๙. วงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 424
๙. วงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
ว่าด้วยพระประวัติของพระปทุมพุทธเจ้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 424
๘. วงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
ว่าด้วยพระประวัติของพระปทุมพุทธเจ้า
[๙] ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดของสัตว์สองเท้า ผู้ไม่ มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ ก็ ไม่มีที่สุด ทั้งพระญาณอันประเสริฐก็นับไม่ได้ ทั้ง วิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
อภิสมัย อันลอยเสียซึ่งความมืดใหญ่ของพระองค์ผู้มีพระเดชอันชั่งไม่ได้ ในการประกาศพระธรรม จักรมี ๓ ครั้ง.
อภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อย โกฏิให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ ๒ พระจอมปราชญ์ทรง ยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ตรัสรู้.
ครั้งพระปทุมพุทธเจ้า ทรงโอวาทพระโอรสของ พระองค์เอง อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบ โกฏิ.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการ ประชุมสาวกแสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 425
เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ในสมัยกรานกฐิน ภิกษุ ทั้งหลายช่วยกันเย็บจีวร เพื่อพระสาลเถระพระธรรม เสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ผู้ไร้มลทิน มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ไม่แพ้ใคร จำนวนสามแสนโกฏิ ก็ประชุมกัน.
ต่อมาอีก พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้าจำ พรรษา ณ ป่าใหญ่ ครั้งนั้น เป็นการประชุมพระสาวก สองแสนโกฏิ.
สมัยนั้น เราเป็นราชสีห์เจ้าแห่งมฤค ได้เห็น พระชินพุทธเจ้า ซึ่งกำลังเพิ่มพูนความสงัด ในป่า ใหญ่.
เราใช่เศียรเกล้าถวายบังคมพระบาท ทำประทักษิณพระองค์ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง บำรุงพระชิน พุทธเจ้า ๗ วัน.
๗ วัน พระตถาคตทรงออกจากนิโรธสมาบัติ ทรงพระดำริด้วยพระหฤทัย ก็ทรงนำภิกษุมานับโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระก็ทรงพยากรณ์เราท่าน กลางภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้นี้จัดเป็นพระพุทธเจ้าในกัป ที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์ ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 426
ตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำ เนรัญชรา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จไปตามทางอันดีที่จัด แต่งแล้ว เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ก็ทำประทักษิณ โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้นี้จักมี พระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าต้นอัสสัตถะ อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และ หัตถะอาฬวกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 427
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา. พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ พระปทุมพุทธเจ้า ที่ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อ หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า จะผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีใหญ่ บริบูรณ์.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่อว่า จัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า อสมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยหมื่นปี มีปราสาทชั้น เยี่ยม ๓ หลัง ชื่อ นันทะ วสุ และ ยสัตตระ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 428
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม สามหมื่นสามพัน นาง มีพระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตรา พระโอรสพระนามว่า รัมมะ.
พระชินพุทธเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิ- เนษกรมณ์ ด้วยยานคือรถ ทรงตั้งความเพียร ๘ เดือน เต็ม.
พระมหาวีระ ปทุมพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรม จักร ณ ธนัญชัยราชอุทยาน อันสูงสุด.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ อัครสาวชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ พระ พุทธอุปัฏฐา ชื่อว่า พระวรุณะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระราชา และพระสุราธา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นมหาโสณะ (ไม้อ้อยช้างใหญ่).
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สภิยะ และ อสมะ มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า รุจิ และ นันทิมารา.
พระมหามุนีสูง ๕๘ ศอก พระรัศมีของพระองค์ ไม่มีอะไรเสมอ แล่นออกไปทุกทิศ.
แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟ และแสงมณี เหล่านั้นพอถึงรัศมีพระชินเจ้าอันสูงสุด ก็ถูกกำจัดไปสิ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 429
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระองค์ทรงมี พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก ให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระปทุมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระสาวก ยัง เวไนยสัตว์ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้ไม่เหลือ เลย ส่วนที่เหลือ ก็ทรงพร่ำสอน แล้วก็ดับขันธ- ปรินิพพาน.
พระองค์ทรงละสังขารทุกอย่าง เหมือนงูลอก คราบ เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วก็ดับขันธ- ปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ ฉะนั้น.
พระปทุมศาสดา พระชินะผู้ประเสริฐ ดับขันธ- ปรินิพพาน ณ พระวิหาร ธัมมาราม พระบรมสารี- ริกธาตุ ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ณ ประเทศนั้นๆ.
จบวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 430
พรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
ต่อจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี มนุษย์ทั้งหลายมีอายุ แสนปีแล้วลดลงโดยลำดับจนมีอายุ ๑๐ ปี แล้วเพิ่มขึ้นโดยลำดับอีก จนมี อายุแสนปี. ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่า ปทุม ทรงอุบัติขึ้นในโลก. แม้ พระศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิดขึ้นสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจาก นั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอสมา ผู้ที่ไม่มีผู้เสมอด้วย พระรูปเป็นต้น อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอสมราช กรุงจัมปกะ. ครบกำหนดทศมาแล้ว พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ จัมปกะราชอุทยาน. เมื่อพระกุมารสมภพ ฝนปทุมหล่นจากอากาศตกลงที่ท้าย มหาสมุทรทั่วชมพูทวีป. ด้วยเหตุนั้น ในวันขนานพระนามพระกุมารนั้น พวกโหรและเหล่าพระประยูรญาติ จึงขนานพระนามว่า มหาปทุมกุมาร พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่านันทุตตระ วสุตตระ และยสุตตระ. ปรากฏ พระสนมนารีสามหมื่นสานพันนาง มีพระนาง อุตตราเทวีเป็นประมุข.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อ รัมมราชกุมาร ของพระนางอุตตรา มหาเทวีสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ซึ่งทรงผนวชอยู่นั้น พระมหาสัตว์อัน บุรุษเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ซึ่ง นางธัญญวดี ธิดาของ สุธัญญเศรษฐี กรุงธัญญวดี ถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ มหาสาลวัน เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ซึ่ง ติตถกะอาชีวก ถวาย แล้วเสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นมหาโสณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 431
ไม้อ้อยช้างใหญ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๘ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐาน ความเพียรมีองค์ ๔ ทรงกำจัดกองกำลังมาร ทรงทำให้แจ้งวิชชา ๓ ในยาม ทั้ง ๓ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯลฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม ทรง ตรวจดูบุคคลซึ่งเป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา ทรงเห็นภิกษุจำนวนโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ ในทันใด ก็เสด็จไปทางอากาศลง ณ ธนัญชัยราชอุทยาน ใกล้กรุงธัญญวดี อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น. ครั้งนั้น อภิสมัยได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระ สมัยพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุม เป็นยอดของสัตว์สอง เท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ก็ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ ก็ไม่มีที่สุด ทั้งพระญาณอันประเสริฐ ก็นับไม่ได้ ทั้งวิมุตติ ก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
ในการประกาศพระธรรมจักรของพระองค์ ผู้มี พระเดชที่ชั่งไม่ได้ อภิสมัยการตรัสรู้ ที่เป็นเครื่อง ลอยความมืดอย่างใหญ่ มี ๓ ครั้ง.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมํ สีลํ ได้แก่ ไม่เสมือนด้วยศีล ของผู้อื่น อธิบายว่า สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า สมาธิปิ อนนฺตโก ได้แก่ ทั้งสมาธิ ก็หาประมาณมิได้. ความที่สมาธินั้น ไม่มีที่สุด พึงเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 432
ในยมกปาฏิหาริย์เปิดโลกเป็นต้น. บทว่า าณวรํ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณ หรือพระอสาธารณญาณทั้งหลาย. บทว่า วิมุตฺติปิ ได้แก่ แม้พระอรหัตตผลวิมุตติของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อนูปมา ได้แก่ เว้นที่จะ เปรียบได้. บ่ทว่า อตุลเตชสฺส ได้แก่ ผู้มีพระเดชคือญาณอันชั่งมิได้. ปาฐะว่าอตุลาณเตชา ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น พึงเห็นว่าเชื่อมความกับบทหลัง นี้ว่า ตโย อภิสมยา. บทว่า มหาตมปวาหนา ได้แก่ ยังโมหะใหญ่ให้ พินาศ อธิบายว่า กำจัดความมืดคือโมหะ.
สมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมทรงให้สาลกุมารและอุปสาลกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์บรรพชาในสมาคมพระประยูรญาติ พร้อมทั้ง บริวาร เมื่อทรงแสดงธรรมโปรดชนเหล่านั้น ทรงยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ดื่ม อมตธรรม ก็ครั้งที่ทรงแสดงธรรมโปรดพระธัมมเถระ อภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์ แปดสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อยโกฏิ ให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ ๒ พระจอมปราชญ์ทรงยัง สัตว์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งที่พระปทุมพุทธเจ้า ทรงโอวาทพระโอรส ของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบ โกฏิ.
