๓๙. เรื่องเทวหิตพราหมณ์ [๓๐๒]
[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 567
๓๙. เรื่องเทวหิตพราหมณ์ [๓๐๒]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 567
๓๙. เรื่องเทวหิตพราหมณ์ [๓๐๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของเทวหิตพราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุพฺเพนิวาสํ" เป็นต้น.
พราหมณ์ทูลถามทักษิณาที่มีผลมาก
ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาพาธด้วยพระวาโย (กำเริบ) ทรงส่งพระอุปวานเถระไปสู่สำนักของเทวหิตพราหมณ์ เพื่อต้องการน้ำร้อน. ท่านไปบอกความที่พระศาสดาทรงอาพาธแล้วขอน้ำร้อน.
พราหมณ์ฟังคำนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี คิดว่า "การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงส่ง (พระอุปวานเถระ) มาสู่สำนักของเรา เพื่อต้องการน้ำร้อน เป็นลาภของเราหนอ" จึงใช้บุรุษให้ถือเอาหาบน้ำร้อนและห่อน้ำอ้อย มอบถวายแก่พระอุปวานเถระ.
พระเถระ ให้ชนถือเอาน้ำร้อนเป็นต้นนั้นไปสู่วิหาร กราบทูลพระศาสดาให้ทรงสรงด้วยน้ำร้อนแล้ว ละลายน้ำอ้อยด้วยน้ำร้อนถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ในขณะนั้นนั่นเอง อาพาธนั้นของพระองค์ก็สงบระงับ. พราหมณ์คิดว่า "ไทยธรรมเราให้แก่ใครหนอแล จึงมีผลมาก, เราจักทูลถามพระศาสดา." พราหมณ์นั้นไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว เมื่อจะทูลถามเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 568
"บุคคลควรให้ไทยธรรมในบุคคลไหน ไทยธรรมวัตถุอันบุคคลให้ในบุคคลไหน จึงมีผลมาก ทักษิณาของบุคคลผู้บูชาอยู่อย่างไรเล่า จะสำเร็จได้อย่างไร"
พระศาสดาทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า "ไทยธรรมวัตถุที่บุคคลให้แล้ว แก่พราหมณ์ผู้เช่นนี้ ย่อมมีผลมาก" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศบุคคล ผู้เป็นพราหมณ์แก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๓๙. ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ อโถ ชาติกฺขยํ ปตฺโต อภิญฺา โวสิโต มุนิ สพฺพโวสิตโวสานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
"บุคคลใด รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ทั้งเห็นสวรรค์และอบาย, อนึ่ง บรรลุความสิ้นไปแห่งชาติ เสร็จกิจแล้ว เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี, เราเรียกบุคคลนั้น ซึ่งมีพรหมจรรย์อันอยู่เสร็จสรรพแล้วว่า เป็นพราหมณ์."
แก้อรรถ
พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
บุคคลใด รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนอย่างแจ้งชัด เห็นสวรรค์ต่างด้วย เทวโลก ๒๖ ชั้น (๑) และอบาย ๔ ด้วยทิพยจักษุ อนึ่ง บรรลุพระอรหัต
(๑) กามาวจร ๖ รูปพรหม ๑๖ อรูปพรหม ๔ รวมเป็น ๒๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 569
กล่าวคือความสิ้นไปแห่งชาติ เสร็จกิจแล้ว เพราะรู้ยิ่งซึ่งธรรมควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือบรรลุพระนิพพานหรือบรรลุพรหมจรรย์อันคนอยู่จบแล้ว ชื่อว่า เป็นมุนี เพราะเป็นผู้บรรลุภาวะแห่งผู้รู้ ด้วยปัญญาอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งอาสวะ, เราเรียกบุคคลนั้นซึ่งชื่อว่ามีพรหมจรรย์อยู่เสร็จสรรพแล้ว เพราะความเป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ อันเป็นที่สุดแห่งกิเลสทั้งสิ้น คือพระอรหัตตมรรคญาณว่า เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล เป็นต้น.
