พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๓. เรื่องสามเณร [๒๘๖]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35095
อ่าน  536

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 483

๒๓. เรื่องสามเณร [๒๘๖]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 483

๒๓. เรื่องสามเณร [๒๘๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสามเณรทั้งหลาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อวิรุทฺธํ" เป็นต้น.

พราหมณีเสียใจเพราะได้สามเณรน้อย

ได้ยินว่า พราหมณีคนหนึ่ง จัดแจงอุทเทสภัต ไว้เพื่อภิกษุ ๔ รูป กล่าวกะพราหมณ์ว่า "พราหมณ์ ท่านจงไปวิหารแล้ว เจาะจงนำพราหมณ์แก่ ๔ คนมา." พราหมณ์นั้นไปสู่วิหารแล้วกล่าวว่า "ท่านทั้งหลาย จงเจาะจงให้พราหมณ์ ๔ คนแก่ผม."

สามเณรผู้เป็นขีณาสพ ๔ รูป ซึ่งมีอายุ ๗ ปี คือ "สังกิจจสามเณร บัณฑิตสามเณร โสปากสามเณร เรวตสามเณร" ถึงแล้วแก่พราหมณ์นั้น.

พราหมณี แต่งตั้งอาสนะทั้งหลายควรแก่ค่ามากไว้ เห็นสามเณรแล้ว โกรธ บ่นพึมพำอยู่ เหมือนเกลืออันบุคคลใส่ลงที่เตาไฟ กล่าวว่า "ท่านไปวิหารแล้ว พาเด็ก ๔ คนแม้ปูนหลานของตนซึ่งไม่สมควรมาแล้ว" จึงไม่ให้สามเณรเหล่านั้นนั่งบนอาสนะเหล่านั้น ลาดตั่งที่ต่ำๆ แล้วกล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงนั่งบนตั่งเหล่านั้น" กล่าวว่า "พราหมณ์ ท่านจงไป จงเลือกพราหมณ์แก่แล้วนำมา."

แม้อัครสาวกทั้งสองก็ไม่เป็นที่พอใจของพราหมณี

พราหมณ์ไปสู่วิหาร พบพระสารีบุตรเถระแล้ว เรียนว่า "มาเถิดท่าน, เราจักไปสู่เรือนของเราทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว นำมา. พระเถระมา เห็นสามเณรทั้งหลายแล้ว ถามว่า "พราหมณ์เหล่านี้ได้ภัตแล้วหรือ"

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 484

เมื่อเขาตอบว่า "ยังไม่ได้," จึงทราบความที่เขาจัดภัตไว้เพื่อพราหมณ์ ๔ คนเท่านั้น กล่าวว่า "พวกท่านจงนำบาตรของเรามา" แล้วรับบาตร หลีกไป.

ฝ่ายพราหมณี ถามว่า "พราหมณ์นี้กล่าวอะไร" เมื่อพราหมณ์ ตอบว่า "ท่านกล่าวว่า การที่พราหมณ์ผู้นั่งอยู่เหล่านั่นได้ (ก่อน) จึงควร, จงนำบาตรของเรามา, รับเอาบาตรของตนแล้วไป" จึงกล่าวว่า "พระเถระนั้น เห็นจะไม่ประสงค์เพื่อจะฉัน, ท่านจงรีบไปเลือกดูพราหมณ์อื่นแล้วนำมา."

พราหมณ์ไปพบพระมหาโมคคัลลานเถระ ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน นำมาแล้ว.

แม้ท่าน เห็นสามเณรทั้งหลายแล้ว ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน แล้ว ก็รับบาตรหลีกไป.

ลำดับนั้น พราหมณีกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า "พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ไม่ประสงค์เพื่อจะฉันกระมัง ท่านจงไปสู่โรงสวดของพราหมณ์ นำพราหมณ์แก่คนหนึ่งมา."

ฝ่ายสามเณรทั้งหลาย ไม่ได้อะไรๆ จำเดิมแต่เช้า ถูกความหิวบีบคั้น นั่งอยู่แล้ว.

