พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๒. วงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35167
อ่าน  541

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 622

๒๒. วงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑

ว่าด้วยพระประวัติของพระเวสสภูพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 622

๒๒. วงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑

ว่าด้วยพระประวัติของพระเวสสภูพุทธเจ้า

[๒๒] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระชินพุทธเจ้า พระองค์นั้น พระนามว่า เวสสภู ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มี ผู้เทียบเคียง ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก.

พระองค์ทรงทราบว่า สามโลก ถูกราคะเผาแล้ว เป็นแว่นแคว้นแห่งตัณหาทั้งหลาย ทรงตัดเครื่อง พันธนาการเหมือนช้าง ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอัน สูงสุด.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงประกาศ พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่น โกฏิ.

เมื่อพระโลกเชษฐ์ ผู้องอาจในนรชน เสด็จหลีก จาริกไปในแว่นแคว้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์ เจ็ดหมื่นโกฏิ.

พระองค์เมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิใหญ่หลวงของพวก เดียรถีย์ ก็ทรงทำปาฏิหาริย์ มนุษย์และเทวดาในหมื่น โลกธาตุ ในโลกทั้งเทวโลกก็มาประชุมกัน.

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเห็นความมหัศจรรย์ไม่ เคยมี ขนลุกชัน ก็พากันตรัสรู้หกหมื่นโกฏิ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 623

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

ประชุมพระสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้ง ที่ ๑ ประชุมพระสาวกเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.

ประชุมภิกษุสาวกหกหมื่น ผู้ก้าวล่วงภัยมีชรา เป็นต้น พระโอรสของพระเวสสภูพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณ ยิ่งใหญ่ เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

เราสดับพระธรรมจักรอันอุดมประณีต ที่พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ทรงประกาศแล้วก็ ชอบใจการบรรพชา.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าสุทัสสนะ ได้บูชา พระชินพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระสงฆ์ ด้วยข้าวน้ำและ ผ้า.

เราบำเพ็ญมหาทานแล้ว ไม่เกียจคร้านทั้งกลาง- คืนกลางวัน ทราบการบรรพชาว่าพรั่งพร้อมด้วยคุณ จึงบวชในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.

เราพรั่งพร้อมด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นในวัตรและ ศีล กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็ยินดียิ่งใน พระศาสนาของพระชินพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 624

เราเข้าถึงศรัทธาและปีติถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้พระศาสดา เราก็เกิดปีติ เพราะเหตุแห่งพระโพธิ- ญาณนั่นแล.

พระสัมพุทธเจ้า ทรงทราบว่า เรามีใจไม่ท้อถอย ก็ทรงพยากรณ์ดั่งนี้ว่า นับแต่กัปนี้ไปสามสิบเอ็ดกัป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้น เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำ เนรัญชรา.

พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศ ทรงทำประทักษิณโพธิ- มัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่าต้นอัสสัตถะ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนาง มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน ผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.

จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 625

ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้าท่านนี้.

จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.

อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา พระ โคดมผู้มีพระยศ พระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระเวสสภู พุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้ม ใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบ มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า

ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.

พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้ ฉันนั้น เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 626

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ให้บริบูรณ์.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่ออโนมะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า สุปปตีตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี.

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หกหมื่นปี มี ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า รุจิ สุรติ และ วัฑฒกะ มีพระสนมกำนัลสามหมื่นนางถ้วน มีพระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตตา พระโอรสพระนามว่า พระสุปปพุทธะ.

พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ออก อภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอ ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.

พระมหาวีระ เวสสภู ผู้นำโลก สูงสุดในนรชน อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อรุณราชอุทยาน.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรง มีพระอัครสาวกชื่อว่าพระโสณะ และพระอุตตระ มี พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอุปสันตะ.

พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระรามา และพระสมาลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ว่าต้นมหาสาละ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 627

อัครอุปัฏฐากชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าโคตมี และสิริมา.

พระเวสสภูพุทธเจ้าสูง ๖๐ ศอก อุปมาเสมอด้วย เสาทอง พระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย เหมือน ดวงไฟเหนือยอดเขายามราตรี.

พระชนมายุของพระเวสสภู ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ พระองค์นั้น หกหมื่นปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึง เพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงทำพระธรรมให้แผ่ ขยายไปกว้างขวาง ทรงจำแนกมหาชน เป็นพระอริยะ ชั้นต่างๆ ทรงตั้งธรรมนาวา แล้วก็เสด็จดับขันธ- ปรินิพพาน.

