ถวายทานชื่อปาฏิคคะ, (๕) พราหมณ์ย่อมถวายทานอันเลิศทั้ง ๕ อย่างนี้.

พราหมณ์นั้น ชื่อว่า ยังไม่ให้แก่ปฏิคาหกผู้ที่มาถึงแล้ว ย่อมไม่บริโภค. เพราะเหตุนั้น เขาจึงได้มีชื่อว่า "ปัญจัคคทายก" นั่นแล.

พระศาสดาเสด็จไปโปรดพราหมณ์และภรรยา

พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งผลทั้ง ๓ ของพราหมณ์นั้น และนางพราหมณีของเขา จึงได้เสด็จไปในเวลาบริโภคของพราหมณ์ แล้วประทับยืนอยู่ที่ประตู. แม้พราหมณ์นั้นบ่ายหน้าไปภายในเรือน นั่งบริโภคอยู่ที่หน้าประตู, เขาไม่เห็นพระศาสดาผู้ประทับยืนอยู่ที่ประตู.


(๑) ทานอันเลิศในนา

(๒) ทานอันเลิศในลาน.

(๓) ทานอันเลิศในคราวนวด.

(๔) ทานอันเลิศในคราวเทข้าวสารลงหม้อข้าว.

(๕) ทานอันเลิศในคราวคดข้าวสุกใส่ภาชนะ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 365

ส่วนนางพราหมณีของเขา กำลังเลี้ยงดูเขาอยู่ เห็นพระศาสดาจึงคิดว่า "พราหมณ์นี้ ถวายทานอันเลิศในฐานะทั้ง ๕ (ก่อน) แล้วจึงบริโภค, ก็บัดนี้ พระสมณโคดมเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ประตู ถ้าว่าพราหมณ์เห็นพระสมณโคคมนี่แล้ว จักนำภัตของตนไปถวาย, เราจักไม่อาจเพื่อจะหุงต้มเพื่อเขาได้อีก." นางคิดว่า "พราหมณ์นี้จักไม่เห็น พระสมณโคดมด้วยอาการอย่างนี้" จึงหันหลัง (๑) ให้พระศาสดา ได้ยืนก้มลงบังพระศาสดานั้นไว้ข้างหลังพราหมณ์นั้น ประดุจบังพระจันทร์เต็มดวง ด้วยฝ่ามือฉะนั้น. นางพราหมณียืนอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ แล้วก็ชำเลือง (๒) ดูพระศาสดาด้วยหางตา ด้วยคิดว่า "พระศาสดาเสด็จไปแล้วหรือยัง."

พราหมณ์เห็นพระศาสดา

พระศาสดาได้ประทับยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง. ส่วนนางมิได้พูดว่า "นิมนต์พระองค์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด" ก็เพราะกลัวพราหมณ์จะได้ยิน, แต่นางถอยไป แล้วพูดค่อยๆ ว่า " นิมนต์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด."

พระศาสดาทรงสั่นพระเศียร (๓) ด้วยอาการอันทรงแสดงว่า "เราจักไม่ไป" เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่เคารพของชาวโลก ทรงสั่นพระเศียรด้วยอาการอันแสดงว่า "เราจักไม่ไป," นางไม่อาจอดกลั้นไว้ได้ จึงหัวเราะดังลั่นขึ้น.

ขณะนั้น พระศาสดาทรงเปล่งพระรัศมีไปตรงเรือน. แม้พราหมณ์นั่งหันหลังให้แล้วนั่นแล ได้ยินเสียงหัวเราะของนางพราหมณี และมองเห็นแสงสว่างแห่งพระรัศมีอันมีวรรณะ ๖ ประการ จึงได้เห็นพระศาสดา.


(๑) สตฺถุ ปิฏฺิํ ทตฺวา ให้ซึ่งหลังแด่พระศาสดา.

(๒) สตฺถารํ อฑฺฒกฺขิเกน โอโบเกสิ มองดูพระศาสดาด้วยตาครึ่งหนึ่ง.

(๓) เพ่งเพื่อจะพูดอย่างเดียว หาใส่ใจถึงเสขิยวัตรไม่..

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 366

พราหมณ์ถวายภัตแด่พระศาสดา

ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้ทรงแสดงพระองค์แก่ชนทั้งหลายผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยเหตุ ในบ้านหรือในป่าแล้ว ย่อมไม่เสด็จหลีกไป. แม้พราหมณ์เห็นพระศาสดาแล้ว จึงพูดว่า "นางผู้เจริญ หล่อนไม่บอกพระราชบุตรผู้เสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ประตูแก่เรา ให้เราฉิบหายเสียแล้ว, หล่อนทำกรรมหนัก" ดังนี้แล้ว ก็ถือเอาภาชนะแห่งโภชนะที่ตนบริโภคแล้วครั้งหนึ่ง ไปยังสำนักพระศาสดา แล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ถวายทานอันเลิศในฐานะทั้ง ๔ แล้ว จึงบริโภค แต่ส่วนแห่งภัตส่วนหนึ่งเท่านั้น อันข้าพระองค์แบ่งครึ่งจากส่วนนี้บริโภค, ส่วนแห่งภัตส่วนหนึ่งยังเหลืออยู่ ขอพระองค์ได้โปรดรับภัตส่วนนี้ของข้าพระองค์เถิด."

