พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๐. วงศ์พระวิปิสสีพุทธเจ้า ๑๙

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35165
อ่าน  603

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 589

๒๐. วงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้า ๑๙

ว่าด้วยพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 589

๒๐. วงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้า ๑๙

ว่าด้วยพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า

[๒๐] ต่อจากสมัยของพระปุสสพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สอง เท้า พระผู้มีจักษุ ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก.

ทรงทำลาย กะเปาะไข่คืออวิชชา๑ บรรลุพระสัมโพธิญาณ เสด็จไปกรุงพันธุมดี เพื่อประกาศพระ ธรรมจักร.

พระผู้นำ ทรงยังพระโอรส และ บุตรปุโรหิตทั้ง สองให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ถึงจำนวน ผู้ตรัสรู้ธรรม.

ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ ทรง ประกาศสัจจะ ณ เขมมิคทายวันนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน.

บุรุษแปดหมื่นสี่พัน บวชตามเสด็จพระสัมพุทธ- เจ้า พระผู้มีพระจักษุทรงแสดงธรรมโปรดบรรพชิต เหล่านั้นที่มาถึงพระอาราม.

บรรพชิตแม้เหล่านั้น ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่ง ตรัสประทานโดยอาการทั้งปวง ก็บรรลุธรรมอัน ประเสริฐ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่บรรพชิตเหล่านั้น.


๑. อรรถกถาว่า อวิชชาทั้งปวง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 590

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

ประชุมพระสาวกแสนแปดหมื่นหกพัน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑ ประชุมพระสาวกแสนหนึ่งเป็นสันนิ- บาตครั้งที่ ๒.

ประชุมพระสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓ พระสัมพุทธเจ้าทรงรุ่งโรจน์อยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุ ณ เขมมิคทายวันนั้น.

สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ชื่อว่าอตุละ มีฤทธิ์มาก มีบุญ ทรงรัศมีรุ่งโรจน์ แวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิ บรรเลงดนตรีทิพย์ เข้าไปเฝ้าพระผู้เจริญที่สุดในโลก.

ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ก็นิมนต์พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนัปแต่กัปนี้ ท่านผู้ นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้ว เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญ- ชรา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 591

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด แต่งไว้ เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่ออัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุโธทนะ ท่านผู้นี้จักมี พระนามว่า โคตมะ.

จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และ พระ อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง มั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้าผู้นี้.

จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ พระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.

อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และ หัตถะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 592

หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็โห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า

ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.

พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้ ฉันนั้น.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเลื่อม ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนคร ชื่อว่าพันธุมดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า พันธุมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางพันธุมดี.

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี มี ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า นันทะ สุนันทะ และ สิริมา มีพระสนมกำนัลที่แต่งกายงามสี่หมื่นสามพันนาง มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา [สุตนู] มีพระโอรสพระนามว่า พระสมวัฏฏขันธะ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 593

พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงออกอภิ- เนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ ทรงตั้งความเพียร ๘ เดือน เต็ม.

พระมหาวีระ วิปัสสี ผู้นำโลก สูงสุดในนรชน อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ ธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระอัครสาวกชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ พระ พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอโสกะ.

มีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระจันทา และ พระจันทมิตตา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นปากลี.

มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า ปุนัพพสุมิตตะ และนาคะ มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ สิริมา และอุตตรา.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลก สูง ๘๐ ศอก พระรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านไปโดยรอบ ๗ โยชน์.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี พระพุทธเจ้า มีพระชนม์ยืนตลอดกาลเท่านั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็น อันมากให้ข้ามโอฆะ.

ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์จากเครื่องผูก และ ทรงบอกปุถุชนนอกนั้นถึงทางและมิใช่ทาง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 594

พระองค์ทั้งพระสาวก ครั้นแสดงแสงสว่างแล้ว จึงทรงแสดงอมตบท รุ่งเรืองแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วดับฉะนั้น.

พระวรฤทธิ์อันเลิศ พระบุญญาธิการอันประเสริฐ พระวรลักษณ์อันบานเต็มที่แล้ว ทั้งสิ้นนั้น ก็อันตรธาน ไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้เลิศในนรชน ทรงเป็นวีรบุรุษเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารสุมิตตาราม พระวรสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูง ๗ โยชน์.

จบวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๙

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 595

พรรณนาวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๙

ภายหลังต่อมาจากสมัยของ พระปุสสพุทธเจ้า กัปนั้นพร้อมทั้ง อันตรกัปล่วงไป ในเก้าสิบเอ็ดกัปนัปแต่กัปนี้ไป พระศาสดาพระนามว่า วิปัสสี ผู้เห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง ทรงทราบกัปทั้งปวง ทรงมีความดำริยินดี แต่ประโยชน์ของสัตว์อื่น อุบัติขึ้นในโลก. พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย และบังเกิดในภพสวรรค์ชั้นดุสิตอันเป็นที่รุ่งโรจน์ด้วยแสงซ่านแห่งรัตนะมณี เป็นอันมาก จุติจากนั้นแล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนาง พันธุมดี อัครมเหสีของ พระเจ้าพันธุมะ ผู้มีพระญาติมาก กรุงพันธุมดี ถ้วนกำหนดทศมาส พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ เขมมิค- ทายวัน เหมือนดวงจันทร์เพ็ญออกจากกลีบเมฆสีเขียวคราม ในวันรับพระนามของพระองค์โหรผู้ทำนายลักษณะ และพระประยูรญาติทั้งหลาย แลเห็น พระองค์หมดจด เพราะเว้นจากความมืดที่เกิดจากกระพริบตา ในระหว่างๆ ทั้ง กลางวันทั้งกลางคืน จึงเฉลิมพระนามว่า วิปัสสี เพราะเห็นได้ด้วยตาที่เปิดแล้ว อาจารย์บางพวกกล่าวว่า หรือพระนามว่า วิปัสสี เพราะพึงวิจัยค้นหาย่อมเห็น พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี ทรงมีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า นันทะ สุนันทะและสิริมา มีพระสนมกำนัลแสนสองหมื่นนาง มีพระนางสุทัสสนาเทวี เป็นประมุข. พระนางสุทัสสนา เรียกกันว่า พระนางสุตนู ก็มี.

ล่วงไปแปดพันปี เมื่อพระโอรสของพระนางสุตนูเทวี พระนามว่า ทรงสมภพ พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ จึงเสด็จออกมหาภิเนษ- กรมณ์ ด้วยรถเทียมม้า ทรงผนวช บุรุษแปดหมื่นสี่พันคน ออกบวชตาม เสด็จ พระมหาบุรุษนั้นอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 596

เดือน ในวันวิสาขบูรณมีเสวยข้าวมธุปายาส ที่ ธิดาสุทัสสนเศรษฐี ถวาย ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน ที่ประดับด้วยดอกไม้ ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คน เฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ สุชาตะ ถวาย ทรงเห็นโพธิพฤกษ์ชื่อว่า ปาฏลี คือต้น แคฝอย ที่ออกดอก จึงเสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์นั้น ทางทิศทักษิณ วันนั้น ลำต้นอันเกลากกลมของต้นปาฏลีนั้น ชะลูดขึ้นไป ๕๐ ศอก กิ่ง ๕๐ ศอก สูง ๑๐๐ ศอก วันนั้นนั่นเอง ต้นปาฏลีนั้น ออกดอกดารดาษไปหมดทั้งต้น เริ่มแต่ โคนต้นดอกทั้งหลายมีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง เหมือนผูกไว้เป็นช่อ มิใช่ปาฏลีต้นนี้ ต้นเดียวเท่านั้น ที่ออกดอกในเวลานั้น ต้นปาฏลีทั้งหมดในหมื่นจักรวาล ก็ ออกดอกด้วย มิใช่ต้นปาฏลีอย่างเดียวเท่านั้น แม้ไม้ต้นไม้กอและไม้เถาทั้ง หลายในหมื่นจักรวาลก็ออกดอกบาน. แม้มหาสมุทร ก็ดารดาษไปด้วยปทุม บัวสาย อุบล และโกมุท ๕ สี มีน้ำเย็นอร่อย ระหว่างหมื่นจักรวาลทั้งหมด ก็เกลื่อนกล่นไปด้วยธงและมาลัย พื้นแผ่นธรณีอักตกแต่งด้วยดอกไม้กลิ่นหอม นานาชนิด ก็เกลื่อนกล่นด้วยพวงมาลัย มืดมัวไปด้วยจุรณแห่งธูป พระองค์ เสด็จเข้าไปยังต้นปาฏลีนั้น ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๓ ศอก ทรงอธิษฐาน ความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ ประทับนั่ง ทำปฏิญาณว่า ยังไม่เป็นพระพุทธ- เจ้าเพียงใด ก็จะไม่ยอมลุกจากที่นี้เพียงนั้น ครั้นประทับนั่งอย่างนี้แล้ว ทรง กำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร ทรงทำมรรคญาณ ๔ โดยลำดับมรรค ผลญาณ ๔ ในลำดับต่อจากมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ จตุโยนิปริจเฉทกญาณ ญาณเครื่องกำหนดรู้คติ ๕ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ และพระพุทธ คุณทั้งสิ้นไว้ในพระหัตถ์ ทรงมีความดำริบริบูรณ์ ประทับนั่งเหนือโพธิบัลลังก์ นั่นเอง ทรงเปล่งพระอุทานอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 597

