พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๔. วงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35169
อ่าน  940

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 652

๒๔. วงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓

ว่าด้วยพระประวัติของพระโกนาคมนพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 652

๒๔. วงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓

ว่าด้วยพระประวัติของพระโกนาคมนพุทธเจ้า

[๒๔] ต่อมาจากสมัยของพระกกุสันธพุทธเจ้า ก็มีพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะผู้สูงสุด แห่งสัตว์สองเท้า ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจใน นรชน.

ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ทรงก้าวล่วงกันดาร ทรงลอยมลทินทั้งปวง บรรลุพระสัมโพธิญาณสูงสุด. เมื่อพระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้นำพิเศษ ทรง ประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ สามหมื่นโกฏิ.

อนึ่ง เมื่อพระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงแสดง ปาฏิหาริย์ในการย่ำยีลัทธิวาทของฝ่ายปรปักษ์ อภิสมัย ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ.

แต่นั้น พระชินสัมพุทธเจ้าทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ เสด็จไปเทวโลก ประทับอยู่เหนือแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ เทวโลกนั้น.

พระมุนีพระองค์นั้น อยู่จำพรรษาแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดา หมื่นโกฏิ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 653

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ ไร้มลทินมีจิตสงบ คงที่ครั้งเดียว.

ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสามหมื่นโกฏิ ผู้ข้ามโอฆะทั้งหลาย ผู้หักรานมัจจุเสียแล้ว.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าปัพพตะพรั่ง- พร้อมด้วยมิตรอมาตย์ทั้งหลาย ผู้มีกำลังพลและ พาหนะหาที่สุดมิได้.

เราไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สดับธรรมอันยอด เยี่ยม นิมนต์พระองค์ทั้งพระสงฆ์พุทธชิโนรสถวาย ทาน จนพอแก่ความต้องการ.

ได้ถวายผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าไหมทำ ในเมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล และฉลองพระบาท ประดับทอง แด่พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย.

พระมุนีแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลาง สงฆ์ทรงพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็น พระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำ เนรัญชรา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 654

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ. ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน ผู้นี้จักมีพระนามว่าโคตมะ.

จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.

จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมาและพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.

จักมีอัครอุปัฏฐากชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 655

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ พระองค์ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้วก็ปลาบ ปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบ มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า

ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.

พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่ง เลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญ บารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

เรากำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ถวายทาน แด่พระผู้สูงสุดในนรชน สละราชสมบัติยิ่งใหญ่แล้ว บวชในสำนักพระชินพุทธเจ้า.

พระนครชื่อโสภวดี มีกษัตริย์พระนามว่าโสภะ ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 656

พระโกนาคมนพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา มีพระ ชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่ายัญญทัตตะ พระชนนีเป็น พราหมณีชื่อว่าอุตตรา.

พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่สามพันปี มี ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่าตุสิตะ สันดุสิต และ สันตุฏฐะ มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนาง ภริยาชื่อว่า รุจิคัตตา พระโอรสชื่อว่าสัตถวาหะ.

พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ออก อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.

พระมหาวีระ โกนาคมนะ ผู้นำโลก ผู้สูงสุดใน นรชน อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ พระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระภิยโยสะ และพระอุตตระ พระพุทธ- อุปัฏฐากชื่อว่าพระโสตถิชะ.

มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสมุททาและพระ อุตตรา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้น เรียกว่าต้นอุทุมพร.

มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทวะ มี อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า สีวลา และสามา.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 657

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๓๐ ศอก ประดับ ด้วยพระรัศมีทั้งหลาย เหมือนแท่งทองในเบ้าช่างทอง.

ในยุคนั้น พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุสามหมื่นปี พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็น อันมากให้ข้ามโอฆะ.

พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์ที่ประดับ ด้วยธงผ้าคือธรรม ทรงทำพวงมาลัยดอกไม้คือธรรม แล้วดับขันธปรินิพพาน.

พระสงฆ์สาวกของพระองค์พิลาสด้วยฤทธิ์ยิ่ง ใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมอันเป็น สิริ ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่าง เปล่า แน่แท้

พระโกนาคมนสัมพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ พระวิหารปัพพตาราม. พระบรมสารีริกธาตุ แผ่กระจาย ไปเป็นส่วนๆ ณ ที่นั้นๆ แล.

จบวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 658

พรรณาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓

ภายหลังต่อมาจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า กกุสันธะ เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดมามีอายุสามหมื่นปี. พระศาสดาพระนามว่า โกนาคมนะ ผู้มีไม้ดีดพิณมาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ ผู้อื่น ก็อุบัติขึ้นในโลก อีกนัยหนึ่ง พระศาสดาพระนามว่า โกณาคมนะ เพราะเป็นที่มาแห่งอาภรณ์ทองเป็นต้น อุบัติขึ้นในโลก. ทอง เครื่องประดับมี ทองเป็นต้น มาตกลง ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงอุบัติพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า โกณาคมนะ โดยนัยแห่งนิรุกติศาสตร์ เพราะอาเทศ เป็น โก, อาเทศ เป็น ณา ลบ เสียตัวหนึ่ง ในคำว่า โกณา คมโน นั้น ก็ในข้อนี้อายุท่านทำให้เป็นเสมือนเสื่อมลงโดยลำดับ แต่มิใช่เสื่อม อย่างนี้ พึงทราบว่า เจริญแล้วเสื่อมลงอีก. อย่างไร. ในกัปนี้เท่านั้น พระผู้มี- พระภาคเจ้ากกุสันธะทรงบังเกิดในเวลาที่มนุษย์มีอายุสี่หมื่นปี แต่อายุนั้นกำลังลด ลงจนถึงอายุสิบปี แล้วกลับเจริญขึ้นถึงอายุนับไม่ถ้วน (อสงไขย) แต่นั้นก็ลดลง ตั้งอยู่ในเวลาที่มนุษย์มีอายุสามหมื่นปี ครั้งนั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า โกนาคมนะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก.

แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อ อุตตรา ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยคุณมีรูปเป็นต้น ภริยาของ ยัญญทัตตพราหมณ์ กรุงโสภวดี ถ้วน กำหนดทศมาส ก็เคลื่อนออกจากครรภ์ของชนนี ณ สุภวดีอุทยาน เมื่อ พระองค์สมภพ ฝนก็ตกลงมาเป็นทองทั่วชมพูทวีป ด้วยเหตุนั้น เพราะเหตุ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 659

ที่ทรงเป็นที่มาแห่งทอง พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า กนกาคมนะ. ก็ พระนามนั้นของพระองค์แปรเปลี่ยนมาโดยลำดับ เป็นโกนาคมนะ. พระองค์ ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่สามพันปี มีปราสาท ๓ หลั่งชื่อว่า ดุสิตะ สันดุสิตะ และสันตุฏฐะ มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนาง มีนางรุจิคัตตาพราหมณี เป็นประมุข.

เมื่อบุตรชื่อ สัตถวาทะ ของนางรุจิคัตตาพราหมณีเกิด พระองค์ ทรงเห็นนิมิต ๔ ก็ขึ้นคอช้างสำคัญ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง ทรงผนวช บุรุษสามหมื่นก็บวชตาม พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อม ก็บำเพ็ญ เพียร ๖ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี ก็เสวยข้าวมธุปายาส ที่อัคคิโสณพราหมณ- กุมารี ธิดาของอัคคิโสณพราหมณ์ถวาย พักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน เวลาเย็น รับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ ชฏาตินทุกะถวาย จึง เข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพร คือไม้มะเดื่อ ซึ่งมีขนาดที่กล่าวแล้วใน ต้นปุณฑรีกะ ที่พรั่งพร้อมด้วยความเจริญแห่งผล ทางด้านทักษิณ ทรงลาด สันถัตหญ้ากว้าง ๒๐ ศอก นั่งขัดสมาธิ กำจัดกองกำลังของมาร ทรงได้ ทศพลญาณ ทรงเปล่งอุทานว่าอเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของภิกษุสามหมื่นที่ บวชกับพระองค์ เสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่อิสิปตนะมิคทายวัน ใกล้ กรุงสุทัสสนนคร อยู่ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงประกาศธรรมจักร ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ.

ต่อมาอีก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นมหาสาละ ใกล้ประตู สุนทรนคร ทรงยังสัตว์สองหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม. นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 660

๒ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโปรดเทวดาทั้งหลายที่มา ประชุมกันในหมื่นจักรวาล มีนางอุตตราพระชนนีของพระองค์เป็นประธาน อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หมื่นโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ต่อมาจากสมัยของพระกกุสันธพุทธเจ้า ก็มีพระ ชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ สูงสุดแห่ง สัตว์สองเท้า เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจในนรชน.

ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ก้าวล่วงทางกันดาร ทรงลอยมลทินทั้งปวง ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูง สุด.

เมื่อพระโกนาคมนะผู้นำ ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ.

