พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๖. วงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35161
อ่าน  517

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 540

๑๖. วงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕

ว่าด้วยพระประวัติของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 540

๑๖. วงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕

ว่าด้วยพระประวัติของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า

[๑๖] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระธัมมทัสสี- พุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงกำจัด อนธการคือความมืดได้แล้ว ก็เจิดจ้าในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก.

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชไม่มีใคร เทียบพระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัย ครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.

ครั้งพระธัมนทัสสีพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัญชัยฤษี อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.

ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัท เข้าเฝ้าพระผู้นำ พิเศษ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.

พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ พระองค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า เข้าจำพรรษา ณ กรุง สรณะ พระสาวกพันโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 541

ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมา สู่มนุษยโลก พระสาวกร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๒.

ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงคคุณ พระสาวกแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้ง ที่ ๓.

สมัยนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ ได้บูชา ด้วยของหอมดอกไม้และดนตรี อันเป็นทิพย์.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม กลางเทวดา ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไป ยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางดี อันเขาจัด แต่งไว้แล้ว ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 542

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จัก เป็นพระโคตมะ.

พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุป- ติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง มั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง ท่านพระชินเจ้าพระองค์นี้.

พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ พระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มิจิตสงบ ตั้ง มั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.

อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา พระโคดม ผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่ง- ใหญ่พระองค์นั้นแล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็น หน่อพุทธางกูร.

หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า

ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ พระองค์นิไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 543

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.

พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ หน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระธัมมทัสสีศาสดา มีพระนคร ชื่อว่า สรณะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระนาม ว่า พระนางสุนันทา.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี มีปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า อรชะ วิรชะ และสุทัสสนะ.

มีพระสนมนารี แต่งกายงามสี่หมื่นนาง พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกฬี พระโอรส พระนามว่า พระปุญญวัฒนะ.

พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีระ ธัมมทัสสีนราสภ ผู้เลิศกว่านรชน อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ พระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระอัครสาวก ชื่อว่า พระปทุมะ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสุทัตตะ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 544

พระอัครสาวกาชื่อว่าพระเขมาและพระสัจจนามา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ว่าพิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ.

อัครอุปัฏฐากชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสสหะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า สาฬิสา และกฬิสสา.

พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้ เสมอ สูง ๘๐ ศอก รุ่งโรจน์ด้วยพระเดช ในหมื่น โลกธาตุ.

พระองค์งดงาม เหมือนต้นพญาสาลพกฤษ์ที่ ออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าในนภากาศเหมือน ดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.

พระผู้มีพระจักษุดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระชนมายุของพระองค์ ผู้มีพระเดชไม่มีใครเทียบ พระองค์ นั้น ก็เท่าๆ กับสัตว์อื่น.

พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแสดงพระรัศมีทำ พระศาสนาให้ไร้มลทินแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องนภากาศ.

พระมหาวีระธัมมทัสสี ปรินิพพาน ณ พระวิหาร เกสาราม พระสถูปของพระองค์สูง ๓ โยชน์.

จบวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 545

พรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕

เมื่อพระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว อันตรกัปก็ล่วงไป แล้ว เนื้อสัตว์ทั้งหลายที่มีอายุนับไม่ได้ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุได้แสนปี พระศาสดาพระนามว่า ธัมมทัสสี ผู้ทำความสว่างแก่โลก ทำการกำจัดมลทิน มีโลภะเป็นต้น เป็นนายกเอกของโลก อุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้น แล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสุนันทาเทวี อัครมเหสีของ พระเจ้าสรณะ ผู้เป็นที่พึ่งของโลกทั้งปวง ณ กรุงสรณะ ถ้วนกำหนดทศมาส พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ สรณะราชอุทยาน เหมือนจันทร์ เพ็ญโคจรลอดช่องเมฆ ในฤดูฝน เมื่อพระมหาบุรุษ พอประสูติจากพระครรภ์ พระชนนีเท่านั้น โวหารการว่ากล่าวที่ไม่ชอบธรรม ในศาสตร์และคัมภีร์อัน กล่าวด้วยเรื่องอธิกรณ์ (การตัดสินคดี) ก็เสื่อมหายไปเองแล ดำรงอยู่แต่การ ว่ากล่าวที่ชอบธรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์ พระชนกชนนีจึงเฉลิมพระนามว่า ธัมมทัสสี พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่ แปดพันปี นัยว่าทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า อรชะ วิรชะ และ สุทัสสนะ มีพระสนมนารีสองแสนสองหมื่นนาง มีพระนาง วิจิโกฬิเทวี เป็นประมุข.

