พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๓. วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35158
อ่าน  506

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 492

๑๓. วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒

ว่าด้วยพระประวัติของพระสุชาติพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 492

๑๓. วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒

ว่าด้วยพระประวัติของพระสุชาติพุทธเจ้า

[๑๓] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเองมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุชาตะ ผู้นำโลก ผู้มีพระหนุดังคางราชสีห์ มีพระศอดังโคอุสภะ มีพระคุณหาประมาณมิได้ อัน บุคคลเข้าเฝ้าได้ยาก.

พระสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งเรืองด้วยสิริย่อมงามสง่า ทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน เหมือนดวง อาทิตย์ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.

พระสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด สิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุมงคล.

เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดงธรรม อันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิ ก็ตรัสรู้ในการแสดง ธรรม ครั้งที่ ๑.

ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณ มิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก. อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.

ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ เสด็จเข้า เฝ้าพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 493

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพไร้มลทิน มีจิตสงบ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.

พระอรหันต์สาวกผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญา ผู้ไม่ถึง พร้อมในภพน้อยภพใหญ่หกล้าน พระสาวกเหล่านั้น ประชุมกัน ครั้งที่ ๑.

ในสันนิบาต ต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จ ลงจากเทวโลกชั้นไตรทศ พระสาวกสี่แสนประชุม กัน ครั้งที่ ๒.

พระสุทัสสนะอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภ ก็เข้าเผ้าพระสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วย พระสาวกสี่แสน.

สมัยนั้น เราเป็นจักรพรรดิ์เป็นใหญ่แห่งทวีปทั้ง ๔ มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศได้.

เรามอบถวายสมบัติใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ และ รัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด แล้วก็บวชในสำนัก ของพระองค์.

พวกคนวัดรวบรวมผลรายได้ในชนบท น้อมถวาย เป็นปัจจัย ที่นอนและที่นั่งแด่พระภิกษุสงฆ์.

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งหมื่นโลกธาตุ ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุด สามหมื่นกัป.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 494

พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคตประทับนั่ง โคนต้นอชปาลนิโครธ รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้น เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญ- ชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ โพธิมัณฑสถาน อันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ที่โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนาง มายา พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้ นี้จักชื่อว่าโคตมะ.

จักมีอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติส- สะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น พระพุทธอุปฐากชื่อว่า อานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้า พระองค์นี้.

จักมีอัครสาวิกาชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า ต้นอัสสัตถะ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 495

อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา พระ โคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบ ปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า

ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถพระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ หน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.

พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ- ศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 496

เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น เจริญ พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ก็ไปสู่พรหมโลก.

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระนคร ชื่อว่าสุมงคล พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางประภาวดี.

ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สิริ อุปสิริ และจันทะ.

มีพระสนมนารีแต่งกายงาม สองหมื่นสามพัน นาง พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิรินันทา พระโอรส พระนามว่าอุปเสนะ.

พระพุทธชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิ- เนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า ทรงตั้งความเพียร ๙ เดือน เต็ม.

พระมหาวีระ สุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ สุมงคลราชอุทยานอันอุดม.

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ อัครสาวก ชื่อพระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อ นารทะ.

พระอัครสาวิกา ชื่อพระนาคา และ พระนาค- สมาลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้น เรียกว่า มหาเวฬุ ต้นไผ่ใหญ่.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 497

ไผ่ต้นนั้น ลำต้นตัน ไม่มีรู มีใบมาก ลำตรง เป็นไผ่ต้นใหญ่ น่าดูน่ารื่นรมย์.

ไผ่ต้นนั้น เติบโตต้นเดียวโดด กิ่งแตกออกจาก ต้นนั้น งามเหมือนกำแววหางนกยูง ที่เขาผูกไว้ดีแล้ว.

ไผ่ต้นนั้น ไม่มีหนาม ไม่มีรู เป็นไผ่ใหญ่มี กิ่งแผ่กว้าง ไม่มีช่อง ร่มเงาทึบ น่ารื่นรมย์.