ครั้งนั้น พระเจ้าสุภาวิตัตตะ มีราชบริพารแสนโกฏิ ทรงผนวช ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระปทุมพุทธเจ้า ผู้มีพระพักตร์ดังดอก ปทุมบาน. ในสันนิบาตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 433
สมัยต่อมา พระมหาปทุมพุทธเจ้า มุนีผู้เลิศผู้มีคติเสมอด้วยโคอุสภะ ทรงอาศัยกรุงอสุภวดีเข้าจำพรรษา พวกมนุษย์ชาวนครประสงค์จะเห็นพระผู้- มีพระภาคเจ้า จึงพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด ชนเหล่านั้น. มนุษย์เป็นอันมากในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส ก็พากันบวช แต่นั้น พระทศพลทรงปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณากันภิกษุเหล่านั้น และภิกษุสามแสน อื่นๆ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ส่วนชนเหล่าใดยังไม่บวชในครั้งนั้น ชน เหล่านั้น ฟังอานิสงส์กฐินแล้ว ก็พากันถวายกฐินจีวรที่ให้อานิสงส์ ๕ ในวัน ปาฏิบท ๕ เดือน. แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายอ้อนวอนพระสาลเถระ พระธรรม เสนาบดีอัครสาวก ผู้มีปัญญาไพศาลนั้น เพื่อกรานกฐิน ได้ถวายกฐินจีวร แก่พระสาลเถระนั้น. เมื่อกฐินจีวรของพระเถระอันภิกษุทั้งหลายทำกันอยู่ ภิกษุ ทั้งหลายก็เป็นสหายช่วยกันเย็บ. ฝ่ายพระปทุมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงร้อยด้าย เข้ารูเข็มประทาน เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจาริกหลีกไป พร้อมด้วยภิกษุสามแสน.
สมัยต่อมา พระพุทธสีหะ ประดุจบุรุษสีหะผู้ดำเนินไปด้วยความ องอาจดังราชสีห์ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ที่มีดอกไม้หอมอย่างยิ่งมี ผลไม้เป็นพวงมีกิ่งก้านอันอ่อนโน้ม มีค่าคบไม้ เสมือนป่าโคสิงคสาลวัน บริ- บูรณ์ด้วยห้วงน้ำที่เย็นอร่อย ประดับด้วยบัวก้านบัวสายไร้มลทิน เป็นที่สัญจร ของหมู่เนื้อเช่นกวาง จามรี ราชสีห์ เสือ ช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น อันฝูง แมลงภู่และผึ้งสาว ที่มีใจติดกลิ่นดอกไม้อันหอมกรุ่น บินตอมว่อนเป็นฝูงๆ โดยรอบ อันเหล่านางนกดุเหว่า มีใจเบิกบานด้วยรสผลไม้ ส่งเสียงร้องไพเราะ แผ่วเบาคล้ายขับกล่อมอยู่ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง สงัดปราศจากผู้คน เหมาะ แก่การประกอบความเพียร. พระตถาคตทศพล พระธรรมราชาพร้อมทั้งบริวาร ประทับอยู่ ณ ป่าใหญ่นั้น รุ่งโรจน์ด้วยพระพุทธสิริ มนุษย์ทั้งหลายเห็นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 434
ฟังธรรมของพระองค์ก็เลื่อมใส พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา. ครั้งนั้น พระองค์อันภิกษุสองแสนแวดล้อมแล้วก็ทรงปวารณาพรรษา นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมภิกษุแสน โกฏิ.
ในสมัยกรานกฐิน เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ภิกษุ ทั้งหลายเย็บจีวร เพื่อพระธรรมเสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ไร่มลทิน มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ไม่แพ้ใคร จำนวนสามแสนโกฏิประชุมกัน.
ต่อมาอีก พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้า จำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ครั้งนั้นเป็นการประชุมภิกษุ สองแสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินตฺถารสมเย ได้แก่ ในสมัย กรานกฐินจีวร. บทว่า ธมฺมเสนาปติตฺถาย ได้แก่ เพื่อพระสาลเถระ พระธรรมเสนาบดี. บทว่า อปราชิตา ได้แก่ น ปราชิตา อันใครๆ ให้แพ้ไม่ได้. พึงเห็นว่า ลบวิภัตติ. บทว่า โส ได้แก่ พระปทุมพุทธเจ้า พระองค์นั้น. บทว่า ปวเน แปลว่า ป่าใหญ่. บทว่า วาสํ ได้แก่ อยู่ จำพรรษา. บทว่า อุปาคมิ แปลว่า เข้า. บทว่า ทฺวินฺนํ สตสหสฺสินํ แปลว่า สองแสน. ปาฐะว่า ตทา อาสิ สมาคโม ดังนี้ก็มี. ผิว่า มีได้ ก็ดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 435
ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ ไพรสณฑ์นั้น พระโพธิสัตว์ ของเราเป็นราชสีห์ เห็นพระองค์ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน ก็มี จิตเลื่อมใส ทำประทักษิณ เกิดปีติโสมนัส บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง ไม่ละปีติ ที่มีพุทธคุณเป็นอารมณ์ ๗ วัน ด้วยปีติสุขนั่นแล ก็ไม่ออกหาเหยื่อ ยอม สละชีวิต ยืนอยู่ใกล้ๆ. ครั้งนั้น ล่วงไป ๗ วัน พระศาสดาก็ออกจากนิโรธ สมาบัติ ผู้เป็นสีหะในนรชน ทรงตรวจดูราชสีห์ ทรงพระดำริว่า ขอราชสีห์ นั้น จงมีจิตเลื่อมใสแม้ในภิกษุสงฆ์ ขอสงฆ์จงมา ภิกษุหลายโกฏิก็พากันมา ทันทีทันใด ราชสีห์ก็ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสงฆ์. ครั้งนั้น พระศาสดาทรง ตรวจดูจิตของราชสีห์นั้น ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ราชสีห์ตัวนี้ จัก เป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นราชสีห์เจ้ามฤค ได้เห็นพระชินพุทธเจ้า ผู้เพิ่มพูนความสงัดอยู่ในป่าใหญ่.
