พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถา อุททานคาถา (จริยาปิฎก)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ก.ค. 2564
หมายเลข  35135
อ่าน  814

เล่มที่ 74 [เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓


อรรถกถา อุททานคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 559

อรรถกถาอุททานคาถา

พึงทราบวินิจฉัยในอุททานคาถา ดังต่อไปนี้. อุททานคาถา มีอาทิว่า ยุทฺธญฺชโย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภิเสน ท่านแสดงมหากัญจนจริยา ด้วยชื่อเรื่องว่า ภิงสจริยา. ท่านแสดงโสณบัณฑิตจริยา ด้วยบทว่า โสณนนฺโท นี้. อนึ่ง บทว่า มูคผกฺโข ท่านแสดงเตมิยบัณฑิตจริยา ด้วยชื่อเรื่องว่า มูคผักขะ. ท่านแสดงมหาโลมหังสจริยา ด้วยหัวข้อธรรมคืออุเบกขาบารมี.

บทว่า อาสิ อิติ วุตฺตํ มเหสินา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสแล้ว อธิบายว่า ดูก่อนสารีบุตร ในครั้งนั้นเราเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อว่า แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะแสวงหาโพธิสมภารมีทานบารมีเป็นต้น ใหญ่โดยวิธีนี้ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว เหมือนอย่างที่แสดงแก่เธอในบัดนี้แหละ. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ทรงกระทำทุกรกิริยาของพระองค์ทั้งที่กล่าวแล้ว และยังไม่ได้กล่าวในที่นี้ อันเป็นไปตลอดกาลนาน ด้วยการบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์รวมเป็นอันเดียวกัน โดยสังเขปเท่านั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า:-

เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมายหลายอย่าง ในภพน้อยภพใหญ่ ตามนัยที่กล่าวแล้วนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 560

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ คือโดยนัยดังกล่าวแล้วนี้. บทว่า พหุวิธํ ทุกฺขํ คือทุกข์หลายอย่างหลายประการ เพราะอาหารมีใบหมากเม่า เป็นต้น เมื่อครั้งเป็นอกิตติบัณฑิตเป็นต้น และด้วยการอดอาหารเป็นต้น เพราะให้ใบหมากเม่านั้นแก่ยาจก. อนึ่ง เมื่อครั้งเป็นพระเจ้ากุรุเป็นต้น สมบัติมีหลายอย่างเช่นกับสมบัติของท้าวสักกะ. บทว่า ภวาภเว คือภพน้อยภพใหญ่. หรือเสวยความเจริญและความเสื่อมในภพน้อยภพใหญ่ ไม่เดือดร้อนด้วยทุกข์หลายอย่าง ไม่ถูกฉุดคร่าด้วยสมบัติหลายอย่าง เป็นผู้ขวนขวายในการบำเพ็ญบารมี ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันสมควรแก่บารมีนั้น บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างสูงสุด คือพระสัพพัญญุตญาณ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงถึงความที่บารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาสิ้นกาลนาน เพื่อให้บริบูรณ์ให้เต็มเปี่ยมโดยไม่มีเหลือ และความที่ผลที่ควรบรรลุ พระองค์ได้บรรลุแล้ว จึงตรัสคาถามีอาทิว่า :-

เราได้ให้ทานอันควรให้ บำเพ็ญศีลโดยหาเศษมิได้ ถึงเนกขัมมบารมีแล้วจึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด. เราสอบถามบัณฑิตทั้งหลาย ทำความเพียรอยู่อย่างอุกฤษฏ์ อย่าง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 561

ถึงขันติบารมีแล้ว จึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด. เราทำอธิษฐานอย่างมั่นตามรักษาสัจวาจา ถึงเมตตาบารมีแล้ว จึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด. เราเป็นผู้มีจิตเสมอในลาภและเสื่อมลาภ ในยศและเสื่อมยศ ในความนับถือและการดูหมิ่นทั้งปวง แล้วจึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทตฺวา ทาตพฺพกํ ทานํ ความว่า ในกาลนั้น เราได้สละไทยธรรม มีราชสมบัติเป็นต้นในภายนอก อวัยวะและตา เป็นต้นในภายใน ที่พระโพธิสัตว์ผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นยานเลิศ เพื่อบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จากนั้นได้บริจาคทานมีประเภทเป็นทานบารมี ทานอุปบารมี และทานปรมัตถบารมี มีการบริจาคใหญ่ ๕ อย่างเป็นที่สุด คือบริจาคราชสมบัติ ๑ บริจาคอวัยวะ ๑ บริจาคนัยน์ตา ๑ บริจาคบุตรภรรยา ๑ บริจาคตน ๑ โดยไม่มีเหลือ. ไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญทานบารมี ในกาลที่แล้วมาในจริยานี้มีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นอกิตติพราหมณ์ ในกาลเป็นสังขพราหมณ์ แม้ในกาลที่มิได้มา มีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นวิสัยหเศรษฐี ในกาลเป็นเวลามพราหมณ์. ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ ครั้งเป็นสสบัณฑิต สละตนอย่างนี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 562

เราเห็นยาจกเข้าไปขออาหาร จึงสละตนของตน ผู้เสมอด้วยทานของเราไม่มี นี้คือทานบารมีของเรา. ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนั้นพึงทราบบารมีและอุปบารมีตามสมควร.

