พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ส.ค. 2564
หมายเลข  35146
อ่าน  461

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 376

๖. วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 376

๖. วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า

[๖] ต่อจากสมัยของพระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตชินพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้ เสมือน ไม่มีผู้วัด สูงสุด.

แม้พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรม เป็นเครื่องกำหนดขันธ์และธาตุ อันเป็นเหตุไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่.

ในการทรงแสดงธรรม พระองค์มีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.

ครั้งพระเรวตมุนี ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแต่สัตว์แสนโกฏิ.

พระนราสภเสด็จออกจากที่เร้นในวันที่ ๗ ทรง แนะนำมนุษย์และเทวดาร้อยโกฏิให้บรรลุผลสูงสุด.

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมีสันนิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน หลุดพ้นดีแล้ว ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.

ผู้ที่ประชุมกัน ครั้งที่ ๑ เกินที่จะนับจำนวนได้ การประชุมครั้งที่ ๒ นับจำนวนผู้ประชุมได้แสนโกฏิ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 377

ครั้งที่พระวรุณะอัครสาวก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วย ปัญญา ผู้อนุวัตรพระธรรมจักรตามพระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น เกิดอาพาธหนัก.

ครั้งนั้น เหล่าภิกษุเข้าไปหาพระมุนี [วรุณะ] เพื่อถามถึงอาพาธของท่าน จำนวนแสนโกฏิ เป็นการ ประชุมครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อติเทวะเข้าเฝ้า พระเรวตพุทธเจ้า ถึงพระองค์เป็นสรณะ.

เราสรรเสริญศีล สมาธิ และพระปัญญาคุณอัน ยอดเยี่ยมของพระองค์ ตามกำลัง ได้ถวายผ้าอุตตราสงค์.

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้นทรง พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หา ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.

พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกริยา.

พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ รับข้าวมธุปายาส ณ นั้นแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 378

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จตามมรรคอันดีที่เขาจัด แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิ์ใบ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่าพระนางมายา พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้ จักมี พระนามว่าโคตมะ.

จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุป- ติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.

จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง มั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.

จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 379

พระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศพระองค์นั้นมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ พระเรวตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่าท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ปรบ มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า

ผิว่า พวกเราพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของ ท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.

พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้น พระชินเจ้าพระองค์นี้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่าน ผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัส แม้ของพระองค์แล้วก็ยิ่งเลื่อม ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ให้บริบูรณ์.

แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็ เพิ่มพูนมากขึ้น จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนา มาให้ได้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 380

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่อว่าสุธัญญวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า วิปุลราช พระชนนีพระนามว่า พระนางวิปุลา.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัย อยู่หกพันปี มี ปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง ซึ่งเกิดเพราะบุญกรรม ชื่อ สุทัสสนะ รตนัคฆิและอาเวฬะ อันตกแต่งแล้ว.

มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงามสามล้านสามแสน นาง พระอัครมเหสีพระนามว่า สุทัสสนา พระโอรส พระนามว่า วรุณะ.

พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก อภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือรถทรง ตั้งความเพียร ๗ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระชินเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ประทับอยู่ ณ พระวิหารวรุณาราม.

มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระวรุณะและพระพรหมเทวะ มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะ.

มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททาและพระสุ- ภัททา พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้ เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น นาคะ (กากะทิง.)

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 381

มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อวรุณะ และ สรภะ มีอัคร อุปัฏฐายิกา ชื่อ ปาลา และอุปปาลา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูงทรงสูง ๘๐ ศอก ส่งรัศมีสว่างไปทุกทิศเหมือนดวงอาทิตย์,

เปลวรัศมี ที่เกิดในสรีระของพระองค์ก็ยอดเยี่ยม แผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันกลางคืน.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี พระเรวตพุทธ- เจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนเพียงนั้น จึงยังหมู่ ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.

