พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง [๒๖๙]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35077
อ่าน  460

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 435

๖. เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง [๒๖๙]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 435

๖. เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง [๒๖๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบรรพชิต รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "พาหิตปาโป" เป็นต้น.

พราหมณ์บวชนอกพระพุทธศาสนา

ได้ยินว่า พราหมณ์คนหนึ่งบวชแล้ว ด้วยการบวชในภายนอก (พระศาสนา) คิดว่า "พระสมณโคดม เรียกสาวกของพระองค์ บรรพชิต ส่วนเราก็เป็นบรรพชิต, การที่พระองค์เรียกเราอย่างนั้นบ้าง ก็ควร" แล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามเนื้อความนั่น.

พระศาสดาตรัสว่า "เราหาเรียกว่า บรรพชิต ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่, ส่วนบุคคลผู้ชื่อว่าเป็นบรรพชิต เพราะความที่มลทินคือกิเลสทั้งหลาย อันตนเว้นได้ขาด" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๖. พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ.

"บุคคลผู้มีบาปอันลอยแล้วแล เราเรียกว่า พราหมณ์. บุคคลที่เราเรียกว่า สมณะ เพราะ ความประพฤติเรียบร้อย, บุคคลขับไล่มลทินของตนอยู่ เพราะเหตุนั้น เราเรียกว่า บรรพชิต."

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 436

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมจริยาย คือ เพราะความประพฤติ ระงับซึ่งอกุศลธรรมทั้งปวง.

บทว่า ตสฺมา ความว่า บุคคลที่พระศาสดาตรัสเรียกว่า "พราหมณ์" เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว, บุคคลที่พระศาสดาตรัสเรียกว่า "สมณะ" เพราะความประพฤติสงบซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุนั้น ผู้ใดประพฤติขับไล่ คือขจัดมลทินมีราคะเป็นต้นของตนอยู่, แม้ผู้นั้น พระศาสดาก็ตรัสเรียกว่า "บรรพชิต" เพราะการขับไล่นั้น.

ในกาลจบเทศนา บรรพชิตนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง จบ.