บทว่า สีลํ ปูเรตฺวา อเสสโต ความว่า อันผู้บำเพ็ญศีลของพระโพธิสัตว์ มีอาทิอย่างนี้ คือ สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมทั้งกายวาจา สำรวมอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค มีอาชีพบริสุทธิ์ ควรบำเพ็ญบารมี อันมีประเภทเป็นศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี ยังศีลทั้งปวงให้บริบูรณ์ คือให้ถึงพร้อมด้วยชอบ โดยไม่มีส่วนเหลือ. แม้ในที่นี้ไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญศีลบารมี ในกาลที่มาแล้วในจริยานี้ มีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นศีลวนาคราช ในกาลเป็นจัมเปยยนาคราช และในกาลที่มิได้มา มีอาทิอย่างนี้ว่า ในกาลเป็นมหาวานร ในกาลเป็นช้างฉัททันตะ. ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์ครั้งเป็นสังขปาละ สละตนอย่างนี้ว่า :-

เราไม่โกรธเคืองพวกบุตรพราน แม้จะแทงด้วยหลาว แม้จะทิ่มด้วยหอก นี้เป็นศีลบารมีของเรา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 563

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนี้พึงทราบบารมีและอุปบารมีตามสมควร.

บทว่า เนกฺขมฺเม ปารมึ คนฺตฺวา คือถึงบารมีในการออกบวชครั้งใหญ่ ๓ อย่าง อุกฤษฏ์อย่างยิ่ง. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์สละราชสมบัติยิ่งใหญ่ แล้วบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ในกาลที่มาแล้วในจริยานี้อย่างนี้ คือ ในกาลเป็นยุธัญชยบัณฑิต ในกาลเป็นโสมนัสกุมาร และที่มิได้มา คือ ในกาลมีอาทิอย่างนี้ ในกาลเป็นหัตถิปาลกุมาร ในกาลเป็นมฆเทวะ. อนึ่ง เนกขัมมบารมีของพระมหาสัตว์นั้นผู้สละราชสมบัติออกบวช เพราะไม่เกี่ยวข้องอย่างนี้ว่า :-

เราสละราชสมบัติอันใหญ่หลวงที่อยู่ในเงื้อมมือ ดุจถ่มก้อนน้ำลาย เมื่อเราสละก็ไม่เกี่ยวข้อง นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนี้ พึงทราบบารมีและอุปบารมีตามสมควร.

บทว่า ปณฺฑิเต ปริปุจฺฉิตฺวา ความว่า เราสอบถามถึงการจำแนกธรรมมีกุศลเป็นต้น ด้วยนัยมีอาทิว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ การจำแนกกรรมและผลของกรรม กรรมศิลปะวิชา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 564

อันไม่มีโทษ อันนำมาซึ่งอุปการะแก่สัตว์ทั้งหลาย กะบัณฑิตผู้มีปัญญา. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงปัญญาบารมี. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญปัญญาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นวิธูรบัณฑิต ในกาลเป็นมหาโควินทบัณฑิต ในกาลเป็นกุททาลบัณฑิต ในกาลเป็นอรกบัณฑิต ในกาลเป็นโพธิปริพาชก ในกาลเป็นมโหสถบัณฑิต. อนึ่ง ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้แสดงถึงงูที่อยู่ภายในกระสอบว่า :-

เราค้นหาด้วยปัญญา ปลดเปลื้องพราหมณ์จากทุกข์. ผู้เสมอด้วยปัญญาของเราไม่มี นี้เป็นปัญญาบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า วีริยํ กตฺวาน อุตฺตมํ คือการทำวีริยบารมีหลายอย่างให้เกิด. คือ ปธานะ วีริยะอันสูงสุดเพราะสามารถให้ถึงสัมมาสัมโพธิญาณได้. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญวีริยบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นมหาศีลวราช ในกาลเป็นปัญจาวุธกุมาร ในกาลเป็นพระยามหาวานร. อนึ่ง วีริยบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นพระมหาชนกข้ามมหาสมุทร อย่างนี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 565

เราอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรมองไม่เห็นฝั่ง พวกมนุษย์ทั้งหลายพากันตายหมดแล้ว เราไม่มีจิตเป็นอย่างอื่น นี้เป็นวีริยบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า ขนฺติยา ปารมึ คนฺตฺวา ความว่า เราบรรลุถึงอธิวาสนขันติ เป็นต้น อันมีสภาพเป็นขันติชั้นอุกฤษฏ์อย่างยอดเยี่ยม ถึงขันติบารมีชั้นยอด. อธิบายว่า ยังขันติบารมีให้สมบูรณ์. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญขันติบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นพระยาวานร ในกาลเป็นพระยากระบือ ในกาลเป็นรุรุมิคราช ในกาลเป็นธรรมเทพบุตร. อนึ่ง ขันติบารมีของพระมหาสัตว์นั้น ครั้งเป็นขันติวาทีดาบสเสวยทุกข์ใหญ่ ดุจไม่มีจิตใจอย่างนี้ว่า :-