พระองค์ทรงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า ทรง ประกาศอมตธรรมในโลก หมดเชื้อก็ดับขันธปรินิพ- พาน เหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับไปฉะนั้น.

พระวรกายดังรัตนะนั้นด้วย พระธรรมที่ไม่มี อะไรเสมือนนั้นด้วย ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระยศทรง มีบุญมาก ก็ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระบรมธาตุ ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้นๆ.

จบวงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 382

พรรณนา วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

ต่อมา ภายหลังสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า สุมนะ เมื่อศาสนาของ พระองค์อันตรธานไปแล้ว พวกมนุษย์ที่มีอายุเก้าหมื่นปี ก็ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุสิบปี แล้วก็เพิ่มขึ้นโดยลำดับ จนมีอายุหนึ่งอสงไขย แล้วก็ลดลงอีก จนมีอายุหกหมื่นปี. สมัยนั้น พระศาสดาพระนามว่า เรวตะ เสด็จอุบัติขึ้น แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งเป็น ภพที่รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะเป็นอันมาก จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้ว ก็ทรงถือ ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางวิปุลา ผู้ไพบูลย์ด้วยคุณราศรีอันงดงามและน่า จับใจ ซึ่งเป็นจุดรวมดวงตาของชนทั้งปวง เรืองรองด้วยความงาม ซึ่งเกิด จากดวงหน้าและดวงใจอันมีสิริน่ารักดุจดอกบัวบานตระการตา อัครมเหสีใน ราชสกุลของพระเจ้าวิปุลราช ผู้ไพบูลย์ด้วยความมั่งคั่งทุกอย่าง อันเกลื่อน ด้วยเหตุเกิดแห่งสิริสมบัติ ทรงถูกห้อมล้อมด้วยราชบริพารอันงดงามประมาณ มิได้ ประดับกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ในกรุงสุธัญญวดี ซึ่งมีทรัพย์ และข้าวเปลือกพร้อมสรรพ ถ้วนกำหนดทศมาสก็ประสูติจากพระครรภ์ของ พระชนนี ดุจพญาหงส์ทองบินออกจาก จิตรกูฏบรรพต.

ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ในการปฏิสนธิและประสูติของพระองค์ ก็มีนัยดัง กล่าวมาแล้วแต่ก่อน. พระองค์มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อสุทัสสนะ รตนัคฆิและ อาเวฬะ สตรีจำนวนสามหมื่นสามพันนาง มีพระนางสุทัสสนาเทวีเป็นประธาน ก็ปรากฏ. พระเรวตราชกุมารนั้น อันเหล่ายุวนารีผู้กล้าหาญแวดล้อมแล้ว ทรงครองฆราวาสวิสัยเสวยสุขอยู่หกพันปี เหมือนเทพกุมาร เมื่อพระโอรส พระนามว่า วรุณะ ของพระนางสุทัสสนาเทวีประสูติ พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 383

แล้วทรงเครื่องนุ่งห่มอย่างดีเบาๆ มีสีสรรต่างๆ ทรงสวมกุณฑลมณีมุกดาหาร ทรงทองพาหุรัดมงกุฏและกำไลพระกรอย่างดี ทรงประดับด้วยของหอมและ ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง เป็นกลุ่มที่ทำความงามอย่างยิ่ง เหมือนดวงจันทร์ ในฤดูสารท อันจตุรงคินีเสนาทัพใหญ่แวดล้อมแล้วประหนึ่งดวงจันทร์อันหมู่ ดาราแวดล้อม ประหนึ่งท้าวสหัสนัยน์อันหมู่เทพชั้นไตรทศแวดล้อมแล้ว และ ประหนึ่งท้าวหาริตมหาพรหมอันหมู่พรหมแวดล้อมแล้ว เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยรถเทียมม้า ทรงเปลื้องเครื่องสรรพาภรณ์ ประทานไว้ในมือพนักงานเรือน คลังหลวง ทรงตัดพระเกศาและมงกุฏของพระองค์ ด้วยมีดที่ลับคมกริบเฉก เช่นกลีบดอกบัวเกิดในน้ำที่ไร้มลทินและไม่วิกล แล้วทรงโยนขึ้นไปในอากาศ. ท้าวสักกเทวราชก็ทรงเอาผอบทองรองรับพระเกศาและมงกุฏนั้นไว้ ทรงนำ ไปยังภพดาวดึงส์ ทรงสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการไว้เหนือยอด ขุนเขาสิเนรุ.

ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงครองผ้ากาสายะ. ที่เทวดาถวายแล้วทรงผนวช. บุรุษโกฏิหนึ่งก็บวชตามเสด็จพระองค์. พระมหาบุรุษนั้น อันบุรุษเหล่านั้น แวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๗ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี เสวย ข้าวมธุปายาส ที่ธิดาเศรษฐีผู้หนึ่ง ชื่อว่า สาธุเทวี ถวาย แล้วทรงยับยั้งพักกลาง วัน ณ สาละวัน ตอนเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อาชีวกผู้หนึ่งถวายแล้ว เสด็จ เข้าไปที่ต้นนาคะ (กากะทิง) อันประเสริฐที่น่าชื่นชม ทรงทำประทักษิณโพธิ- พฤกษ์ชื่อต้นนาคะ ทรงลาดสันถัตหญ้า กว้าง ๕๓ ศอก แล้วประทับนั่ง อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ทรงกำจัดกองกำลังมาร ทรงแทงตลอดพระ สัพพัญญุตญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า

อเนกชาติสํสารํฯ เปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 384

ต่อจากสมัยของพระสุมนพุทธเจ้า พระชินพุทธเจ้าพระนามว่า เรวตะ ผู้นำโลก ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้วัด ทรงเป็นผู้สูงสุด ดังนี้.

ได้ยินว่า พระเรวตศาสดา ทรงยับยั้ง ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์นั่นแล ๗ สัปดาห์ ทรงรับคำอาราธนาของท้าวมหาพรหม เพื่อทรงแสดงธรรม ทรง ใคร่ครวญว่าจะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเห็นภิกษุโกฏิหนึ่งที่บวชกับ พระองค์ และเทวดากับมนุษย์อื่นเป็นอันมากเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย จึง เสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่พระวิหารวรุณาราม อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อม แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ที่ลุ่มลึกละเอียด มีปริวัฏ ๓ ซึ่งผู้อื่นประกาศไม่ได้ ทรงยังภิกษุโกฏิหนึ่งให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต ผู้ที่ตั้งอยู่ ในมรรคผล ๓ กำหนดจำนวนไม่ถ้วน ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

แม้พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันมหาพรหม อาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมซึ่งกำหนดขันธ์ธาตุ อันเป็นเหตุไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธธาตุววตฺถานํ ได้แก่ ทำการ จำแนกขันธ์ ๕ ธาตุ ๑๘ โดยกำหนดนามรูปเป็นต้น. กำหนดรูปธรรมและ อรูปธรรม โดยสภาวลักษณะและสามัญลักษณะเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดขันธ์ และธาตุ. อนึ่งพึงทราบการกำหนดขันธ์และธาตุ แม้โดยอนิจจานุปัสสนาเป็น อาทิ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า รูปเปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ เพราะไม่ทน ต่อการย่ำยี และเพราะต้องขาดวิ่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นต้น เวทนาเปรียบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 385

