พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๙. วงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35164
อ่าน  491

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 578

๑๙. วงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘

ว่าด้วยพระประวัติของพระปุสสพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 578

๑๙. วงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘

ว่าด้วยพระประวัติของพระปุสสพุทธเจ้า

[๑๙] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง ก็ได้มีพระศาสดา พระนามว่า ปุสสะ ผู้ยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้ เสมอ พระผู้นำเลิศของโลก.

แม้พระองค์ ก็ทรงกำจัดความมืดทุกอย่าง ทรง สางรกชัฏขนาดใหญ่ เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้อิ่ม ก็ทรงหลั่งน้ำอมฤตให้ตกลงมา.

เมื่อพระปุสสพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักรในสมัยนักขัตมงคล อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์แปดล้าน.

อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าล้าน อภิสมัย- ครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์แปดล้าน.

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

ประชุมพระสาวกหกล้าน เป็นสันนิบาตครั้ง ที่ ๑ ประชุมพระสาวกห้าล้าน เป็นสันนิบาตครั้ง ที่ ๒.

ประชุมพระสาวก ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้ ขาดปฏิสนธิแล้วสี่ล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 579

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ นามว่า พระเจ้าวิชิตะ (วิชิตาวี) ละราชสมบัติใหญ่ บวชในสำนักของพระองค์.

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลกพระองค์นั้น ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่าน ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้า ไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคน โพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จัก มีพระนามว่า โคตมะ.

จักมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และ พระ อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 580

ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จัก บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.

จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระ อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.

จักมีอัครอุปัฏฐาก ซึ่งจิตตะ และ หัตถกะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทมาตา และ อุตตรา พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ ของ พระปุสสพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ แล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า

ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนา ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จัก อยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัยและนวังคสัตถุ- ศาสน์ทุกอย่าง ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้ งาม.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 581

เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น เจริญ พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งในอภิญญา ก็ไปสู่พรหมโลก.

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่อกาสิกะ พระชนก พระนามว่า พระเจ้า ชัยเสน พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี มี ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า ครุฬะ หังสะ สุวัณณ- ดารา.

มีพระสนมนารี สามหมื่นสามพันนาง พระอัคร มเหสีพระนามว่า พระนางกีสาโคตมี พระโอรสพระ นามว่า อานันทะ.

พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงออก อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.

พระมหาวีรปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก ผู้สูงสุดในนรชน อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่ามิคทายวัน.

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ อัครสาวกชื่อว่า พระสุรักขิตะ และ พระธัมมเสนะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระสภิยะ.

มีพระอัครสาวิกาชื่อพระจาลา และพระอุปจาลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ว่าต้นอามลกะ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 582

มีอัครอุปัฏฐาก ซึ่งว่าธนัญชยะ และวิสาขะ อัคร อุปัฏฐายิกาชื่อว่า ปทุมา และสิรินาคา.

พระมหามุนีพระองค์นั้น สูง ๕๘ ศอก ทรงงาม เหมือนดวงอาทิตย์ เต็มเหมือนดวงจันทร์.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระปุสส- พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ทรงสั่งสอนสัตว์ เป็นอันมาก ยังชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ พระองค์ ทั้งพระสาวก มีพระยศที่ไม่มีใครเทียบ ก็ยังปริ- นิพพาน.

พระศาสดา ชินวรปุสสพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ- ปรินิพพาน ณ พระวิหารเสนาราม พระบรมสารีริกธาตุ ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้นๆ.

จบวงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 583

พรรณนาวงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘

ภายหลังต่อมาจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าติสสะพระองค์นั้น เมื่อ มนุษย์ทั้งหลาย เสื่อมลงโดยลำดับและเจริญขึ้นอีก จนมีอายุมากหาประมาณ ไม่ได้ แล้วก็เสื่อมลงโดยลำดับ จนมีอายุได้เก้าหมื่นปี ในกัปนั้นนั่นเอง พระศาสดาพระนามว่า ปุสสะ ก็อุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์ นั้น ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้วก็ ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสิริมาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้า ชัยเสนะ กรุงกาสี ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ สิริมาราชอุทยาน พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ได้ยินว่า ทรง มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า ครุฬปักขะ หังสะ และ สุวรรณภาระ. ปรากฏพระ สนมกำนัลสามหมื่นนาง มี พระนางกีสาโคตมี เป็นประมุข

เมื่อพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ ของ พระนางกีสาโคตมี ทรง สมภพ พระมหาบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ ก็ขึ้นทรงช้างพระที่นั่งที่ประดับแล้ว เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช ชนโกฏิหนึ่งออกบวชตามเสด็จ พระองค์ อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน แต่นั้น ก็ทรงละ หมู่ ทรงเพิ่มความประพฤติแต่ลำพังพระองค์อยู่ ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าว มธุปายาสที่ นางสิริวัฑฒา ธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่ง ณ นครแห่งหนึ่งถวาย ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่า สีสปาวัน เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำที่อุบาสก ชื่อ สิริวัฑฒะ ถวาย เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ อามลกะคือ ต้นมะขาม ป้อม ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํฯ เปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ยับยั้งอยู่ใกล้ต้นโพธิ์พฤกษ์ ๗ วัน ทรงเห็นภิกษุโกฏิหนึ่งซึ่งบวชกับพระองค์

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 584

เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมได้จึงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่อิสิปตนะมิคทายวัน สังกัสสนคร ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง ได้มีพระศาสดาพระนาม ว่า ปุสสะ ผู้ยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เปรียบ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้นำเลิศของโลก.

แม้พระองค์ ทรงกำจัดความมืดทั้งหมดแล้วทรง สางรกชัฏขนาดใหญ่ เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้อิ่ม ทรงหลั่งน้ำอมฤตให้ตกลงมา.

เมื่อพระปุสสพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร ในสมัยนักขัตมงคล อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่สัตว์ แสนโกฏิ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า ในกัปใด มีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ๒ พระองค์ กัปนั้นเราเรียกมาแต่หนหลังว่า มัณฑกัป. บทว่า วิชเฏตฺวา ได้แก่ แก้. คำว่า ชฏา ในคำว่า มหาชฏํ นี้ เป็นชื่อของตัณหา ท่านกล่าวว่า จริงอยู่ตัณหานั้น ชื่อว่า ชฏา เพราะ เป็นเหมือนชัฏ กล่าวคือขนมร่างแหที่ร้อยด้วยกลุ่มด้าย เพราะเกิดบ่อยๆ ร้อย ไว้ด้วยตัณหา เบื้องล่างเบื้องบนในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ซึ่งรกชัฏ ขนาดใหญ่นั้น. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกทั้งเทวโลก. บทว่า อภิวสฺสิ แปลว่า ให้ตกลงมาแล้ว. บทว่า อมตมฺพุนา ความว่า เมื่อให้อิ่ม จึงหลั่ง น้ำคือธรรมกถา กล่าวคืออมตธรรม ให้ตกลงมา.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 585

ครั้ง พระเจ้าสิริวัฑฒะ กรุงพาราณสี ทรงละกองโภคสมบัติ ใหญ่ ทรงผนวชเป็นดาบส ได้มีดาบสที่บวชกับพระองค์จำนวนเก้าล้าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดดาบสเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้ง ที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าล้าน ส่วนครั้งทรงแสดงธรรมโปรดอนุปมกุมาร พระ โอรสของพระองค์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดล้าน. ด้วยเหตุ นั้น จึงตรัสว่า

อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าล้าน อภิสมัย ครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดล้าน.

