พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๐. เรื่องพระเขมาภิกษุณี [๒๘๓]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35092
อ่าน  459

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 472

๒๐. เรื่องพระเขมาภิกษุณี [๒๘๓]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 472

๒๐. เรื่องพระเขมาภิกษุณี [๒๘๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเขมาภิกษุณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คมฺภีรปญฺํ" เป็นต้น.

พระเขมาภิกษุณีพบท้าวสักกะ

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชเสด็จมากับเทวบริษัท ในระหว่างแห่งปฐมยาม ประทับนั่งสดับธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงอยู่ ในสำนักพระศาสดา.

ในขณะนั้น พระเขมาภิกษุณีมาด้วยดำริว่า "จักเฝ้าพระศาสดา" เห็นท้าวสักกะแล้ว ยืนอยู่ในอากาศนั่นเอง ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ก็กลับไป.

ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเขมานั้นแล้ว ทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุณีนั่นชื่ออะไร มายืนอยู่ในอากาศนั้นเอง ถวายบังคมแล้ว กลับไป."

ลักษณะแห่งพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา

พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น เป็นธิดาของตถาคต ชื่อเขมา เป็นผู้มีปัญญามาก ฉลาดในทางและมิใช่ทาง" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒๐. คมฺภีรปญฺ เมธาวิํ มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 473

"เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นปราชญ์ ฉลาดในทางและมิใช่ทาง บรรลุประโยชน์สูงสุด นั้นว่า เป็นพราหมณ์"

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คมฺภีรปญฺํ เป็นต้น ความว่า เรา เรียกบุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นไปในธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันลึกซึ้ง ผู้เป็นปราชญ์ ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ผู้ชื่อว่า ฉลาดในทางและมิใช่ทาง เพราะความเป็นผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง อย่างนี้ คือ นี้เป็นทางแห่งทุคติ, นี้เป็นทางแห่งสุคติ, นี้เป็นทางแห่งพระนิพพาน, นี้มิใช่ทาง, ผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุด กล่าวคือพระอรหัตนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเขมาภิกษุณี จบ.