ชนทั้งหมด พระวิหาร พระอิริยาบถที่น่าดู ทั้ง นั้นก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชินวรศาสดา ดับขันธ- ปรินิพพาน ณ พระวิหารเขมาราม พระบรมสารีริกธาตุ ก็แผ่ไปกว้างขวางเป็นส่วน ในถิ่นนั้นๆ.

จบวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 628

พรรณนาวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑

ต่อจากสมัยของพระสุขีสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว มนุษย์ที่มีอายุเจ็ดหมื่นปีก็ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุสิบปี แล้วเพิ่มขึ้นอีกจนมีอายุนับไม่ได้ แล้วก็ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุหกหมื่นปี. ครั้งนั้นพระศาสดาพระนามว่า เวสสภู เทพเจ้าผู้พิชิต ผู้ครอบงำโลกทั้งปวง ผู้เกิดเอง ทรงอุบัติในโลก พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย บังเกิดใน สวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางยสวดี ผู้มีศีล อัครมเหสีของพระเจ้าสุปปตีตะ ผู้เป็นที่ยำเกรง กรุงอโนมะ ถ้วน กำหนดทศมาสพระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ อโนมราชอุทยาน เมื่อสมภพ ก็ยังชนให้ยินดี ทรงบันลือดังเสียงวัวผู้ เพราะฉะนั้นในวันเฉลิม พระนามของพระองค์ พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า เวสสภู เพราะ เหตุที่ร้องดังเสียงวัวผู้ พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หกพันปี มีปราสาท ๓ หลังชื่อ ๑สุจิ สุรุจิและรติวัฑฒนะ ปรากฏพระสนมกำนัลสามหมื่นนาง มี พระนางสุจิตตาเทวี เป็นประมุข.

เมื่อพระสุปปพุทธกุมาร ของ พระนางสุจิตตาเทวี สมภพ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จประพาสพระราชอุทยานด้วยพระวอทอง ทรงรับผ้า กาสายะที่เทวดาถวาย ทรงผนวช. บุรุษเจ็ดหมื่นบวชตามเสด็จ ลำดับนั้น พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน ใน วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่พระพี่เลี้ยงชื่อว่าสิริวัฒนา ผู้ปรากฏตัว ณ สุจิตตนิคม ถวาย ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำที่พระยานาคชื่อ นรินทะ ถวาย เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นสาละ


๑. บาลีเป็นรุจิ สุรติและวัฑฒกะ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 629

ด้านทิศทักษิณ สาละต้นนั้นมีขนาดเท่าขนาดต้นปาฏลีแคฝอยนั้นแล. ดอกผล สิริและสมบัติ ก็พึงทราบอย่างนั้นเหมือนกัน. พระองค์เสด็จเข้าไปยังโคนต้น สาละ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๔๐ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงได้อนาวรณญาณ ที่ปราศจากนิวรณ์ แต่ห้ามกันความเมาในกามทุกอย่าง ทรงเปล่ง พระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯลฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้ ทรงยับยั้ง ณ โพธิพฤกษ์นั้นนั่นแล ๗ สัปดาห์ ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของพระโสณกุมาร และพระอุตตรกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์ จึงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่ อรุณราชอุทยาน ใกล้ กรุงอนูปมะ ทรงให้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานไป อัญเชิญพระกุมารมาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางพระกุมารทั้ง สองพระองค์นั้นทั้งบริวาร. ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

ต่อมาอีก พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จจาริกไปในชนบท ทรง แสดงธรรมโปรดในถิ่นนั้นๆ ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เจ็ดหมื่นโกฏิ. นั้น เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำลายข่ายคือทิฏฐิ [เดียรถีย์] ล้มธงคือมานะของเดียรถีย์ กำจัดความเมาด้วยมานะ ทรงยกธงคือธรรมขึ้น ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในมนุษยบริษัทกว้างเก้าสิบโยชน์ ในเทวบริษัทประมาณมิได้ ณ กรุงอนูปมะนั่นเอง ยังเทวดาและมนุษย์ให้เลื่อมใสแล้ว ทรงยัง สัตว์หกหมื่นโกฏิให้อิ่มด้วยอมตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระผู้นำโลกพระนามว่า เวสสภู ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบเคียง ก็ทรงอุบัติ ในโลก.

ทรงทราบว่าโลกสามถูกราคะไหม้แล้ว เป็นถิ่น ของตัณหาทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงตัดเครื่องพันธนา.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 630

การดุจพระยาช้าง ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอัน สูงสุด.

พระเวสสภูพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

เมื่อพระโลกเชษฐ์ผู้องอาจในนรชน ทรงหลีก จาริกไปในแว่นแคว้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์ เจ็ดหมื่นโกฏิ.

