พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. เรื่องมาร [๒๖๖]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35074
อ่าน  425

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 428

๓. เรื่องมาร [๒๖๖]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 428

๓. เรื่องมาร [๒๖๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภมาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยสฺส ปารํ อปารํ วา" เป็นต้น.

มารปลอมตัวทูลถามเรื่องฝั่ง

ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง มารนั้นปลอมเป็นบุรุษคนใดคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แล้วทูลถามว่า "พระเจ้าข้า สถานที่อันพระองค์ตรัสว่า ฝั่งๆ อะไรหนอแล ที่ชื่อว่าฝั่งนั่น."

พระศาสดาทรงทราบว่า "นี้เป็นมาร" จึงตรัสว่า "มารผู้มีบาป ประโยชน์อะไรของท่านด้วยฝั่ง, ฝั่งนั้น อันผู้มีราคะไปปราศแล้วทั้งหลายพึงถึง" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. ยสฺส ปารํ อปารํ วา ปาราปารํ น วิชฺชติ วีตทฺทรํ วิสญฺญุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

"ฝั่งก็ดี ที่มิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและมิใช่ฝั่งก็ดี ไม่มีแก่ผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีความกระวนกระวาย ไปปราศแล้ว ผู้พราก (จากกิเลส) ได้แล้วว่า เป็น พราหมณ์."

แก้อรรถ

อายตนะอันเป็นไปในภายใน ๖ ชื่อว่า ปารํ ในพระคาถานั้น. อายตนะอันมี ณ ภายนอก ๖ ชื่อว่า อปารํ. อายตนะทั้งสองนั้น ชื่อว่า ปาราปารํ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 429

บทว่า น วิชฺชติ ความว่า ฝั่งและที่มิใช่ฝั่งทั้งหมดนั่น ไม่มีแก่ผู้ใด เพราะความไม่มีการยึดถือว่า "เรา" หรือว่า "ของเรา". เราเรียก ผู้นั้น ซึ่งชื่อว่ามีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว เพราะอันไปปราศแห่งความกระวนกระวายคือกิเลสทั้งหลาย ผู้พรากจากกิเลสทั้งปวงได้แล้ว ว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องมาร จบ.