อัครอุปัฏฐาก ชื่อ สุทัตตะ และ จิตตะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ สุภัททา และ ปทุมา.

พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ว่าโดยส่วนสูง ๕๐ ศอก ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ โดยอาการ พร้อมสรรพ ทรงถึงพระพุทธคุณ ครบถ้วน.

พระรัศมีของพระองค์ เสมอด้วยรัศมีของพระ พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ ย่อมแล่นออกโดยรอบ พระวรกาย พระองค์มีพระคุณหาประมาณมิได้ ชั่ง ไม่ได้ เปรียบไม่ได้ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรง มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ ข้ามโอฆสงสาร.

ครั้งนั้น ปาพจน์คือธรรมวินัย งามด้วยพระ อรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร เหมือน ดารากรในนภากาศ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 498

พระศาสนานี้งดงาม ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ผู้ถึงกำลังฤทธิ์ ผู้คงที่.

พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้ เสมอพระองค์นั้นด้วย พระคุณทั้งหลาย ที่ชั่งไม่ได้ เหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระสุชาตชินวรพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเสลาราม พระเจดีย์ของพระศาสดา ณ พระวิหารนั้น สูง ๓ คาวุต.๑

จบวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒


๑. ๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 499

พรรณนา วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒

ภายหลัง ต่อมาจากสมัยของพระสุเมธพุทธเจ้า ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีอายุที่นับไม่ได้มาโดยลำดับ และลดลงตามลำดับ จนมีอายุ เก้าหมื่นปี พระศาสดาพระนามว่า สุชาตะ ผู้มีพระรูปกายเกิดดี มีพระชาติ บริสุทธิ์ ก็อุบัติในโลก แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์ ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางปภาวดี อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอุคคตะ กรุงสุมงคล ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ออกจากพระครรภ์ของพระชนนี. ในวันเฉลิมพระนาม พระชนกชนนีเมื่อจะ ทรงเฉลิมพระนามของพระองค์ ก็ได้ทรงเฉลิมพระนามว่า สุชาตะ เพราะ เกิดมาแล้ว ยังสุขให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ทั่วชมพูทวีป. พระองค์ทรงครอง ฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่าสิรี อุปสิรี และสิรินันทะ๑ ปรากฏพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง มี พระนางสิรินันทาเทวี เป็น ประมุข.

เมื่อพระโอรสพระนามว่า อุปเสน ของพระนางสิรินันเทวีทรงสมภพ แล้ว พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงม้าต้นชื่อว่า หังสวหัง เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงผนวช มนุษย์โกฏิหนึ่ง ก็บวชตามพระองค์ผู้ทรงผนวชอยู่ ลำดับนั้น พระมหาบุรุษนั้น อันมนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญ เพียร ๙ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส รสอร่อย ที่ธิดาของ สิรินันทนเศรษฐีแห่งสิรินันทนนคร ถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน


๑. บาลีเป็น สิริ อุปสิริ และจันทะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 500

เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่สุนันทอาชีวกถวายแล้ว เสด็จเข้าไปยังโพธิ- พฤกษ์ ชื่อ เวฬุ ต้นไผ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๓ ศอก เมื่อดวงอาทิตย์ ยังคงอยู่ ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร ทรงแทงตลอดพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ทรงเปล่งพระอุทานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประพฤติมา แล้ว ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิต้นพฤกษ์นั่นแล ตลอด ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหม ทูลอาราธนาแล้ว ทรงเห็น พระสุทัสสนกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์ และเทวกุมาร บุตรปุโรหิต เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมคือสัจจะ ๔ เสด็จไปทางอากาศ ลงที่ สุมังคลราชอุทยาน กรุงสุมงคล ให้พนักงาน เฝ้าราชอุทยาน เรียก พระสุทัสสนกุมาร กนิษฐภาดาและ เทวกุมาร บุตร ปุโรหิตมาแล้ว ประทับนั่งท่ามกลางกุมารทั้งสองนั้น พร้อมด้วยบริวาร ทรง ประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์โกฏิหนึ่ง นี้เป็น อภิสมัยครั้งที่ ๑.

ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคน มหาสาลพฤกษ์ ใกล้ประตูสุทัสสนราชอุทยานเสด็จเข้าจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒. ครั้งพระ สุชาตทศพลเสด็จเข้าเฝ้าพระชนก ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์หกล้าน นี้เป็น อภิสมัยครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุชาตะ ผู้นำ มีพระหนุดังคางราชสีห์ มีพระศอดังโค อุสภะ มีพระคุณหาประมาณมิได้ เข้าเฝ้าได้ยาก.

พระสัมพุทธเจ้า รุ่งเรืองด้วยพระสิริ ย่อมงาม สง่าทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน เหมือน ดวงอาทิตย์ ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 501

พระสัมพุทธเจ้า บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด สิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุง สุมงคล.

เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดง ธรรมอันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิตรัสรู้ ในการ แสดงธรรมครั้งที่ ๑.

ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณ มิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.

ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ เข้าไปโปรดพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓. ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า ในมัณฑกัปใด พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะ ทรงอุบัติแล้ว ในกัปนั้นนั่น แหละ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะก็อุบัติแล้ว. บทว่า สีหหนุ ได้แก่ ชื่อว่า สีหหนุ เพราะพระหนุของพระองค์เหมือนคางราชสีห์ ก็ราชสีห์ คางล่างเท่านั้น เต็ม คางบนไม่เต็ม. ส่วนพระมหาบุรุษนั้น เต็มทั้งสองพระหนุเหมือนคาง ล่างของราชสีห์ จึงเป็นเสมือนดวงจันทร์ ๑๒ คา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สีหหนุ. บทว่า อุสภกฺขนฺโธ ได้แก่มีพระศอเสมอ อิ่ม กลม เหมือนโค อุสภะ อธิบายว่า มีลำพระศอเสมือนกลองทองกลมกลึง. บทว่า สตรํสีว

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 502

แปลว่า เหมือนควงอาทิตย์. บทว่า สิริยา ได้แก่ ด้วยพระพุทธสิริ. บทว่า โพธิมุตฺตมํ ได้แก่ พระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดมนุษย์ที่มาใน สุธรรมราชอุทยาน กรุงสุธรรมวดี ทรงยังชนหกล้านให้บวชด้วยเอหิภิกขุภาวะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น นั้น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑. ต่อจากนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ภิกษุห้าล้านประชุม กัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. พระสุทัสสนเถระพาบุรุษสี่แสนซึ่งฟังข่าวว่า พระสุทัสสนกุมาร ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุพระอรหัต จึงมาเข้าเฝ้าพระสุชาตนราสภ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดบุรุษ เหล่านั้น ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใน สันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึง ตรัสว่า

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ- บาตประชุมพระสาวก ผู้เป็นพระขีณาสพไร้มลทินมี จิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.

พระอรหันตสาวก ผู้ถึงกำลังแต่งอภิญญา ผู้ไม่ ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ หกล้าน เหล่านั้นประชุม กันเป็นการประชุมครั้งที่ ๑.

ในสันนิบาตต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้า เสด็จลงจากเทวโลก พระอรหันตสาวกห้าล้าน ประชุมกัน เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 503

พระสุทัสสนอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภ ก็เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสาวกสี่แสน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปตฺตานํ ความว่า ผู้ไม่ถึงพร้อม ในภพน้อยภพใหญ่. ปาฐะว่า อปฺปวตฺตา ภวาภเว ดังนี้ก็มี. ความก็ อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จ ลงจากโลกสวรรค์. จึงเห็นว่าลงในอรรถกัตตุการก ท่านกล่าวเป็นการกวิปลาส. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ ในการเสด็จลงจากเทวโลก. บทว่า ชิเน ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้า พึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงในในอรรถฉัฏฐี วิภัตติ.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ สดับข่าวว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า สดับธรรมกถา ก็ถวายราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยรัตนะ ๗ แด่ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา ชาวทวีปทั้งสิ้น รวบรวมรายได้ที่เกิดในรัฐ ทำหน้าที่ของคนวัดให้สำเร็จ ถวาย มหาทานเป็นประจำแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระศาสดาแม้ พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนาม ว่า โคตมะ ในอนาคตกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔ มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศ.