อเนกชาติสํสารํ ฯลฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา. อโยฆนหตสฺเสว ชลโต ชาตเวทโส อนุปุพฺพูปสนฺตสฺส ยถา น ายเต คติ.

ใครๆ ย่อมไม่รู้คติ ความไปของดวงไฟ ที่ลุก โพลง ถูกฟาดด้วยค้อนเหล็ก แล้วสงบลงโดยลำดับ ฉันใด.

เอวํ สมฺมา วิมุตฺตานํ กามพนฺโธฆตารินํ ปญฺาเปตุํ คตี นตฺถิ ปตฺตานํ อจลํ สุขํ.

ไม่มีใครจะล่วงรู้คติความไป ของท่านผู้หลุดพ้น โดยชอบ ผู้ข้ามพันธะและโอฆะ คือกาม ผู้ถึงสุขอัน ไม่หวั่นไหวได้ก็ฉันนั้น.

ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ใกล้โพธิพฤกษ์นั่นเอง ทรงรับอาราธนาของท้าว มหาพรหม ทรงตรวจดูอุปนิสสัยสมบัติ ของ พระขัณฑกุมาร กนิษฐภาดา ต่างพระมารดาของพระองค์ และ ติสสกุมาร บุตรปุโรหิต เสด็จไปทาง อากาศ ลงที่ เขมมิคทายวัน ทรงใช้พนักงานเฝ้าอุทยานไปเรียกท่านทั้งสอง นั้นมาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางบริวารเหล่านั้น ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้แก่เทวดาทั้งหลาย ประมาณมิได้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ต่อจากสมัยของพระปุสสพุทธเจ้า พระสัมพุทธ- เจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้มี จักษุ ก็อุบัติขึ้นในโลก.

ทรงทำลาย อวิชชาทั้งหมด๑ บรรลุพระโพธิ- ญาณอันสูงสุด เสด็จไปยังกรุงพันธุมดี เพื่อประกาศ พระธรรมจักร.


๑. บาลีว่า อวิชฺชณฺฑํ กะเปาะไข่คืออวิชชา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 598

พระผู้นำ ครั้นทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว ยังกุมารทั้งสองให้ตรัสรู้แล้ว อภิสมัยครั้งที่ ๑ ไม่จำ ต้องกล่าวจำนวนผู้บรรลุ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทาเลตฺวา แปลว่า ทำลาย อธิบายว่า ทำลายความมืดคืออวิชชา. ปาฐะว่า วตฺเตตฺวา จกฺกมาราเม ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น บทว่า อาราเม ความว่า ณ เขมมิคทายวัน. บทว่า อุโภ โพเธสิ ได้แก่ ทรงยังกุมารทั้งสองคือ พระขัณฑราชโอรส กนิษฐภาดาของพระองค์ และติสสกุมาร บุตรปุโรหิต ให้ตรัสรู้. บทว่า คณนา น วตฺตพฺโพ ความว่า ไม่มีการกำหนดจำนวนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โดยอภิสมัย.

สมัยต่อมา ทรงยังภิกษุแปดหมื่นสี่พัน ซึ่งบวชตามพระขัณฑราช- โอรส และติสสกุมารบุตรปุโรหิตให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศประมาณมิได้ ทรง ประกาศสัจจะ ณ เขมมิคทายวันนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวัน ใน คำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธมนุปพฺพชุํ นี้ บุรุษที่นับได้แปด หมื่นสี่พัน เหล่านี้ ก็คือพวกบุรุษที่รับใช้พระวิปัสสีกุมารนั่นเอง บุรุษเหล่า นั้นไปยังที่รับใช้พระวิปัสสีกุมารแต่เช้า ไม่เห็นพระกุมาร ก็กลับไปเพื่อกิน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 599