พระองค์เมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิอย่างใหญ่หลวง ของเดียรถีย์ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ มนุษย์และเทวดา ในหมื่นโลกธาตุ ในโลกทั้งเทวโลกก็มาประชุมกัน.

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเห็นมหัศจรรย์ไม่เคยมี น่าขนชูชัน ก็ตรัสรู้ธรรมถึงหกหมื่นโกฏิ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺตํ ความว่า สิ้นทั้งสามโลกนี้ ถูก ไฟไหม้แล้ว. บทว่า ราคคฺคิ แปลว่า อันราคะ. บทว่า ตณฺหานํ วิชิตํ ตทา ความว่า ทรงทราบว่า สามโลก เป็นถิ่นแคว้น สถานที่ตกอยู่ในอำนาจของ ตัณหาทั้งหลาย. บทว่า นาโคว พนฺธนํ เฉตฺวา ความว่า ทรงตัดเครื่อง พันธนาการดุจเถาวัลย์เน่า ประดุจช้าง ทรงบรรลุถึงพระสัมโพธิญาณ. บทว่า ทสสหสฺสี ก็คือ ทสสหสฺสิยํ. บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกทั้งเทวโลก. บทว่า พุชฺฌเร แปลว่า ตรัสรู้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 631

อนึ่งเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ วันมาฆบูรณมี ท่ามกลางพระอรหันต์แปดหมื่นที่บวชในสมาคมของ พระ โสณะ และ พระอุตตระ คู่พระอัครสาวก นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.

ครั้งภิกษุนับจำนวนได้เจ็ดหมื่น ซึ่งบวชกับพระเวสสภูผู้ครอบงำโลก ทั้งปวงพากันหลีกไป สมัยที่พระเวสสภูจะหลีกออกจากคณะไป ภิกษุเหล่านั้น สดับข่าวการประกาศพระธรรมจักรของพระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงพากัน มายังนครโสเรยยะ ก็ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ธรรมโปรดภิกษุเหล่านั้น ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกษุบรรพชาทั้ง หมด แล้วทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๒.

อนึ่ง ครั้งพระราชบุตรพระนามว่าอุปสันตะ ทรงขึ้นครองราชย์ใน กรุง นาริวาหนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปนครนั้น เพื่ออนุเคราะห์พระราชบุตรนั้น. แม้พระราชบุตรนั้นทราบข่าวการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริวารจึงทรงออกไปรับเสด็จ นิมนต์มาถวายมหาทาน ทรงสดับธรรม ของพระองค์ก็มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้วทรงผนวช บุรุษหกหมื่นโกฏิก็บวชตาม เสด็จภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมกับพระราชบุตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภูนั้น อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรง มีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน มีจิต สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 632

ประชุมภิกษุสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้ง ที่ ๑ ประชุมภิกษุสาวกเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.

ประชุมภิกษุสาวกหกหมื่น ผู้กลัวแต่ภัยมีชรา เป็นต้น โอรสของพระเวสสภูพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่ง ใหญ่ เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนะ ผู้มีทัศนะน่ารักอย่างยิ่ง ณ กรุงสรภวดี เมื่อพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้นำโลกเสด็จถึงกรุงสรภะ ทรงสดับธรรมของพระองค์ มีพระหฤทัยเลื่อมใส แล้ว ทรงยกอัญชลีอันรุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมือนดอกบัวตูมเกิดใน น้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกลบกพร่อง ไว้เหนือเศียร ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวร แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงสร้างพระคันธกุฎี เพื่อเป็นที่ ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ นครนั้น ทรงสร้างวิหารพันหลังล้อม พระคันธกุฎีนั้น ทรงบริจาคสมบัติทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในพระศาสนาของพระผู้มี พระภาคเจ้า ทรงผนวช ณ สำนักของพระองค์แล้ว ทรงพร้อมด้วยอาจารคุณ ทรงยินดีในธุดงคคุณ ๑๓ ทรงยินดีในการแสวงหาพระโพธิสมภาร ทรงยินดีใน พระพุทธศาสนาอยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าสุทัสสนะ นิมนต์ พระมหาวีระ ถวายทานอย่างสมควรยิ่งใหญ่บูชาพระชินพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ ด้วยข้าวน้ำและผ้า.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 633

เราสดับพระธรรมจักรอันอุดมประณีตที่พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้นทรงประกาศแล้วก็ ชอบใจการบรรพชา.