และเมื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีดำติเตียนของ ฝ่ายปรปักษ์ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่น โกฏิ.

ต่อนั้น พระชินสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ เสด็จไปยังเทวโลก ประทับอยู่เหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ เทวโลกนั้น.

พระมุนีพระองค์นั้น ประทับจำพรรษาแสดง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ เทวดาหมื่นโกฏิ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 661

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทส ธมฺเม ปูรยิตฺวาน ได้แก่ บำเพ็ญ บารมีธรรม ๑๐. บทว่า กนฺตารํ สมติกฺกมิ ได้แก่ ก้าวล่วงชาติกันดาร. บทว่า ปวาหิย แปลว่า ลอยแล้ว. บทว่า มลํ สพฺพํ ได้แก่ มลทิน ๓ มีราคะเป็นต้น. บทว่า ปาฏิหีรํ กโรนฺเต จ ปรวาทปฺปมทฺทเน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำปาฏิหาริย์ในการย่ำยีวาทะของฝ่ายปรปักษ์. บทว่า วิกุพฺพนํ ได้แก่ แสดงฤทธิ์ต่างๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสุนทรนคร แล้วเสด็จไปเทวโลก จำพรรษาเหนือ พระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในเทวโลกนั้น. ถามว่า ทรงจำพรรษาอย่างไร ตอบว่า ทรงแสดงอภิธรรม ๗ คัมภีร์. อธิบายว่า ทรงอยู่จำพรรษา แสดง พระอภิธรรมปิฏก ๗ คัมภีร์แก่เทวดาทั้งหลายในเทวโลกนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรม ณ ที่นั้นอย่างนี้ อภิสมัยได้มีแก่เทวดาหมื่นโกฏิ.

แม้พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มาบำเพ็ญบารมีอันบริสุทธิ์ มีสาวก สันนิบาตครั้งเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ ณ สุรินทวดีอุทยาน กรุงสุรินทวดี ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสองพระองค์คือ ภิยโยสราช- โอรส และอุตตรราชโอรส พร้อมทั้งบริวาร ทรงยังชนเหล่านั้นทั้งหมด ให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ประทับท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดง ณ วันมาฆบูรณมี. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ พระองค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ครั้งเดียว.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 662

ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสามหมื่น ผู้ข้ามพ้นโอฆะ ผู้หักรานมัจจุได้แล้ว.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอฆานํ ได้แก่ โอฆะมีกาโมฆะเป็นต้น คำนี้เป็นซึ่งของโอฆะ ๔. โอฆะเหล่านั้นของผู้ใดมีอยู่. ย่อมคร่าผู้นั้นให้จมลง ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โอฆะ. โอฆะเหล่านั้น พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ ความว่า ผู้ก้าวล่วงโอฆะ ๔ อย่าง แม้ในคำว่า ภิชฺชิตานํ นี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มจฺจุยา ก็คือ มจฺจุโน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้า ปัพพตะ กรุงมิถิลนคร. ครั้งนั้น พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร ทรงสดับ ข่าวว่า พระโกนาคมนะพุทธเจ้าผู้เป็นที่มาแห่งสรรพสัตว์ผู้ถึงสรณะ เสด็จถึง กรุงมิถิลนครแล้ว จึงเสด็จออกไปรับเสด็จ ถวายบังคมนิมนต์พระทศพลถวาย มหาทาน ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับจำพรรษา ณ มิถิลนครนั้น บำรุงพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกตลอดไตรมาส ถวายของมีค่ามากเช่น ผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำในเมืองเมืองจีน ผ้ากัมพล ผ้าแพร ผ้าเปลือก ไม้ ผ้าฝ้ายเป็นต้น ผ้าเนื้อละเอียด ฉลองพระบาทประดับทอง และบริขารอื่น เป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น ว่า ในภัทรกัปนี้นี่แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ลำดับนั้นมหาบุรุษนั้นสดับ คำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงบริจาคราชสมบัติยิ่งใหญ่ ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 663

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า ปัพพตะ พรั่ง พร้อมด้วยมิตรอำมาตย์ มีกำลังพลและพาหนะหาที่สุด มิได้.

เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สดับธรรมอันยอดเยี่ยม นิมนต์ พระองค์พร้อมทั้งพระสงฆ์พุทธชิโนรส ถวาย ทานจนพอต้องการ.