เรามอบถวายราชสมบัติอย่างใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔ และรัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด แล้วบวชใน สำนักของพระองค์.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 504

ชาววัดทั้งหลาย รวบรวมรายได้ในชนบทมาจัด ปัจจัย ที่นอน ที่นั่ง สำหรับพระภิกษุสงฆ์.

แม้พระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุ พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้า ในที่สุดสามหมื่นกัป.

พระตถาคตตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ บริบูรณ์.

เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ- ศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม.

เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น เจริญ พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญาแล้ว ไปสู่ พรหมโลก.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุทีปมฺหิ ความว่า แห่งมหาทวีป ๔ ที่มี ทวีป [น้อย.] เป็นบริวาร. บทว่า อนฺตลิกฺขจโร ความว่า ทำจักรรัตนะไว้ข้าง หน้าท่องเที่ยวไปในอากาศ. บทว่า รตเน สตฺต ได้แก่ รัตนะ ๗ มีหัตถิรัตนะ เป็นต้น. บทว่า อุตฺตเม ก็คือ อุตฺตมานิ แปลว่า อุดม อีกนัยหนึ่ง พึงเห็น อรรถว่าอุตฺตเม พุทฺเธ แปลว่าในพระพุทธเจ้า ผู้อุดม. บทว่า นิยฺยาตยิตฺวาน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 505

ได้แก่ ถวาย. บทว่า อุฏฺานํ ได้แก่ ผลประโยชน์ที่เกิดในรัฐ อธิบายว่า รายได้. บทว่า ปฏิปิณฺฑิย ได้แก่ รวมเอามาเก็บไว้เป็นกอง. บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ ปัจจัยต่างๆ มีจีวรเป็นต้น. บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ อิสฺสโร ได้แก่ เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุ คำนี้นั้น พึงทราบว่า ตรัสหมายถึงเขตแห่งชาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่แห่งโลกธาตุ ที่ไม่มีที่สุด. บทว่า ตึสกฺปฺป- สหสฺสมฺหิ ความว่า ในที่สุดสามหมื่นกัปนับแต่กัปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะ ทรงมีพระนคร ชื่อว่า สุมังคละ พระ ชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระนารทะ พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนาคา และ พระนาคสมาลา โพธิพฤกษ์ชื่อว่ามหาเวฬุ ต้นไผ่ใหญ่ เขาว่าต้นไผ่ใหญ่นั้น มีรูลีบ ลำต้นใหญ่ ปกคลุมด้วยใบทั้งหลายที่ไร้มลทิน สีเสมือนแก้วไพฑูรย์ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง งามเพริศแพร้วเหมือนกำแววหางนกยูง ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระ สรีระสูง ๕๐ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง สิรีนันทา พระโอรสพระนามว่า อุปเสนะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ ม้าต้น. พระองค์ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหาร สิลาราม กรุง จันทวดี ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่อว่า สุมงคล พระชนกพระนามว่า พระเจ้า อุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระอัครสาวก ชื่อว่าพระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระนารทะ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 506

มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระนาคา และพระนาค- สมาลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้นเรียกว่ามหาเวฬุ.

ไผ่ต้นนั้น ลำต้นตัน ไม่มีรู มีใบมาก ลำตรงเป็น ไผ่ต้นใหญ่ น่าดูน่ารื่นรมย์.

ลำเดียวโดด เติบโต กิ่งทั้งหลายแตกออกจาก ต้นนั้น ไผ่ต้นนั้นงามเหมือนกำแววทางนกยูง ที่เขา ผูกกำไว้ดีแล้ว.