เราใช้เศียรเกล้าบังคมพระบาท ทำประทักษิณ พระองค์ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เฝ้าพระชินพุทธเจ้า ๗ วัน.
๗ วัน พระตถาคตก็ทรงออกจากนิโรธ ทรง ดำริด้วยพระหฤทัย นำภิกษุมานับโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น ก็ทรง พยากรณ์เราท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 436
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้ บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวกมนุพฺรูหนฺตํ ได้แก่ ทรงเข้า นิโรธสมาบัติ. บทว่า ปทกฺขิณํ ได้แก่ ทำประทักษิณ ๓ ครั้ง. บทว่า อภินาทิตฺวา ได้แก่ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง. บทว่า อุปฏฺหํ แปลว่า บำรุง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า วรสมาปตฺติยา ได้แก่ ออกจากนิโรธสมาบัติ. บทว่า มนสา จินฺตยิตฺวาน ความว่า ทรงพระดำริ ทางพระหฤทัยว่า ภิกษุทั้งหมดจงมาที่นี้. บทว่า สมานยิ แปลว่า นำมา แล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ปทุมะ พระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่า จัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ. พุทธ- อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธา และพระ สุราธา. โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นมหาโสณะ อ้อยช้างใหญ่. พระสรีระ สูง ๕๘ ศอก พระชนมายุแสนปี. พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตรา ผู้ยอดเยี่ยมด้วยคุณมีพระรูปเป็นต้น พระโอรสของพระองค์น่ารื่นรมย์ยิ่ง พระนามว่า พระรัมมกุมาร. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระนคร ชื่อว่าจัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 437
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระอัคร สาวก ชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ พระพุทธ- อุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราชา และพระสุราธา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ว่าต้นมหาโสณะ.
พระมหามุนี ทรงสูง ๕๘ ศอก พระรัศมีของ พระองค์ไม่มีอะไรเสมอ แล่นออกไปทุกทิศ.
แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟ แสงมณี แสงเหล่านั้น พอถึงพระรัศมีของพระชินพุทธเจ้าอันสูงสุด ก็ถูกกำจัดไปสิ้น.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระปทุมพุทธ- เจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรง ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทรงพระสาวก ยังสัตว์ทั้งหลายที่ใจอัน กุศลอบรมให้แก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้ ไม่เหลือเลย ส่วนที่ เหลือ ก็ทรงพร่ำสอนแล้วเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน.
พระองค์ทรงละสังขารทั้งปวง เหมือนงูละคราบ เก่า เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตนคฺคิมณิปฺปภา ได้แก่ แสงรัตนะ แสงไฟ และ แสงแก้วมณี. บทว่า หตา ได้แก่ ถูกครองงำ. บทว่า ชิน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 438
ปภุตฺตมํ ความว่า ถึงพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระชินพุทธเจ้าที่รุ่งเรืองยิ่ง ก็ถูกกำจัด. บทว่า ปริปกฺกมานเส ได้แก่ เวไนยสัตว์ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า. บทว่า วฑฺฒปตฺตํ แปลว่า ใบเก่า. บทว่า ปาทโปว ก็คือ ปาทโป วิย เหมือนต้นไม้. บทว่า สพฺพสงฺขาเร ได้แก่ สังขารภายในภายนอกทุกอย่าง. ปาฐะว่า หิตฺวา สพฺพสงฺขารํ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า ยถา สิขี ความว่า เสด็จถึงอย่างดีซึ่งความดับเหมือนไฟไม่มีเชื้อ. คำที่เหลือ ในที่นี้ ก็ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง ในคาถาทั้งหลายแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้า