เราบำเพ็ญมหาทาน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน กลางวัน ทราบการบรรพชาว่าพร้อมพรั่งด้วยคุณ จึง บรรพชาในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.

เราถึงพร้อมด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นในวัตรและ ศีล แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ จึงยินดีอยู่ในพระศาสนา ของพระชินพุทธเจ้า.

เราเข้าถึงศรัทธาและปีติ ถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้พระศาสดา เราก็เกิดปีติ เพราะเหตุแห่งพระโพธิ- ญาณนั่นแล.

พระสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า เรามีใจไม่ท้อถอย จึงทรงพยากรณ์ดังนี้ว่า นับแต่กัปนี้ไปสามสิบเอ็ดกัป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์ จิตก็ยิ่งเสื่อมใส จึง อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 634

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺกํ วตฺติตํ ได้แก่ ธรรมจักร ที่ ทรงประกาศแล้ว. บทว่า ปณิตํ ธมฺมํ ได้แก่ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์. ความว่า เรารู้การบวชว่าพรั่งพร้อมด้วยคุณจึงบวช. บทว่า วตฺตสีลสมาหิโต ได้แก่ ตั้งมั่นในวัตรและศีล อธิบายว่า มั่นคงในการบำเพ็ญวัตรและศีลนั้นๆ. บทว่า รมามิ แปลว่า ยินดียิ่งแล้ว. บทว่า สทฺธาปีตึ ได้แก่ เข้าถึง ศรัทธาและปีติ. บทว่า วนฺทามิ ได้แก่ ถวายบังคมแล้ว. พึงเห็นว่าคำที่ เป็นปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถอดีตกาล. บทว่า สตฺถรํ ก็คือ สตฺถารํ. บทว่า อนิวตฺตมานสํ ได้แก่ มีใจไม่ท้อถอย.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า อโนมะ พระชนกมีพระนามว่า พระเจ้าสุปปตีตะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง ยสวดี คู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระโสณะ และพระอุตตระ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอุปสันตะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระรามา และพระสมาลา โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นสาละ พระสรีระสูง ๖๐ ศอก พระชนมายุหกหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุจิตตาพระโอรสพระนามว่าพระสุปปพุทธะ เสด็จออกภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอทอง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่ออโนมะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า สุปปตีตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี.

พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโสณะและพระอุตตระ พระพุทธ- อุปัฏฐากชื่อว่า พระอุปสันตะ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 635

มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระรามาและพระสมาลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ว่า ต้นมหาสาละ.

มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าโสตถิกะและรัมมะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าโคตมีและสิริมา.

พระเวสสภูพุทธเจ้า สูง ๖๐ ศอก อุปมาเสมอ ด้วยเสาทอง พระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย เหมือน ดวงไฟบนเขายามราตรี.

พระชนมายุของพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหา คุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น หกหมื่นปี พระองค์ทรงมี พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้าม โอฆะ.

พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงทำธรรมะให้ขยายไป กว้างขวาง ทรงจำแนกมหาชน ทรงตั้งธรรมนาวาไว้ แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.

ชนทั้งหมด พระวิหาร พระอิริยาบถล้วนน่าดู ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหมยูปสมูปโม ความว่า เสมือนเสา ทอง. บทว่า นิจฺฉรติ ได้แก่ แล่นไปทางโน้นทางนี้. บทว่า รสฺมิ ได้แก่ แสงรัศมี. บทว่า รตฺตึว ปพฺพเต สิขี ความว่า รัศมีส่องสว่างในพระวรกาย

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 636

ของพระองค์ เหมือนดวงไฟบนยอดเขาเวลากลางคืน. บทว่า วิภชิตฺวา ความว่า ทำการจำแนก โดยเป็นอุคฆฏิตัญญูเป็นต้น และโดยเป็นพระโสดาบัน เป็นอาทิ. บทว่า ธมฺมนาวํ ความว่า ทรงตั้งธรรมนาวา คือมรรคมีองค์ ๘ เพื่อช่วยให้ข้ามโอฆะ ๔. บทว่า ทสฺสนียํ ก็คือ ทสฺสนีโย. บทว่า สพฺพชนํ ชนทั้งปวงก็คือ สพฺโพชโน อธิบายว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก. บทว่า วิหารํ ก็คือ วิหาโร พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติทุกแห่ง.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เขมมิคทายวัน กรุงอุสภวดี. พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ กระจัดกระจาย ไป.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู พระชินะ ผู้ประเสริฐ. เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส- นิพพาน ณ พระวิหารใกล้ป่าที่น่ารื่นรมย์ กรุงอุสภวดี- ราชธานี.

คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้า