ท้าวสักกะปลอมเป็นพราหมณ์แก่มาทรมานพราหมณี

ครั้งนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนแล้ว เพราะเดชคุณของสามเณรเหล่านั้น. ท้าวเธอทรงใคร่ครวญอยู่ ก็ทราบความที่ สามเณรเหล่านั้นนั่งหิวโหยอยู่ตั้งแต่เช้า ทรงดำริว่า "การที่เราไปในที่นั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 485

ควร" จึง (แปลง) เป็นพราหมณ์แก่คร่ำคร่าเพราะชรา ประทับนั่งอยู่บนอาสนะที่เลิศของพราหมณ์ทั้งหลาย ในโรงสวดของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์ พอเห็นท้าวสักกะนั้นแล้วคิดว่า "คราวนี้พราหมณีของเราจักพอใจ" กล่าวว่า "มาเถิดท่าน, พวกเราจักไปสู่เรือน" ได้พาท้าวเธอไปสู่เรือน แล้ว.

พราหมณี พอเห็นท้าวสักกะเท่านั้น มีจิตยินดีแล้ว ลาดเครื่องลาด บนอาสนะ ๒ (ซ้อน) ในที่เดียวกัน กล่าวว่า "พระผู้เป็นเจ้า เชิญท่าน นั่งบนเครื่องลาดนี้เถิด."

ท้าวสักกะเสด็จเข้าไปสู่เรือน แล้วไหว้สามเณรทั้ง ๔ รูปด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงประทับนั่งโดยบัลลังก์ที่พื้นท้ายอาสนะของสามเณร เหล่านั้น.

ครั้งนั้น พราหมณีเห็นท้าวเธอกล่าวกะพราหมณ์ว่า "แย่จริง พราหมณ์ท่านนำมาแล้ว, ท่านพาพราหมณ์บ้าแม้นั้นมา (อีก), พราหมณ์ นั้นเที่ยวไหว้สามเณรปูนหลานของตนได้ ประโยชน์อะไรด้วยพราหมณ์นี้, ท่านจงขับไล่พราหมณ์นี้ออกไปเสีย." พราหมณ์แปลงนั้น ถูกเขาจับที่คอบ้าง ที่มือบ้าง ที่รักแร้บ้าง ฉุดคร่าออกไปอยู่ ก็ยังไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะลุกขึ้น.

ลำดับนั้น พราหมณีกล่าวกะพราหมณ์ผู้สามีนั้นว่า "พราหมณ์ มาเถิด, ท่านจงจับที่มือข้างหนึ่ง, ฉันจักจับที่มือข้างหนึ่ง." ทั้งสองคนจับ ที่มือทั้งสองแล้วโบยที่หลังอยู่ ได้ช่วยกันคร่าไปไว้ในภายนอกแต่ประตูเรือนแล้ว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 486

ฝ่ายท้าวสักกะ ก็คงประทับนั่งในที่ตนนั่งนั่นแล กวักพระหัตถ์แล้ว. ทั้งสองผัวเมียนั้น กลับมาเห็นท้าวสักกะนั้นประทับนั่งอยู่อย่างเดิม ร้องอยู่ด้วยความกลัว ปล่อยไปแล้ว. ในขณะนั้น ท้าวสักกะให้เขาทราบความ ที่พระองค์เป็นท้าวสักกะแล้ว.

ลำดับนั้น ผัวเมียทั้งสองได้ถวายอาหารแก่สามเณรเหล่านั้นแล้ว. ชนแม้ทั้ง ๕ รับอาหารแล้ว, รูปหนึ่งทำลายมณฑลช่อฟ้าไป, รูปหนึ่ง ทำลายส่วนเบื้องหน้าแห่งหลังคาไป, รูปหนึ่งทำลายส่วนเบื้องหลังแห่งหลังคาไป, รูปหนึ่งดำลงในแผ่นดินไป, ฝ่ายท้าวสักกะก็เสด็จออกไปโดยทางหนึ่ง, ชนแม้ทั้ง ๕ ได้ไปสู่ที่ทั้ง ๕ ด้วยประการฉะนี้.