พราหมณ์เลื่อมใสพระดำรัสของพระศาสดา

พระศาสดาไม่ตรัสว่า "เราไม่มีความต้องการด้วยภัตอันเป็นเดนของท่าน" ตรัสว่า "พราหมณ์ ส่วนอันเลิศก็ดี ภัตที่ท่านแบ่งครึ่งบริโภคแล้วก็ดี เป็นของสมควรแก่เราทั้งนั้น, แม้ก้อนภัตที่เป็นเดน เป็นของสมควรแก่เราเหมือนกัน, พราหมณ์ เพราะพวกเราเป็นผู้อาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีพ เป็นเช่นกับพวกเปรต" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-

"ภิกษุผู้อาศัยอาหารที่บุคคลอื่นให้เลี้ยงชีพได้ ก้อนภัตอันใดจากส่วนที่เลิศก็ตาม จากส่วนปานกลางก็ตาม จากส่วนที่เหลือก็ตาม. ภิกษุนั้นเป็นผู้ ไม่ควรเพื่อชมก้อนภัตนั้น, และไม่เป็นผู้ติเตียน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 367

แล้ว ขบฉันก้อนภัตนั้น, ธีรชนทั้งหลายย่อมสรรเสริญแม้ซึ่งภิกษุนั้นว่า เป็นมุนี."

พราหมณ์พอได้ฟังพระคาถานั้น ก็เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส แล้วคิดว่า "โอ น่าอัศจรรย์จริง, พระราชบุตรผู้ชื่อว่าเจ้าแห่งดวงประทีป มิได้ตรัสว่า เราไม่มีความต้องการด้วยภัตอันเป็นเดนของท่าน ยังตรัสอย่างนั้น" แล้วยืนอยู่ที่ประตูนั่นเอง ทูลถามปัญหากะพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกพวกสาวกของพระองค์ว่า ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลชื่อว่า เป็นภิกษุ."

คนผู้ไม่กำหนัดไม่ติดในนามรูปชื่อว่าภิกษุ

พระศาสดาทรงใคร่ครวญว่า "ธรรมเทศนาเช่นไรหนอ จึงจะเป็นเครื่องสบายแก่พราหมณ์นี้" ทรงดำริว่า "ชนทั้งสองนี้ ในกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัลสป ได้ฟังคำของภิกษุทั้งหลายผู้กล่าวอยู่ว่า "นามรูป," การที่เราไม่ละนามรูปแหละ แล้วแสดงธรรมแก่ชนทั้งสองนั้น ย่อมควร" แล้วจึงตรัสว่า "พราหมณ์ บุคคลผู้ไม่กำหนัด ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ชื่อว่า เป็นภิกษุ" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. สพฺพโส นามรูปสฺมิํ ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ อสตา จ น โสจติ ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ.

"ความยึดถือในนามรูปว่าเป็นของๆ เรา ไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง, อนึ่ง ผู้ใดไม่เศร้าโศก เพราะนามรูปนั้นไม่มีอยู่, ผู้นั้นแล เราเรียกว่า ภิกษุ."

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 368

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพโส คือ ในนามรูปทั้งปวงที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจขันธ์ ๕ คือนามขันธ์ ๔ มีเวทนาเป็นต้น และรูปขันธ์.

บทว่า มมายิตํ ความว่า ความยึดถือว่า "เรา" หรือว่า "ของเรา" ไม่มีแก่ผู้ใด.

บาทพระคาถาว่า อสตา จ น โสจติ ความว่า เมื่อนามรูปนั้นถึงความสิ้นและความเสื่อม ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อนว่า "รูปของเราสิ้นไปแล้ว ฯลฯ วิญญาณของเราสิ้นไปแล้ว คือเห็น (ตามความเป็นจริง) ว่า "นามรูป ซึ่งมีความสิ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดานี่แล สิ้นไปแล้ว."

บทว่า ส เว เป็นต้น ความว่า ผู้นั้น คือผู้เห็นปานนั้น ได้แก่ ผู้เว้นจากความยึดถือในนามรูปซึ่งมีอยู่ว่าเป็นของเราก็ดี ผู้ไม่เศร้าโศก เพราะนามรูปนั้น ซึ่งไม่มีอยู่ก็ดี พระศาสดาตรัสเรียกว่า "ภิกษุ"

ในกาลจบเทศนา เมียและผัวทั้งสองตั้งอยู่ในพระอนาคามิผลแล้ว, เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ จบ.