ฝ่ายพราหมณ์ มีใจเลื่อมใสแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ประกาศความเป็นอุบาสกแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องเทวหิตพราหมณ์ จบ
พราหมณวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ ๒๖ จบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 570
รวมวรรคที่มีในคาถาธรรมบท คือ
[๓๗] ยมกวรรค อัปปมาทวรรค จิตตวรรค ปุปผวรรค พาลวรรค บัณฑิตวรรค อรหันตวรรค สหัสสวรรค ปาปวรรค ทัณฑวรรค ชราวรรค อัตตวรรค โลกวรรค พุทธวรรค สุขวรรค ปิยวรรค โกธวรรค มลวรรค ธัมมัฏฐวรรค มรรควรรค รวมเป็น ๒๐ วรรค ปกิณณกวรรค นิรยวรรค นาควรรค ตัณหาวรรค ภิกขุวรรค พราหมณวรรค รวมทั้งหมดนี้เป็น ๒๖ วรรค อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงแล้ว ในยมกวรรค มี ๒๐ คาถา ในอัปปมาทวรรคมี ๑๒ คาถา ในจิตตวรรคมี ๑๑ คาถา ในปุปผวรรคมี ๑๖ คาถา ในพาลวรรคมี ๑๗ คาถา ในบัณฑิตวรรค มี ๑๔ คาถา ในอรหันตวรรคมี ๑๐ คาถา ในสหัสสวรรคมี ๑๖ คาถา ในปาปวรรคมี ๑๓ คาถา ในทัณฑวรรคมี ๑๗ คาถา ในชราวรรค มี ๑๑ คาถา ในอัตตวรรคมี ๑๒ คาถา ในโลกวรรคมี ๑๒ คาถา ในพุทธวรรคมี ๑๖ คาถา ในสุขวรรคและปิยวรรคมีวรรคละ ๑๒ คาถา ในโกธวรรคมี ๑๔ คาถา ในมลวรรคมี ๒๑ คาถา ในธัมมัฏฐวรรค มี ๑๗ คาถา ในมรรควรรคมี ๑๖ คาถา ในปกิณณกวรรคมี ๑๖ คาถา ในนิรยวรรคและนาควรรคมีวรรคละ ๑๔ คาถา ในตัณหาวรรคมี ๒๒ คาถา ในภิกขุวรรคมี ๒๓ คาถา ในพราหมณวรรคอันเป็นวรรคที่สุดมี ๔๐ คาถา คาถา ๔๒๓ คาถา อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงไว้ในนิบาตในธรรมบท.
จบคาถาธรรมบท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 571
อรรถกถา
รวมเรื่องทั้งหมด
อรรถกถาแห่งพระธรรมบท มีประมาณ ๗๒ ภาณวาร อันข้าพเจ้า ประกาศเรื่อง ๒๙๙ เรื่อง (๑.) คือ "ในยมกวรรค อันเป็นวรรคแรกของวรรคทั้งปวง ๑๔ เรื่อง, ในอัปปมาทวรรค ๙ เรื่อง ในจิตตวรรค ๙ เรื่อง, ในปุปผวรรค ๑๒ เรื่อง ในพาลวรรค ๑๕ เรื่อง, ในบัณฑิตวรรค ๑๑ เรื่อง, ในอรหันตวรรค ๑๐ เรื่อง, ในสหัสสวรรค ๑๔ เรื่อง, ในปาปวรรค ๑๒ เรื่อง, ในทัณฑวรรค ๑๑ เรื่อง, ในชราวรรค ๙ เรื่อง, ในอัตตวรรค ๑๐ เรื่อง, ในโลกวรรค ๑๑ เรื่อง, ในพุทธวรรค ๙ เรื่อง, ในสุขวรรค ๘ เรื่อง, ในปิยวรรค ๙ เรื่อง, ในโกธวรรค ๘ เรื่อง, ในมลวรรค ๑๒ เรื่อง ในธัมมัฏฐวรรค ๑๐ เรื่อง, ในมรรควรรค ๑๐ เรื่อง, ในปกิณณกวรรค ๙ เรื่อง, ในนิรยวรรค ๙ เรื่อง; ในนาควรรค ๘ เรื่อง, ในตัณหาวรรค ๑๒ เรื่อง, ในภิกขุวรรค ๑๒ เรื่อง, ในพราหมณวรรค ๓๙ เรื่อง" รจนาไว้พอเหมาะ ด้วยสามารถไม่ย่อนักไม่พิสดารนัก จบแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