เหมือนฟองน้ำเพราะรื่นรมย์อยู่ชั่วขณะ สัญญาเปรียบเหมือนพยับแดดเพราะ ความย่อยยับไป สังขารทั้งหลายเปรียบเหมือนต้นกล้วย เพราะไม่มีแก่น วิญญาณ เปรียบเหมือนนักเล่นกล เพราะลวง. ในคำนี้ว่า อปฺปวตตํ ภวาภเว ความว่า ความเจริญ ชื่อว่า ภวะ ความเสื่อม ชื่อว่า อภวะ. พึงทราบความแห่งภวะและ อภวะ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า สัสสตทิฏฐิ ชื่อว่า ภวะ อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า อภวะ. ภพน้อยชื่อว่า ภวะ ภพใหญ่ชื่อว่า อภวะ, กามภพชื่อว่า ภวะ รูป ภพและอรูปภพ ชื่อว่า อภวะ. อธิบายว่า ทรงประกาศธรรมอันเป็นเหตุไม่ เป็นไปแห่งภวะและอภวะเหล่านั้น. อีกนัยหนึ่ง อุปปัตตินิมิตในภพทั้งสามมี กามภพเป็นต้น ชื่อว่า ภวะ เพราะเป็นเครื่องเป็นเครื่องมีอุปปัตติภพ ชื่อว่า อภวะ อธิบายว่า ทรงแสดงธรรม อันทำการละความยินดีในภวะและอภวะทั้ง สอง คือไม่เป็นไป. ก็พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีอภิสมัย ๓ เหมือนกัน. แต่อภิสมัยครั้งที่ ๑ ของพระองค์ เหลือที่จะนับจำนวนของผู้ ตรัสรู้ได้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในการแสดงธรรมของพระองค์ ก็มีอภิสมัย ๓ ครั้ง. แต่อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวด้วยการนับจำนวนผู้ ตรัสรู้ไม่ได้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตีณิ ก็คือ ๓. ท่านทำเป็นลิงควิปลาส. อภิสมัยครั้งที่ ๑ นี้ได้มีแล้ว.

สมัยต่อมา ได้มีพระราชาพระนามว่า อรินทมะ ผู้ทรงชนะข้าศึก ในอุตตรนคร ซึ่งเป็นนครฝ่ายเหนือ. ได้ยินว่า พระเจ้าอรินทมะพระองค์นั้น ทรงทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงนครของพระองค์ ทรงมีชนสามโกฏิ ห้อมล้อมเสด็จออกไปรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 386

ทรงถวายมหาทาน ๗ วัน แด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานทรงทำการ บูชาด้วยประทีป กว้างสามคาวุต เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้ว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมมีนัยอันวิจิตร เหมาะแก่พระหฤทัยของพระเจ้าอรินทมะนั้น. ในที่ประชุมนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มี แก่ เทวดาและมนุษย์พันโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ครั้งใด พระเรวตมุนี ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดา และมนุษย์พันโกฏิ.

นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.

สมัยต่อมา พระเรวตศาสดา ทรงอาศัยอุตตรนิคมประทับอยู่ ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ ๗ วัน. ได้ยินว่า ครั้งนั้นมนุษย์ชาวอุตตรนิคม นำ เอาข้าวต้มข้าวสวย ของขบฉัน เภสัชและน้ำปานะเป็นต้น ถวายมหาทานแด่ ภิกษุสงฆ์แล้วพากันถามว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน. ภิกษุทั้งหลายก็บอกแก่มนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้า นิโรธสมาบัติ. เมื่อล่วงไป ๗ วัน พวกเขาก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงออก จากนิโรธสมาบัติ ทรงรุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริของพระองค์หาที่เปรียบมิได้ เหมือนดวงอาทิตย์ในฤดูสารท จึงทูลถามคุณานิสงส์ของนิโรธสมาบัติ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคุณานิสงส์ของนิโรธสมาบัติแก่มนุษย์เหล่านั้น ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์ร้อยโกฏิ ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต. นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วย เหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในวันที่ ๗ พระนราสภ ทรงออกจากที่เร้นแล้ว ทรงแนะนำเทวดาและมนุษย์ร้อยโกฏิในผลสูงสุด ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 387