เมื่อพระโอรสพระนามว่า ปุญญวัฒนะ ของพระนาง วิจิโกฬิเทวี สมภพ พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เหมือนเทพกุมาร เสวยสมบัติเหมือนเทพสมบัติ ทรงลุกขึ้นในยามกลาง ประทับบนที่สิริไสยาสน์ ทรงเห็นอาการอันวิการของเหล่าสนมที่หลับไหล ก็ เกิดสังเวช เกิดจิตคิดออกมหาภิเนษกรมณ์ ในลำดับเกิดจิตนั่นแล สุทัสสน-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 546

ปราสาทของพระองค์ก็ลอยขึ้นสู่นภากาศ อันจตุรงค์เสนาแวดล้อมแล้ว ลอยไป เหมือนดวงอาทิตย์และเหมือนเทพวิมาน แล้วก็ลงตั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ชื่อต้น รัตตกุรวกะ มะกล่ำทอง ได้ยินว่า พระมหาบุรุษ ทรงรับผ้ากาสายะที่ท้าว มหาพรหมน้อมถวาย ทรงผนวชแล้ว เสด็จลงจากปราสาท ประทับยืนอยู่ไม่ ไกล. ปราสาทก็ลอยไปทางอากาศอีก ทำโพธิพฤกษ์ไว้ข้างในแล้วตั้งลงที่แผ่น ดิน แม้นางสนมนารีพร้อมทั้งบริวาร ก็ลงจากปราสาท เดินไปชั่วครึ่งคาวุต ก็หยุด ณ ที่นั้น เว้น นางสนมนารี ปริจาริกาและหญิงรับใช้ของนางสนมเหล่า นั้น มนุษย์ทุกคนก็บวชตามเสด็จ ภิกษุทั้งหลาย ก็มีจำนวนถึงแสนโกฏิ.

ลำดับนั้น พระธัมมทัสสีโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญความเพียร ๗ วัน เสวยข้าวมธุปายาสที่ พระนางวิจิโกฬิเทวี ถวาย ทรงพักกลางวัน ณ ป่า พุทรา เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อสิริวัฒนะถวาย แล้วเสด็จไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อพิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ ทรงลาดสันถัตหญ้า กว้าง ๕๓ ศอก ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิพฤกษ์นั้น ทรง เปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯลฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แล้ว ทรงยับยั้งอยู่ใกล้ๆ โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม แล้วทรงทราบว่า ภิกษุแสนโกฏิที่บวชกับพระองค์เป็นผู้สามารถแทงตลอดพระสัทธรรมได้ ก็เสด็จหนทาง ๑๘ โยชน์ วันเดียวเท่านั้นก็ถึงอิสิปตนะ อันภิกษุ เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อิสิปตนะนั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ มีพระยศยิ่งใหญ่ ก็กำจัดความมืดมนอนธการแล้ว เจิดจ้าในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 547

ในกาลที่พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่ มีผู้เทียบได้พระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมนฺธการํ ความว่า ได้แก่ อนธการ คือโมหะ ที่ชื่อว่าตมะ.

ครั้งพระราชาพระนามว่า สัญชัย ในนครชื่อ ตคระ ทรงเห็นโทษ ในกาม และคุณอันเกษมในเนกขัมมะ จึงทรงผนวชเป็นฤษี คนเก้าหมื่นโกฏิ บวชตามเสด็จ ชนเหล่านั้น ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ หมดทุกคน ครั้ง นั้น พระธัมมทัสสีศาสดาทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของชนเหล่านั้น จึงเสด็จไป ทางอากาศ ถึงอาศรมบทของสัญชัยดาบสแล้ว ทรงยืนอยู่ในอากาศ ทรง แสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัยของดาบสเหล่านั้น ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดขึ้น นั้นเป็นอภิสมัย ครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัญชัย- ฤษี อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. ครั้งท้าวสักกะจอมทวยเทพ ประสงค์จะฟังธรรมของพระทศพล จึง เสด็จเข้าไปเฝ้า อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึง ตรัสว่า

ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัทเข้าเฝ้า พระผู้เป็น นายกพิเศษ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.