อาหารเช้า กินอาหารเข้าแล้ว ถามกันว่า พระกุมารอยู่ไหน แต่นั้น ได้ฟัง ข่าวว่า เสด็จไปยังที่ราชอุทยาน จึงพากันออกไปด้วยหวังว่าจักพบพระองค์ ณ ที่ราชอุทยานนั้น เห็นสารถีของพระองค์กลับมา ฟังว่าพระราชกุมารทรงผนวช แล้ว ก็เปลื้องอาภรณ์ทั้งหมดในที่ฟังข่าวนั่นเอง ให้นำผ้ากาสายะมาจากภายใน ตลาด ปลงผมและหนวดพากันบวช บุรุษเหล่านั้น ครั้นบวชแล้ว ก็พา กันไปแวดล้อมพระมหาบุรุษ.

แต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ทรงพระดำริว่า เราเมื่อจะบำเพ็ญความ เพียร ยังคลุกคลีอยู่ ข้อนี้ไม่สมควร คนเหล่านี้ แต่ก่อน เป็นคฤหัสถ์ก็พากัน มาแวดล้อมเราอย่างนั้น ประโยชน์อะไรด้วยคนหมู่นี้ ทรงระอาในการคลุกคลี ด้วยหมู่ ทรงพระดำริว่าจะไปเสียวันนี้แหละ ทรงพระดำริอีกว่า วันนี้ยังไม่ ใช่เวลา ถ้าเราจักไปในวันนี้ คนเหล่านั้นจักรู้กันหมด พรุ่งนี้จึงจักไป ในวัน นั้นนั่นเอง มนุษย์ชาวบ้าน ในบ้านตำบลหนึ่ง เช่นเดียวกับอุรุเวลคาม ได้ จัดแจงข้าวมธุปายาสอย่างเดียว เพื่อบรรพชิตแปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น และ พระมหาบุรุษ. ในวันรุ่งขึ้น เป็นวันวิสาขบูรณมี พระวิปัสสีมหาบุรุษ เสวยภัตตาหาร กับชนที่บวชเหล่านั้นในวันนั้นแล้ว ก็เสด็จไปยังสถานที่ประทับอยู่ ณ ที่นั้น บรรพชิตเหล่านั้น แสดงวัตรปฏิบัติแด่พระมหาบุรุษแล้ว ก็พากันเข้าไปยัง สถานที่อยู่กลางคืนและที่พักกลางวันของตนๆ.

แม้พระโพธิสัตว์ ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลา ประทับนั่งทรงพระดำริ ว่า นี้เป็นเวลาเหมาะที่จะออกไปได้ จึงเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ทรงปิดประตู บรรณศาลา เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังโพธิมัณฑสถาน นัยว่า บรรพชิตเหล่า นั้น เวลาเย็นก็พากันไปยังที่ปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ นั่งล้อมบรรณศาลา กล่าว ว่า วิกาลมืดค่ำแล้ว ตรวจกันดูเถิด จึงเปิดประตูบรรณศาลาก็ไม่พบพระองค์

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 600

คิดกันว่า พระมหาบุรุษเสด็จไปไหนหนอ ยังไม่พากันติดตาม คิดแต่ว่า พระมหาบุรุษ เห็นทีจะเบื่อการอยู่เป็นหมู่ ประสงค์จะอยู่แต่ลำพัง เราจะพบ พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงพากันออกจาริกมุ่งหน้าไปภายในชมพูทวีป ลำดับนั้น บรรพชิตเหล่านั้นฟังข่าวว่า เขาว่า พระวิปัสสีถึงความเป็นพระพุทธ เจ้าแล้ว ประกาศพระธรรมจักร จึงประชุมกันที่เขมมิคทายวัน กรุงพันธุมดี ราชธานี โดยลำดับ. แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรด บรรพชิตเหล่านั้น ครั้งนั้นธรรมภิสมัย ได้มีแก่ภิกษุแปดหมื่นสี่พัน นั้นเป็น อภิสมัยครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บุรุษแปดหมื่นสี่พัน บวชตามเสด็จพระวิปัสสี สัมพุทธเจ้า พระผู้มีจักษุทรงแสดงธรรมโปรดบรรพ- ชิตเหล่านั้นซึ่งมาถึงอาราม.

บรรพชิตแม้เหล่านั้น ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่ง ตรัสประทาน โดยอาการทั้งปวง ก็บรรลุธรรมอัน ประเสริฐ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่บรรพชิตเหล่านั้น.