ใน สุธัญญวดีนคร พระอรหันต์ที่บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาจำนวน นับไม่ถ้วน ได้มีสันนิบาตครั้งที่ ๑ ในมหาปาติโมกขุทเทศครั้งที่ ๑. ใน เมขลนคร พระอรหันต์ที่บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชานับได้แสนโกฏิ ก็ได้มี สันนิบาตครั้งที่ ๒. พระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเรวตะ ชื่อว่าวรุณะ ผู้อนุวัตรตามพระธรรมจักรเป็นยอดของภิกษุผู้มีปัญญาทั้งหลาย เกิดอาพาธ ใน ครั้งนั้น พระเรวตพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม อันแสดงถึงไตรลักษณ์แก่มหาชน ที่ประชุมกัน เพื่อต้องการถามภิกษุไข้ ทรงยังบุรุษแสนโกฏิให้บวชด้วยเอหิ- ภิกขุบรรพชาแล้วให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในสันนิบาต ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน หลุดพ้นดี แล้ว ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.

ผู้ที่ประชุมกันครั้งที่ ๑ เกินที่จะนับจำนวนได้ ในการประชุมครั้งที่ ๒ นับจำนวนผู้ประชุมได้แสน โกฏิ.

ครั้งที่พระวรุณะอัครสาวก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วย ปัญญา ผู้อนุวัตรพระธรรมจักรตามพระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น เกิดอาราธนาหนักต้องสงสัยในชีวิต.

ครั้งนั้น เหล่าพระมุนีผู้เป็นพระอรหันต์จำนวน แสนโกฏิเข้าไปหา เพื่อถามถึงอาพาธของท่าน เป็น การประชุมครั้งที่ ๓.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 388

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺกานุวตฺตโก ได้แก่ ผู้อนุวัตรตาม พระธรรมจักร. ในคำว่า ปตฺโต ชีวิตสํสยํ นี้ ความสงสัยในชีวิต ชื่อว่า ชีวิตสังสยะ. ถึงความสงสัยในชีวิตอย่างนี้ว่า พระเถระถึงความสิ้นชีวิตหรือ หรือยังไม่ถึงความสิ้นชีวิต อธิบายว่า ถึงความสงสัยในชีวิตว่า เพราะภาวะที่ อาพาธรุนแรงพระเถระจะมรณภาพ หรือไม่มรณภาพ. บทว่า เย ตทา อุปคตา มุนี เมื่อเป็นทีฆะ ดังนี้ ก็หมายความถึงภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นรัสสะ พร้อมทั้งนิคคหิต [มุนี] ก็หมายความถึงพระวรุณะอัครสาวก.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อติเทวะ ใน รัมมวดีนคร ถึงฝั่งในพราหมณธรรม เห็นพระเรวตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟัง ธรรมกถาของพระองค์แล้วตั้งอยู่ในสรณะ กล่าวสดุดีพระทศพลด้วยคาถาพัน โศลก บูชาด้วยผ้าห่มมีค่าเรือนพัน. แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในที่สุดสอง อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อติเทวะ เข้า ไปเฝ้าพระเรวตพุทธเจ้า ถึงพระองค์เป็นสรณะ.

เราสรรเสริญศีล สมาธิและพระปัญญาคุณอันสูง สุดของพระองค์ตามกำลัง ได้ถวายผ้าอุตตราสงค์.

แม้พระเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้นก็ทรง พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หา ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 389

เราตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่าน ผู้นี้.

พึงกล่าว ๑๗ คาถาให้พิศดาร

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้ บริบูรณ์.

แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็เพิ่ม พูน จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนามาให้ได้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรณํ ตสฺส คญฺฉหํ ตัดบทว่า ตํ สรณํ อคญฺฉึ อหํ แปลว่า ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ. ฉัฏฐี- วิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปญฺาคุณํ ได้แก่ สมบัติคือปัญญา. บทว่า อนุตฺตมํ ได้แก่ ประเสริฐสุด. ปาฐะว่า ปญฺาวิมุตฺติ- คุณมุตฺตมํ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ก็ง่ายเหมือนกัน. บทว่า โถมยิตฺวา แปลว่า ชมเชยแล้ว สรรเสริญแล้ว. บทว่า ยถาถามํ แปลว่า ตามกำลัง. บทว่า อุตฺตรียํ แปลว่า ผ้าอุตตราสงค์. บทว่า อทาสหํ ตัดบทว่า อทาสึ อหํ. บทว่า พุทฺธธมฺมํ ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็น พระพุทธเจ้า อธิบายว่า บารมีธรรม. บทว่า สริตฺวา แปลว่า ตามระลึกถึง. บทว่า อนุพฺรูหยึ ได้แก่ ทำให้เจริญยิ่งแล้ว. บทว่า อาหริสฺสามิ แปลว่า จักนำมา. บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น. บทว่า ยํ มยฺหํ อภิปตฺถิตํ ความว่า เราจักนำความพระพุทธเจ้าที่เราปรารถนา นักหนามาให้ได้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 390

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเรวตพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญญ- วดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า วิปุลราช พระชนนีพระนามว่า พระนาง วิปุลา คู่พระอัครสาวก ชื่อ พระวรุณะ และ พระพรหมเทวะ. พุทธ- อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททา และ พระสุภัททา โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระชนมายุ หกหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา พระโอรสพระนามว่า วรุณะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.

ครั้งนั้น เปลวพระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย ของพระองค์ยอดเยี่ยม แผ่ไปโยชน์หนึ่งเป็นนิตย์ ทั้ง กลางวันทั้งกลางคืน.

พระมหาวีระชินพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรง อนุเคราะห์สรรพสัตว์ ทรงอธิษฐานว่า ธาตุทั้งหลาย ของเราทั้งหมด จงเฉลี่ยให้ทั่วถึงกัน.

พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันมนุษย์และ เทวดาทั้งหลายบูชาแล้ว ดับขันธปรินิพพาน ณ พระราชอุทยานมหานาควัน แห่งพระนครอันยิ่งใหญ่แล.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่อว่า สุธัญญวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้าวิปุลราช พระชนนีพระนามว่า พระนางวิปุลา.

พระอัครสาวก ชื่อว่า พระวรุณะและพระพรหมเทวะ พระพุทธอุปัฏฐา ชื่อว่า พระสัมภวะ.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 391

พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททา และพระสุ- ภัททา พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นนาคะ.

อัครอุปัฏฐา ชื่อว่า ปทุมะ และ กุญชระ อัครอุ- ปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง ๘๐ ศอก ทรงส่งพระรัศมีไปทุกทิศเหมือนดวงอาทิตย์ อุทัย.

เปลวพระรัศมีบังเกิดในพระสรีระ ของพระองค์ ยอดเยี่ยม แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางคืนกลาง วัน.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี พระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์เพียงนั้น จึงทรงยัง หมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.

พระเรวตพุทธเจ้า ทรงแสดงกำลังของพระพุทธ- เจ้า ทรงประกาศอมตธรรมในโลก หมดเชื้อก็ดับ ขันธปรินิพพาน เหมือนไฟสิ้นเชื้อก็ดับไปฉะนั้น.

พระวรกายดังรัตนะนั้นด้วย พระธรรมไม่มีธรรม อื่นเทียบได้นั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร ทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.


๑. ม. ชื่อว่า สิริมา และยสว.ตี

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 392

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาเสติ ได้แก่ ส่องสว่าง. บทว่า อุคฺคโต แปลว่า ขึ้นไปแล้ว. บทว่า ปภามาลา ได้แก่ ขอบเขตพระรัศมี. บทว่า ยถคฺคิ ได้แก่ เหมือนกับไฟ บทว่า อุปาทานสงฺขยา แปลว่า สิ้น เชื้อ. บทว่า โส จ กาโย รตนนิโภ ได้แก่ พระวรกายของพระผู้มี พระภาคเจ้านั้นมีวรรณะเพียงดังทองนั้นด้วย. ปาฐะว่า ตญฺจ กายํ รตนนิภํ ดังนี้ก็มี ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. ปาฐะนั้นความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. คาถา ที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระเรวตพุทธเจ้า