แต่นั้น สมัยต่อมา พระสุรักขิตะราชโอรส และธัมมเสนกุมาร บุตร ปุโรหิต ณ กัณณกุชชนคร เมื่อพระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จถึงนครของตน ก็ออกไปรับเสด็จพร้อมด้วยบุรุษหกล้าน ถวายบังคมแล้วนิมนต์ถวายมหาทาน ๗ วัน สดับธรรมกถาของพระทศพลแล้วเลื่อมใส พร้อมกับบริวารก็พากันบวช แล้วบรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่าม กลางภิกษุหกล้านเหล่านั้น นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑. ต่อมาอีก พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์ ในสมาคมพระญาติประมาณหกสิบ ของ พระเจ้าชัยเสน กรุงกาสี ชนห้าล้านฟังพุทธวงศ์นั้น พากันบวชด้วย เอหิภิกขุบรรพชา แล้วบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่ในท่ามกลาง ภิกษุเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง. นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๒. ต่อมาอีก บุรุษสี่ล้านฟังมงคลกถาในมหามงคลสมาคมพากันบวชแล้ว บรรลุ พระอรหัต พระสุคตเสด็จอยู่ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้น แสดง นั้น เป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 586

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

ประชุมพระสาวกหนึ่งล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑ ประชุมพระสาวกห้าล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.

ประชุมพระสาวก ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้ ขาดปฏิสนธิแล้วสี่ล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา ทรงเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้า วิชิตาวี นครอรินทมะ ทรงสดับธรรมของพระปุสสพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรง เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายมหาทานแด่พระองค์ ทรงละราชสมบัติ ใหญ่ทรงผนวชในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเรียนพระไตรปิฎกทรงพระ ไตรปิฏก ตรัสธรรมกถาแก่มหาชน และทรงบำเพ็ญศีลบารมี พระปุสส- พุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า วิชิตาวี ละราช- สมบัติใหญ่ บวชในสำนักของพระองค์.

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลกพระองค์นั้น ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนัปแต่กัปนี้ ท่านผู้ นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯลฯ เพื่อบำเพ็ญ บารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 587

เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ- ศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้ งาม.

เราอยู่อย่างไม่ประมาท ในพระศาสนานั้นเจริญ พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญาก็ไปสู่พรหมโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่ากาสี พระชนก พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา คู่พระ อัครสาวกชื่อว่า พระสุรักขิตะ และ พระธัมมเสนะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสภิยะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระจาลา และ พระอุปจาลา โพธิ- พฤกษ์ชื่อว่า อามลกะ คือต้นมะขามป้อม พระสรีระสูง ๕๘ ศอก พระชนมายุ เก้าหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางกีสาโคตมี พระโอรสพระนาม ว่า พระอนุปมะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระนคร ชื่อกาสี พระชนกพระนามว่าพระเจ้าชัยเสน พระชนนี พระนามว่า พระนางสิริมา ฯลฯ โพธิพฤกษ์ของพระ ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าอามัณฑะ ต้น มะขามป้อม ฯลฯ.

พระมุนีแม้พระองค์นั้นสูง ๕๘ ศอก งามเหมือน ดวงอาทิตย์ เต็มเหมือนดวงจันทร์.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระปุสส- พุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงพระชนม์ถึงเพียงนั้น จึง ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 588

พระศาสดา แม้พระองค์นั้น ทรงสั่งสอนสัตว์ เป็นอันมาก ให้ชนเป็นอันมากข้ามโอฆะ พระองค์ทั้ง พระสาวก มีพระยศที่ไม่มีผู้เทียบ ก็ยังปรินิพพาน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อามณฺโฑ๑ แปลว่า ต้นมะขามป้อม. บทว่า โอวทิตฺวา ได้แก่ ให้โอวาท อธิบายว่า พร่ำสอน. บทว่า โสปิ สตฺถา อตุลยโส ความว่า พระศาสดา ผู้มีพระยศที่ชั่งมิได้ แม้ พระองค์นั้น. ปาฐะว่า โส ชหิตฺวา อมิตยโส ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มี ความว่า พระองค์จำต้องละคุณวิเศษดังกล่าวแล้วทุกอย่าง.

ได้ยินว่า พระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน ณ พระ วิหารเสนาราม กรุงกุสินารา ได้ยินว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แผ่กระจายไป. ในคาถาที่เหลือทุกแห่งชัดแล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระปุสสพุทธเจ้า


๑. บาลีเป็น อามลโก