พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓๑. เรื่องพระสีวลีเถระ [๒๙๔]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35103
อ่าน  461

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 509

๓๑. เรื่องพระสีวลีเถระ [๒๙๔]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 509

๓๑. เรื่องพระสีวลีเถระ [๒๙๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองกุณฑิโกลิยะ ประทับอยู่ในป่าชื่อ กุณฑธาน ทรงปรารภพระสีวสีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย อิมํ" เป็นต้น.

พระนางสุปปวาสาทรงอดกลั้นทุกข์ได้ด้วยวิตก ๓ ข้อ

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระธิดาของพระโกลิยวงศ์ พระนามว่าสุปปวาสา ทรงครรภ์สิ้น ๗ ปี มีครรภ์อันหลง (มาอีก) ๗ วัน ถูกทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนถูกต้องแล้ว, ทรงอดกลั้นทุกข์นั้น ด้วยวิตก ๓ ข้อเหล่านี้คือ " (๑) พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม เพื่อละทุกข์แห่งรูปนี้นี่แหละ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบหนอ. (๒) พระสงฆ์สาวกใดปฏิบัติเพื่อละทุกข์แห่งรูปนี้นี่แหละ, พระสงฆ์สาวกนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วหนอ. (๓) ทุกข์เห็นปานนี้ ไม่มีในพระนิพพานใด. พระนิพพานนั้น เป็นสุขดีหนอ" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระสวามีไปสู่สำนักของพระศาสดา, เมื่อพระสวามีนั้น กราบทูลการถวายบังคมแด่พระศาสดา ตามคำของพระนางแล้ว, ในขณะที่พระศาสดาตรัสว่า "พระธิดาโกลิยวงศ์ พระนามว่าสุปปวาสาจงเป็นผู้มีสุข ไม่มีโรค, ประสูติพระโอรสซึ่งหาโรคมิได้เถิด" ดังนี้นั่นแหละ เป็นผู้สบาย หายพระโรค ประสูติพระโอรส ผู้หาโรคมิได้แล้ว ทรงนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วได้ทรงถวายมหาทาน สิ้น ๗ วัน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 510

พระโอรสได้บรรลุพระอรหัต

แม้พระโอรสของพระนาง ถือเอาธมกรกกรองน้ำถวายพระสงฆ์ได้ จำเดิมแต่วันที่ประสูติแล้ว. ในกาลต่อมา พระโอรสนั้นเสด็จออกบรรพชา แล้วบรรลุพระอรหัต.

ต่อมาวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงดู. ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตชื่อ เห็นปานนี้ ยังเสวยทุกข์ในท้องของมารดาตลอดกาล ประมาณเท่านี้, จะป่วยกล่าวไปไยเล่าถึงชนเหล่าอื่น. ทุกข์เป็นอันมากหนอ อันภิกษุนี้ถอนแล้ว."

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้" จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เออ บุตรของเราพ้นจากทุกข์ประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้วอยู่" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓๑. โย อิมํ ปลิปถํ ทุคฺคํ สํสารํ โมหมฺจฺจคา ติณฺโณ ปารคโต ฌายี อเนโช อกถงฺกถี อนุปาทาย นิพฺพุโต ตมหํ พฺรูมิ พฺหาหฺมณํ.

"ผู้ใด ล่วงทางอ้อม หล่ม สงสาร และโมหะนี้ไปแล้ว เป็นผู้ข้ามไปได้ ถึงฝั่ง มีปกติเพ่ง หากิเลสเครื่องหวั่นไหวมิได้ ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุกล่าวว่า อย่างไร ไม่ถือมั่น ดับแล้ว, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 511

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้น (ดังนี้) :-

ความว่า ภิกษุใด ล่วงทางคือราคะ หล่มคือกิเลส สังสารวัฏฏ์ และโมหะอันไม่ให้แทงตลอดอริยสัจทั้ง ๔ นี้ไปแล้ว, เป็นผู้ข้ามโอฆะทั้ง ๔ ได้ ถึงฝั่งแล้วโดยลำดับ, มีปกติเพ่งด้วยฌาน ๒ อย่าง, ชื่อว่าหากิเลสเครื่องหวั่นไหวมิได้ เพราะไม่มีตัณหา, ชื่อว่าไม่มีความสงสัยเป็นเหตุ กล่าวว่าอย่างไร เพราะไม่มีวาจาเป็นเครื่องกล่าวว่าอย่างไร, ชื่อว่าไม่ถือมั่นแล้ว เพราะไม่มีอุปาทาน ชื่อว่าดับแล้ว เพราะอันดับไปแห่งกิเลส. เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสีวลีเถระ จบ.