พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก [๒๖๔]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35072
อ่าน  451

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 423

๒๖. พราหมณวรรควรรณนา

๑. เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก [๒๖๔]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 423

๒๖. พราหมณวรรควรรณนา

๑. เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก [๒๖๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม" เป็นต้น.

พวกภิกษุรังเกียจวาทะของพราหมณ์

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส เริ่มตั้งนิตยภัตเพื่อภิกษุมีประมาณ ๑๖ รูป ไว้ในเรือนของตน รับบาตรในเวลาภิกษุทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า "ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงมา, ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงนั่ง" เมื่อ จะกล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็กล่าวคำประกอบเฉพาะด้วยวาทะว่าพระอรหันต์เท่านั้น. บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวกที่เป็นปุถุชนคิดกันว่า "พราหมณ์นี้ มีความสำคัญในพวกเราว่าเป็นพระอรหันต์" พวกที่เป็นพระขีณาสพก็คิดว่า "พราหมณ์นี้ ย่อมรู้ความที่พวกเราเป็นพระขีณาสพ," ภิกษุแม้ทั้งหมดนั้น ประพฤติรังเกียจอยู่อย่างนี้ จึงไม่ไปสู่เรือนของพราหมณ์นั้น. เขาเป็นผู้มีทุกข์เสียใจ คิดว่า "ทำไมหนอแล พระผู้เป็นเจ้า จึงไม่มา" จึงไปยังวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้น.

ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่ยินดีต่อวาทะนั้น

พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 424

ทั้งหลาย ข้อนั้นอย่างไร" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอยังยินดีวาทะว่า เป็นพระอรหันต์ อยู่หรือ."

พวกภิกษุ. พวกข้าพระองค์ไม่ยินดี พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้น, คำนั้น เป็นคำกล่าวด้วยความเลื่อมใสของมนุษย์ทั้งหลาย, ภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติในเพราะการกล่าวด้วยความเลื่อมใส ก็แลอีกอย่างหนึ่ง ความรักใคร่ในพระอรหันต์ทั้งหลายของพราหมณ์ มีประมาณยิ่ง เหตุนั้น แม้พวกเธอตัดกระแสตัณหาแล้วบรรลุพระอรหันต์นั่นแล ควร" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑. ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ สงฺขารานํ ขยํ ตฺวา อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ.

"พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา, จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย, ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว เป็นผู้รู้พระนิพพานอันอะไรๆ กระทำไม่ได้นะ พราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรกฺกมฺม เป็นต้น ความว่า ขึ้นชื่อว่า กระแสตัณหา ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะตัดได้ด้วยความพยายามมีประมาณน้อย เหตุนั้นท่านจงพยายามตัดกระแสนั้น ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่ ซึ่งสัมปยุตด้วยญาณ คือจงบรรเทา ได้แก่ จงขับไล่กามแม้ทั้งสองเสียเถิด.

คำว่า พฺราหฺมณ นั้น เป็นคำร้องเรียกพระขีณาสพทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 425

บทว่า สงฺขารานํ ความว่า รู้ความสิ้นไปแห่งขันธ์ ๕.

บทว่า อกตญฺญู ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะเป็นผู้ชื่อว่า อกตัญญ. เพราะรู้พระนิพพาน อันอะไรๆ บรรดาโลกธาตุทั้งหลายมีทองคำเป็นต้น ทำไม่ได้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก จบ.