ไผ่ต้นนั้นไม่มีหนาม ไม่มีรู เป็นไผ่ใหญ่ มีกิ่ง แผ่ไปไม่มีช่อง มีร่มเงาทึบน่ารื่นรมย์.

พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ว่าโดยส่วนสูง ก็ ๕๐ ศอก ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ โดยเพราะ อาการพร้อมสรรพ ทรงถึงพระพุทธคุณครบถ้วน.

พระรัศมีของพระองค์ ก็เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ที่ไม่มีผู้เสมอ แล่นออกโดยรอบพระวรกายไม่มีประมาณ ชั่งไม่ได้ เปรียบไม่ได้ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรง พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก ให้ข้ามโอฆสงสาร.

ครั้งนั้น ปาพจน์คือธรรมวินัย งามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร เหมือนดารากร ในท้องนภากาศ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 507

พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้ เสมอพระองค์นั้น ด้วยพระคุณเหล่านั้นที่ชั่งไม่ได้ด้วย ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉิทฺโท แปลว่า มีรูเล็ก พึงเห็น เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อนุทรา กญฺา หญิงสาวท้องเล็ก อาจารย์ บางพวกกล่าว ฉิทฺทํ โหติ ปริตฺตกํ ดังนี้ก็มี. บทว่า ปตฺติโก แปลว่า มีใบมาก. อธิบายว่า ปกคลุมด้วยใบทั้งหลาย มีสีเหมือนแก้วผลึก บทว่า อุชุ ได้แก่ ไม่คด ไม่งอ. บทว่า วํโส แปลว่า ไม้ไผ่. บทว่า พฺรหา ได้แก่ ใหญ่โดยรอบ. บทว่า เอกกฺขนฺโธ ความว่า งอกขึ้นลำเดียวโดด ไม่มีเพื่อน. บทว่า ปวฑฺฒิตฺวา แปลว่า เติบโตแล้ว. บทว่า ตโต สาขา ปภิชฺชติ ได้แก่ กิ่ง ๕ แฉก แตกออกจากยอดไผ่ต้นนั้น. ปาฐะว่า ตโต สาขา ปภิชฺชถ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุพทฺโธ ได้แก่ ที่เขาผูกโดยอาการผูก เป็นห้าเส้นอย่างดี. กำแววหางนกยูง ที่เขาทำผูกเพื่อป้องกันแดด เรียกว่า โมรหัตถะ.

บทว่า น ตสฺส กณฺฏกา โหนฺติ ความว่า ไผ่ต้นนั้น เป็นต้น ไม้มีหนามตามธรรมดา ก็ไม่มีหนาม. บทว่า อวิรโฬ ได้แก่ ปกคลุมด้วย กิ่งไม่มีช่อง. บทว่า สนฺทจฺฉาโย ได้แก่ มีร่มเงาทึบ ท่านกล่าวว่ามีร่มเงา ทึบ ก็เพราะไม่มีช่อง. บทว่า ปญฺาสรตโน อาสิ ได้แก่ ๕๐ ศอก. บทว่า สพฺพาการวรูเปโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยความประเสริฐทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 508

โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า ประกอบพร้อมด้วยความประเสริฐโดยการพร้อม สรรพ. บทว่า สพฺพคุณมุปาคโต เป็นเพียงไวพจน์ของบทหน้า.

บทว่า อปฺปมาโณ ได้แก่ เว้นจากประมาณ หรือชื่อว่า ไม่มีประมาณ เพราะไม่อาจจะนับได้. บทว่า อตุลิโย แปลว่า ชั่งไม่ได้. อธิบายว่า ไม่มีใครเหมือน. บทว่า โอปมิเมหิ ได้แก่ ข้อที่พึงเปรียบ. บทว่า อนูปโม ได้แก่ เว้นการเปรียบ อธิบายว่า อุปมาไม่ได้ เพราะไม่อาจกล่าว อุปมาว่า เหมือนผู้นี้ ผู้นี้. บทว่า คุณานิ จ ตานิ ก็คือ คุณา จ เต ความว่า พระคุณทั้งหลาย มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส คำที่เหลือทุกแห่ง ความง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้า