ส่วนครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าทรงบวช พระปทุมกุมาร และพระปุสสเทวกุมาร พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดา พร้อมทั้งบริวารในกรุงสรณะ ทรงทำสุทธิปวารณา ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิซึ่งบวชภายในพรรษานั้น นั้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 548

เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑ ต่อมาอีก ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ภิกษุร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ประกาศคุณานิสงส์แห่งธุดงค์ ๑๓ ณ พระสุทัสสนาราม ทรงสถาปนาพระมหาสาวก ชื่อ หาริตะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุแปดสิบโกฏิ นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระธัมมทัสสี ผู้เป็นเทพแห่งเทพ แม้พระองค์ นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้ มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าเจ้าจำพรรษา ณ กรุง สรณะ ภิกษุสาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑.

ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมา สู่มนุษย์โลก ภิกษุสาวกร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสัน นิบาตครั้งที่ ๒.

ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงค- คุณ ภิกษุสาวกแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นท้าวสักกเทวราช อันทวยเทพ ในเทวโลกทั้งสองแวดล้อมแล้ว เสด็จมาบูชาพระตถาคต ด้วยของทิพย์มีของ หอมและดอกไม้เป็นต้น และด้วยทิพยดนตรี พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็ ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม ว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 549

ครั้งนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ ได้บูชาด้วย ของหอม ดอกไม้ และดนตรีทิพย์.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม กลางเทวดา ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อ หน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อ สรณะ พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุนันทา คู่พระ อัครสาวกชื่อว่า พระปรุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า สุเนตตะ๑ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระสัจจนามา โพธิ- พฤกษ์ชื่อว่า พิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระชนมายุ แสนปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิจิโกฬิเทวี พระโอรสพระนามว่า พระปุญญวัฒนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระธัมมทัสสีศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่าสรณะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระ นามว่า พระนางสุนันทา.

พระธัมมทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระปทุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสุเนตตะ.


๑. บาลีเป็น ลุทัตตะ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 550

พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระเขมาและพระสัจจนามา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ว่าต้นพิมพิชาละ.

พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี ผู้เสมอพระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก ทรงรุ่งโรจน์ด้วย พระเดชในหมื่นโลกธาตุ.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนต้นพญา สาลพฤกษ์ที่ออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าใน นภากาศ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.

พระผู้มีพระจักษุดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระชนมายุของพระผู้มีพระเดช ที่ไม่มีใครเทียบพระองค์ นั้น ก็เท่านั้น.

พระองค์ทั้งพระสาวก แสดงพระรัศมีทำพระศาสนาให้ไร้มลทินแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนดวงจันทร์ เคลื่อนจากต้องนภากาศ.

แก้อรรถ

ต้นมะกล่ำทอง ชื่อว่า ต้นพิมพิชาละในพระคาถานั้น. บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ ธาตุยา ก็คือ ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ. บทว่า วิชฺชูว ก็คือ วิชฺชุลตา วิย เหมือนสายฟ้า. บทว่า อุปโสภถ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนสายฟ้าและเหมือนดวง อาทิตย์งามเวลาเที่ยงวันฉะนั้น. บทว่า สมกํ ความว่า พระชนมายุของพระองค์ ก็เท่าๆ กับนรสัตว์ทั้งปวง. บทว่า จวิ แปลว่า เคลื่อนแล้ว. บทว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 551

จนฺโทว ความว่า เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องฟ้า. ได้ยินว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าธัมมทัสสี ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเกสาราม กรุง สาลวดี คำที่เหลือในคาถาทุกแห่งชัดแล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า