ขณะใดจึงเป็นอุปาทานขันธ์ อายตนะ

 
ทรงศักดิ์
วันที่  31 ส.ค. 2548
หมายเลข  351
อ่าน  1,557

1. ขันธ์ ๕ ที่เป็นโลกียธรรมนั้น ขณะที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน จะจัดเป็นอุปาทานขันธ์ได้หรือไม่ครับ?

2. องค์ธรรมของอายตนะ คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพานนั้น มีข้อกำหนดหรือไม่ครับ ว่าขณะใดจึงเรียก เป็นอายตนะได้ ขณะใดไม่ใช่อายตนะ?

ขอขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 1 ก.ย. 2548

๑. ขันธ์ที่เป็นโลกียธรรมทั้งหมดเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เรียกว่าอุปาทานขันธ์ (แม้ขณะนั้นไม่เป็นอารมณ์)

๒. อายตนะ คือ ที่ประชุมของนามรูป จะเรียกอายตนะเมื่อมีการประชุมกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 5 ก.ย. 2548

ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมในข้อที่ 1. อุปาทานขั้นธ์ มี 2 นัย คือ ขันธ์ที่เกิดเพราะยังมีอุปาทานและขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

ดังนั้นโดยนัยแรก ขันธ์ ๕ ที่เกิดเพราะอุปาทาน เป็นอุปาทานขันธ์ (ตามปฏิจจสมุปปาทที่ว่า อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ)

ส่วนนัยหลังแม้ว่าโลกิยขันธ์ทั้งหลายสามารถเป็นอารมณ์แก่อุปาทานได้ทั้งนั้น แต่ว่าแต่ละบุคคลหรือในแต่ละขณะก็อาจมีหรือไม่มีอุปาทานขันธ์ต่างกันได้ เช่น ในขณะนอนหลับสนิทก็ไม่มีอุปาทานเกิดขึ้นที่จะยึดถือสภาพธรรมใดๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