เราไม่โกรธพระราชากาสี ผู้โบยเราด้วยขวานอันคม เหมือนเราไม่มีจิตใจ. นี้เป็นขันติบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า กตฺวา ทฬฺหมธิฏฺานํ ความว่า เราทำอธิษฐานสมาทานกุศลอธิษฐานสมาทานบารมีนั้นๆ และสมาทานธรรมเป็นอุปการะแก่บารมี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 566

นั้นให้มั่นไม่ให้หย่อน. อธิบายว่า อธิษฐานสมาทานข้อปฏิบัตินั้นๆ โดยไม่มีการกลับกลอก. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณแห่งอัตภาพของพระมหาสัตว์ผู้บำเพ็ญอธิษฐานบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นโชติปาละ ในกาลเป็นสรภังคะ ในกาลเป็นพระเนมิ. อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นพระเตมิยกุมาร อธิษฐานพรตสละชีวิตอย่างนี้ว่า :-

เราไม่เกลียดชังพระมารดาและพระบิดา เราไม่เกลียดตัวเรา. พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานพรต.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า สจฺจวาจานุรกฺขิย ความว่า เราตามรักษาสัจวาจา รังเกียจโวหารที่ไม่เป็นอริยะ แม้ในเวลามีอันตรายถึงชีวิต ก็คงรักษาไว้ คือรักษาคำพูดที่ไม่ผิดปกติโดยประการทั้งปวง. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณของอัตภาพของพระมหาสัตว์ที่บำเพ็ญสัจจบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นพระยาวานร ในกาลเป็นสัจจดาบส ในกาลเป็นพระยาปลา. อนึ่ง สัจจบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นมหาสุตโสม สละชีวิตตามรักษาคำสัตย์ อย่างนี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 567

เราตามรักษาสัจวาจา สละชีวิตของเรา ให้โปริสาทปลดปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑. นี้เป็นสัจจบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า เมตฺตาย ปารมึ คนฺตฺวา ความว่า เราถึงเมตตาบารมีอันมีลักษณะนำสิ่งเป็นประโยชน์ในสรรพสัตว์โดยไม่เจาะจง อันเป็นบารมีชั้นอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณของอัตภาพของพระโพธสัตว์ที่บำเพ็ญเมตตาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นจูฬธรรมปาละ ในกาลเป็นมหาสีลวราช. ในกาลเป็นสามบัณฑิต. อนึ่ง เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นสุวรรณสามแผ่เมตตาไม่เหลียวแลแม้ชีวิตอย่างนี้ว่า :-

ใครๆ ไม่สะดุ้งหวาดกลัวเรา แม้เราก็ไม่กลัวใครๆ. อันกำลังแห่งเมตตาอุปถัมภ์ไว้ เราจึงยินดีในป่าใหญ่ในกาลนั้น.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า สมฺมานนาวมานเน ความว่า เรามีจิตเสมอ ไม่ผิดปกติในการนับถือด้วยการบูชาสักการะเป็นต้น โดยเคารพ ในการดูหมิ่นด้วยการ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 568

ถ่มน้ำลายเป็นต้น และในโลกธรรมทั้งปวง ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณอันยอดเยี่ยมสูงสุด. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณแห่งอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญอุเบกขาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นพระยามหาวานร ในกาลเป็นพระเจ้ากาสี ในกาลเป็นเขมพราหมณ์ ในกาลเป็นอัฐิเสนปริพาชก. อนึ่ง อุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้นครั้งเป็นมหาโลมหังสะ แม้เมื่อเด็กชาวบ้านทำให้เกิดสุขและทุกข์ ด้วยการถ่มน้ำลายเป็นต้น และด้วยการนำดอกไม้ของหอมเป็นต้นเข้าไป ก็ไม่ละเลยอุเบกขา อย่างนี้ว่า :-

เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน. เด็กชาวบ้านพวกหนึ่งพากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงการบำเพ็ญทุกรกิริยาที่พระองค์ทรงทำแล้วในภัทรกัปนี้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณโดยสังเขปว่า :-

เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมายหลายอย่าง ในภพน้อยและภพใหญ่ตามนัยที่กล่าว

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 569

แล้วนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

แล้วทรงแสดงบารมี ๑๐ ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญแล้วโดยชอบอีกว่า:-

ทตฺวา ทาตพฺพกํ ทานํ ฯลฯ ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตมํ

เราให้ทานที่ควรให้ ฯลฯ บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด (มีคำแปลซ้ำกับที่แปลไว้แล้วในตอนต้น).

จบ อรรถกถาอุททานคาถา