พวกสามเณรเล่าเรื่องที่ถูกทรมาน

ก็แล จำเดิมแต่นั้นมา ทราบว่าเรือนนั้น ชื่อว่าเป็นเรือนมีช่อง ๕. ในกาลที่สามเณรไปสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลาย ถามแม้ซึ่งสามเณรทั้งหลายว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย เรื่องนี้เป็นเช่นไรกัน"

พวกสามเณร. ท่านทั้งหลายจงอย่าถามพวกกระผม, จำเดิมแต่กาล ที่พราหมณีเห็นพวกกระผมแล้ว พราหมณีถูกความโกรธครอบงำ ไม่ให้พวกกระผมนั่งบนอาสนะที่ตบแต่งไว้ แล้วยังกล่าวว่า "ท่านจงนำพราหมณ์แก่มาเร็ว," อุปัชฌายะของพวกกระผมมาเห็นพวกกระผมแล้ว กล่าวว่า "การที่พราหมณ์ผู้นั่งอยู่เหล่านี้ได้ (อาหารก่อน) ควร," ให้นำบาตรมาแล้ว ออกไป, เมื่อนางพราหมณีกล่าวว่า "ท่านจงนำพราหมณ์แก่อื่นมา," พราหมณ์นำพระมหาโมคคัลลานเถระมาแล้ว, ท่านเห็นพวกกระผม ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วหลีกไป, ทีนั้น พราหมณีกล่าวว่า "พราหมณ์เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ประสงค์จะฉัน, ท่านจงไป, จงนำพราหมณ์แก่คนหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 487

จากโรงสวดของพราหมณ์มาเถิด" แล้วส่งพราหมณ์ไป, พราหมณ์นั้นไปที่โรงสวดนั้นแล้ว นำท้าวสักกะผู้เสด็จมาด้วยเพศแห่งพราหมณ์มา, ในกาลที่ท้าวสักกะนั้นเสด็จมาแล้ว ผัวเมียทั้งสองจึงได้ถวายอาหารแก่พวกกระผม.

ภิกษุทั้งหลาย. พวกเธอไม่โกรธแก่เขา ผู้ทำอยู่อย่างนั้นหรือ

พวกสามเณร. พวกกระผมไม่โกรธ.

ภิกษุทั้งหลาย ฟังคำนั้นแล้ว กราบทูลแด่พระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า สามเณรเหล่านี้ กล่าวคำไม่จริงว่า พวกกระผมไม่โกรธ ย่อมพยากรณ์พระอรหัตตผล."

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่เคียดแค้นในชนทั้งหลาย แม้ผู้เคียดแค้นแล้วเลย" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๒๓. อวิรุทฺธํ วิรุทฺเธสุ อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตํ สาทาเนสุ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

"เราย่อมเรียกบุคคลผู้ไม่เคียดแค้น ในบุคคลผู้เคียดแค้น ผู้ดับเสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน ผู้ไม่ถือมั่นในบุคคลผู้ถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิรุทฺธํ เป็นต้น ความว่า เราย่อมเรียก บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น ผู้ชื่อว่าไม่เคียดแค้น เพราะความไม่มีอาฆาตในพวกโลกิยมหาชน แม้ผู้เคียดแค้นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความอาฆาต

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 488

ผู้ชื่อว่าดับเสียได้ คือผู้มีอาชญาอันปลงแล้ว ในชนทั้งหลาย ผู้ชื่อว่ามีอาชญาในตน เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เว้นจากการให้ประหารชนเหล่าอื่น ในเมื่อท่อนไม้หรือศัสตราในมือ แม้ไม่มีอยู่ ผู้ชื่อว่าไม่ถือมั่น เพราะความไม่มีการยึดถือนั้น ในชนทั้งหลาย ผู้ชื่อว่ามีความถือมั่น เพราะความที่ยึดถือขันธ์ทั้ง ๕ ว่า "เรา" ว่า "ของเขา" ว่าเป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสามเณร จบ.