แก้อรรถ

ในคำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธํ อนุปพฺพชุํ นี้ ในคาถา นั้น พึงทราบว่า ท่านทำเป็นทุติยาวิภัตติว่า สมฺพุทฺธํ โดยประกอบนิคคหิต ไว้ ความว่า บวชภายหลังพระสัมพุทธเจ้า พึงถือลักษณะตามศัพทศาสตร์ ปาฐะว่า ตตฺถ อารามปตฺตานํ ดังนี้ก็มี. บทว่า ภาสโต แปลว่า ตรัสอยู่. บทว่า อุปนิสาทิโน ความว่า ผู้เสด็จไปประทานธรรมทานถามอุปนิสสัย! เตปิ ได้แก่ บรรพชิตนับได้แปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น เป็นผู้รับใช้พระวิปัสสี

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 601

สัมพุทธเจ้า. บทว่า คนฺตฺวา ได้แก่ รู้ธรรมของพระองค์. อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่บรรพชิตเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแสนแปดหมื่นหกพัน ซึ่งบวชตามพระวิปัสสีสัมพุทธ เจ้า และพระอัครสาวก ณ เขมมิคทายวัน ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ดังนี้ว่า

ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี น สมโณ โหติ ปรํ วิเหยนฺโต.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัส ตีติกขาขันติว่า เป็น ตบะอย่างยิ่ง ตรัสนิพพานว่าเป็นบรมธรรม ผู้ยังทำร้าย ผู้อื่นหาเป็นบรรพชิตไม่ ผู้ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ หา เป็นสมณะไม่.

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ.

การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.

การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมใน พระปาติโมกข์ [คำสอนที่เป็นหลักเป็นประธาน] ความรู้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 602

จักประมาณในภัตตาหาร ที่นอนที่นั่งอันสงัด และ การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พึงทราบว่า คาถาปาติโมกขุทเทศเหล่านี้ เป็นของพระพุทธเจ้าทุก พระองค์ นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑ ต่อมาอีก สันนิบาตครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ภิกษุแสนหนึ่ง ซึ่งเห็นยมกปาฏิหาริย์แล้วบวช. ครั้งพระกนิษฐภาดา ๓ พระองค์ต่างพระมารดา ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ปราบปัจจันตประเทศให้สงบ แล้วได้รับพระราชทานพร ด้วยการทำการบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า นำเสด็จมาสู่ พระนครของพระองค์บำรุง ทรงสดับธรรมของพระพุทธองค์แล้วทรงผนวช พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดล้านเหล่านั้น ทรงยก ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เขมมิคทายวัน นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓ ด้วย เหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ- บาต ประชุมพระสาวกผู้ขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

การประชุม พระสาวกหกล้านแปดแสน เป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑ การประชุมพระสาวกหนึ่งแสนเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๒.

การประชุม พระภิกษุสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓ พระสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งโรจน์ ท่าม กลางหมู่ภิกษุ ณ เขมมิคทายวันนั้น.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 603

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺสฏฺิสตสหสฺสานํ ความว่า ภิกษุหกล้านแปดแสน. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวันนั้น. บทว่า ภิกฺขุคณมชฺเฌ แปลว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุ. ปาฐะว่า ตสฺส ภิกฺขุคณมชฺเฌ ดังนี้ก็มี. ความว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุนั้น.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระยานาคชื่อ อตุละ มีฤทธานุภาพมาก มีนาคหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร สร้างมณฑปอันสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เป็นส่วนอันมั่นคงผ่องแผ้วที่น่าดู เช่นเดียวกับดวงจันทร์ เพื่อทำสักการะ แด่พระทศพล ผู้มีกำลังและศีลที่ไม่มีผู้เสมอ มีพระหฤทัย เยือกเย็นด้วยพระกรุณา พร้อมทั้งบริวาร นิมนต์ให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น ถวายมหาทาน อันเหมาะแก่สมบัติทิพย์ ๗ วัน ได้ถวายตั่งทอง ขจิตด้วยรัตนะ ๗ อันรุ่งเรือง ด้วยประกายโชติช่วงแห่งมณีต่างๆ สมควรยิ่งใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น เวลาจบอนุโมทนา ปีฐทานว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วย เหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ชื่ออตุละ มีฤทธิ์มาก มีบุญ ทรงรัศมีโชติช่วง.

ครั้งนั้น เราแวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิ บรรเลง ทิพดนตรี เข้าไปเฝ้าพระผู้เจริญที่สุดในโลก.

ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ก็นิมนต์พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า ผู้นำโลก ได้ถวายตั่งทอง อันขจิตด้วยรัตนะคือแก้วมณี และแก้วมุกดา ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง แด่พระผู้ เป็นพระธรรมราชา.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 604

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม กลางสงฆ์ ก็ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่ กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด แต่งไว้ เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่า อัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระองค์ทรงพระนามว่า โคตมะ.

จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระ ชินเจ้าผู้นี้.

จักมีอัครสาวิกาชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณาผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น โพธพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ว่า อัสสัตถะ ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 605

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเสื่อม ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺวนฺโต แปลว่า ผู้มีบุญ อธิบายว่า ผู้มีกองบุญอันสั่งสมไว้แล้ว. บทว่า ชุตินฺธฺโร ได้แก่ ประกอบด้วยรัศมี. บทว่า เนกานํ นาคโกฏีนํ ก็คือ อเนกาหิ นาคโกฏีหิ พึงเห็นฉัฏฐี วิภัตติ ใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ. บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ แวดล้อมพระผู้มี พระภาคเจ้า. ทรงแสดงพระองค์ ด้วยคำว่า อหํ. บทว่า วชฺชนฺโต ได้แก่ บรรเลงประโคม. บทว่า มณีมุตฺตรตนขจิตํ ความว่า ขจิตด้วย รัตนะต่างชนิดมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า สพฺพาภรณวิภูสิตํ ความว่าประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ที่สำเร็จด้วยรัตนะเช่น รูปสัตว์ร้ายเป็นต้น. บทว่า สุวณฺณปีํ ได้แก่ ตั่งที่สำเร็จด้วยทอง. บทว่า อทาสหํ ตัด บทเป็น อทาสึ อหํ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า พันธุมดี พระชนก พระนามว่า พระเจ้าพันธุมา พระชนนีพระนามว่า พระนาง พันธุมดี คู่พระอัครสาวก็ชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ พระพุทธ อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโสกะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระจันทา และ พระ จันทมิตตา โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ปาฏลี พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระรัศมีแห่ง พระสรีระแผ่ไป ๗ โยชน์ทุกเวลา พระชนมายุแปดหมื่นปี พระอัครมเหสีของ พระองค์ พระนามว่า พระนางสุตนู พระโอรสของพระองค์ พระนามว่า พระสมวัฏฏขันธะ ออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยรถเทียมม้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 606

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนคร ชื่อพันธุมวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า พันธุมา พระชนนีพระนามว่า พระนางพันธุมดี.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระอัครสาวก ชื่อว่าพระขัณฑะ และ พระติสสะ พระ พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอโสกะ.

มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระจันทาและ พระจันทมิตตา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นปาฏลี.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลก สูง ๘๐ ศอก พระรัศมีของพระองค์แล่นไปโดยรอบ ๗ โยชน์.

ในยุคนั้นมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี พระชนมายุ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์ เป็นอันมากจากเครื่องผูก ทรงบอกทางและมิใช่ทาง กะพวกปุถุชนที่เหลือ.

พระองค์และพระสาวก สำแดงแสงสว่าง ทรง แสดงอมตบท รุ่งโรจน์แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟโพลงแล้วก็ดับ ฉะนั้น.

พระวรฤทธิ์อันเลิศ พระบุญญาธิการอันประเสริฐ พระวรลักษณ์อันบานเต็มที่แล้ว ทั้งนั้น ก็อันตรธาน ไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 607

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พนฺธนา ความว่า เปลื้องปล่อยซึ่งเทวดา และมนุษย์จากเครื่องผูกมีกามราคสังโยชน์เป็นต้น. บทว่า มคฺคามคฺคญฺจ อาจิกฺขิ ความว่า ทรงบอกปุถุชนที่เหลือว่า ทางนี้คือมัชฌิมาปฏิปทาเว้นจาก อุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ เป็นทางเพื่อบรรลุอมตธรรม การทำตัวให้ลำบาก เปล่าเป็นต้นนี้มิใช่ทาง. บทว่า อาโลกํ ทสฺสยิตฺวาน ได้แก่ ทรงแสดง แสงสว่าง คือมรรคญาณ และแสงสว่างคือวิปัสสนาญาณ. บทว่า ลกฺขณญฺจ กุสุมตํ ความว่า พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า บานแล้ว ประดับแล้ว ด้วยพระลักษณะอันวิจิตรเป็นต้น. คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ง่ายทั้ง นั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้า