ได้ถวายผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำใน เมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล ฉลองพระบาทประดับทอง แด่พระศาสดาและพระสาวก.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราสดับคำของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส จึง อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

เรากำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ถวายทาน แด่พระผู้สูงสุดในนรชน สละราชสมบัติยิ่งใหญ่ บวช ในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 664

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตพลวาหโน ความว่า กำลังพล และพาหนะ มีช้างม้าเป็นต้นของเรามีมากไม่มีที่สุด. บทว่า สมฺพุทฺธทสฺสนํ ก็คือ สมฺพุทฺธทสฺสนตฺถาย เพื่อเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า. บทว่า ยทิจฺฉกํ ความว่า จนพอแก่ความต้องการ คือทรงเลี้ยงดูพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประธาน ด้วยอาหาร ๔ อย่าง จนทรงห้ามว่า พอ! พอ! เอาพระหัตถ์ปิด บาตร. บทว่า สตฺถุสาวเก ได้แก่ ถวายแด่พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย. บทว่า นรุตฺตเม ก็คือ นรุตฺตมสฺส แด่พระผู้สูงสุดในนรชน. บทว่า โอหาย ได้แก่ ละ เสียสละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่าโสภวดี พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า อุตตรา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระภิยโยสะ และพระอุตตระพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสตถิชะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสมุททา และพระอุตตรา โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นอุทุมพร พระสรีระสูง ๓๐ ศอก พระชนมายุสามหมื่นปี ภริยาเป็นพราหมณีชื่อ รุจิคัตตา โอรสชื่อ พระสัตถวาหะ ออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือช้าง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระนครชื่อว่า โสภวดี มีกษัตริย์พระนามว่า โสภะ ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในนครนั้น.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา มี พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ พระชนนี เป็นพราหมณ์ ชื่อว่าอุตตรา.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 665

พระโกนาคมนศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระภิยโยสะและพระอุตตระ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระโสตถิชะ.

พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสมุททา และพระอุตตราโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าต้นอุทุมพระ.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๓๐ ศอก ประดับ ด้วยพระรัศมีทั้งหลาย เหมือนทองในเบ้าช่างทอง.

ในยุคนั้น พระชนมายุของพระพุทธเจ้าสามหมื่น ปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชน เป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์อัน ประดับด้วยผ้าธรรม ทรงทำเป็นพวงมาลัยดอกไม้ ธรรมแล้วดับขันธปรินิพพานแล้ว.

พระสาวกของพระองค์พิลาสฤทธิ์ยิ่งใหญ่ พระ ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประกาศธรรมอันเป็นสิริ ทั้งนั้นก็ อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกามุเข ได้แก่ เตาของช่างทอง. บทว่า ยถา กมฺพ ก็คือ สุวณิณนิกฺขํ วิย เหมือนแท่งทอง. บทว่า เอวํ รํสีหิ มณฺฑิโต ได้แก่ ประดับตกแต่งด้วยรัศมีทั้งหลายอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 666

บทว่า ธมฺมเจติยํ สมุสฺเสตฺวา ได้แก่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำเร็จด้วยโพธิ- ปักขิยธรรม ๓๗. บทว่า ธมฺมทุสฺสวิภูสิตํ ได้แก่ ประดับด้วยธงธรรมคือ สัจจะ ๔. บทว่า ธมฺมปุปฺผคุฬํ กตฺวา ได้แก่ ทำให้เป็นพวงมาลัยดอกไม้ สำเร็จด้วยธรรม. อธิบายว่า พระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก โปรดให้ ประดิษฐานพระธรรมเจดีย์ เพื่อมหาชนที่อยู่ ณ ลานพระเจดีย์สำหรับบำเพ็ญ วิปัสสนา จะได้นมัสการ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน. บทว่า มหาวิลาโส ได้แก่ ผู้ถึงความพิลาสแห่งฤทธิ์ยิ่งใหญ่. บทว่า ตสฺส ได้แก่ ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า ชโน ได้แก่ ชน คือ พระสาวก. บทว่า สิริธมฺมปฺปกาสโน ความว่า และพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกาศ โลกุตรธรรม พระองค์นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น.

ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.

สุเขน โกนาคมโน คตาสโว วิกามปาณาคมโน มเหสี วเน วิเวเก สิรินามเธยฺเย วิสุทฺธวํสาคมโน วสิตฺถ.

พระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงมีอาสวะไปแล้วโดย สะดวก ผู้เป็นที่มาแห่งสัตว์ผู้ปราศจากกาม ผู้แสวงคุณ ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นที่มาแห่งวงศ์ของพระผู้บริสุทธิ์ ประทับ อยู่ ณ ป่าอันมีนามเป็นสิริ อันสงัด.

จบพรรณนาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้า