จบธัมมปทัฏฐกถา
(๑) ในเรื่องเหล่านี้นับรวมทั้งหมดมี ๓๐๒ เรื่อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 572
คำอุทิศของผู้เรียบเรียง
ธรรมบทอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดผู้พระธรรมราชา ทรงบรรลุแล้ว, พระคาถาเหล่าใดในพระธรรมบท มีประมาณ ๔๒๓ พระคาถา ตั้งขึ้นแล้ว ในเพราะเรื่อง ๒๙๙ เรื่อง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงยังสัจจะทั้ง ๔ ให้แจ่มแจ้ง ทรงภาษิตไว้แล้ว, ข้าพเจ้าผู้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริกูฏ ในวิหารอันพระอธิราชเจ้าผู้มีพระกตัญญูตรัสให้สร้างไว้แล้ว เรียบเรียงอรรถกถานี้ แห่งพระคาถาเหล่านั้น ให้ถึงพร้อมด้วยอรรถและพยัญชนะ ให้หมดมลทินด้วยดี ตามพระบาลีมีประมาณ ๗๒ ภาณวาร เพื่อประโยชน์ และเพื่อเกื้อกูลแก่โลก เพราะความที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรมของพระโลกนาถเจ้า ได้บรรลุกุศลใดแล้ว, ด้วยอำนาจกุศลนั้น ขอความดำริอันเป็นกุศลทั้งปวง จงเผล็ดผลที่น่าจับใจ สำเร็จแก่สัตว์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 573
พรรณนาคุณสมบัติของผู้เรียบเรียงคัมภีร์นี้
พระเถระผู้ทรงนามอันครูทั้งหลายขนานแล้วว่า "พุทธโฆสะ" ผู้ประดับด้วยศรัทธา ความรู้ และความเพียร อันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง มีคุณสมุทัย มีศีล อาจาระ ความเป็นผู้ซื่อตรง และความเป็นผู้อ่อนโยน เป็นต้น พรั่งพร้อมแล้ว สามารถหยั่งลงในการถือเอาลัทธิของตนและลัทธิอื่น ประกอบด้วยความเฉลียวฉลาดด้วยปัญญา ประกาศญาณอันไม่ขัดข้องในสัตถุศาสน์ อันต่างด้วยปริยัติธรรม คือพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ผู้ชำนาญในไวยากรณ์มาก ผู้ประกอบด้วยความกลมเกลี้ยง แห่งถ้อยคำที่ไพเราะยิ่ง อันเปล่งออกได้สะดวก ที่ยังกรณสมบัติให้เกิด ผู้มีปกติพูดถูกต้องคล่องแคล่วประเสริฐในทางพูด เป็นมหากวี เป็นผู้ประดับวงศ์ของพระเถระทั้งหลาย ผู้อยู่ในมหาวิหารโดยปกติ ผู้เพียงดังประทีปในวงศ์ของพระเถระ ผู้มีความรู้อันไม่ขัดข้องในอุตริมนุสธรรม อันประดับด้วยคุณต่างด้วยอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้น มีความรู้ไพบูลย์ทั้งหมดจด ได้เรียบเรียงอรรถวรรณนาแห่งพระธรรมนี้ไว้แล้ว.