พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๘. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี [๒๘๑]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35090
อ่าน  492

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 468

๑๘. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี [๒๘๑]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 468

๑๘. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี [๒๘๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุบลวรรณาเถรี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วาริ โปกฺขรปตฺเตว" เป็นต้น.

มหาชนเข้าใจว่าพระขีณาสพยินดีกามสุข

เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้วแล ในอรรถกถาแห่งพระคาถาว่า "มธุวา มญฺตี พาโล" (๑) เป็นต้น.

จริงอยู่ ในที่นั้นข้าพเจ้ากล่าวว่า "โดยสมัยอื่นอีก มหาชนสนทนากันในโรงธรรมว่า ถึงพระขีณาสพทั้งหลาย ชะรอยจะยังเสพกาม, ทำไม จักไม่เสพ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่ใช่ไม้ผุ ไม่ใช่จอมปลวก ยังมีเนื้อและสรีระสดชื่นอยู่เทียว เหตุนั้น แม้พระขีณาสพเหล่านั้น จึงยังยินดีกามสุขมีอยู่."

พระขีณาสพไม่ติดอยู่ในกาม

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดีซึ่งกามสุข ไม่เสพกาม, เหมือนอย่างว่าหยาดน้ำที่ตกลงบนใบบัว ย่อมไม่ติด ไม่ค้างอยู่, ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียวฉันใด. อนึ่ง เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม, ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียว


(๑) มาใน ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๒ พาลวรรค เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 469

ฉันใด. แม้กามทั้งสองอย่าง ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ในจิตของพระขีณาสพฉันนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาในพราหมณวรรคนี้ว่า :-

๑๘. วาริ โปกฺขรปตฺเตว อารคฺเคริว สาสโป โย น ลิมฺปติ กาเมสุ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

"ผู้ใด ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลมฉะนั้น, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น พราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย น ลิปฺปติ (๑) เป็นต้น ความว่า ผู้ใด ย่อมไม่ติดแม้ในกามทั้งสองอย่างในภายใน คือไม่ตั้งอยู่ในกามนั้น อย่างนี้นั่นแล, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี จบ.


(๑) บาลีเป็น ลิมฺปติ.